BF Economic Research
- ส่งออกไทย ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 16,278.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 18,948.2 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ -22.50% YoY (vs. prev.2.12%YoY)
- ถ้าไม่รวมทองคำจะอยู่ที่ -27.86%YoY (vs. prev.-10.31%YoY)
- มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 13,584.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 16,485.9 ล้านดอลลาร์ฯหรือ -34.40%YoY (vs. prev.-17.10%YoY)
- ดุลการค้า ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 2,694.6 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 2,462.3 ล้านดอลลาร์ฯ
- ดุลการค้า YTD ในเดือน พ.ค.-20 อยู่ที่ 9,090.6 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 6,396.0 ล้านดอลลาร์ฯ
การส่งออกรายสินค้า
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 2.5% (YoY) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
- สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่
- ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ขยายตัว 83.5% (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนาม ฮ่องกง มาเลเซีย ไต้หวัน และลาว)
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 8.0% (ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม และออสเตรเลีย)
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 5.6% (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน)
- อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 17.0% (ขยายตัวแทบ ทุกตลาดในสหรัฐฯ อิตาลี มาเลเซีย ออสเตรเลีย เวียดนาม อินเดีย ไต้หวัน และฟิลิปปินส์)
- ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัว 13.0% (ขยายตัวในตลาดจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และกัมพูชา)
- สินค้าที่หดตัว ได้แก่
- ยางพารา หดตัว -42.0%
- น้ำตาลทราย หดตัว -25.4%
- ข้าว หดตัว -4.0% YTD หดตัว -0.6%
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว -27.0% (YoY)
- สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่
- ทองคำ ขยายตัว แทบทุกตลาดที่ 735.1% (ขยายตัวในตลาดสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น)
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัว 29.1% (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม ฮ่องกง จีน และสิงคโปร์)
- เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 5.0% (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ลาว และมาเลเซีย)
- สินค้าที่หดตัว ได้แก่
- รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัว -62.6%
- สินค้า เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัว -33.2%
- อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ หดตัว -68.6%
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และ ส่วนประกอบ หดตัว -21.3%
- ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัว -22.2%
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัว -39.5% YTD หดตัว- 3.7%
การส่งออกรายประเทศ
การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อควบคุมโรค ที่ส่งผลให้อุปสงค์จากประเทศคู่ค้าลดลง อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดจีนขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่จีนสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้
Bottom Line การส่งออกหดตัวแรงในเดือนพ.ค. แต่การนำเข้าหดตัวในอัตราที่มากกว่า สะท้อนความอ่อนแอของความต้องการสินค้าในประเทศ และการที่นำเข้าลดลงมากกว่าส่งออกเป็นผลให้ดุลการค้าไทยเกินดุลสูงขึ้นเรื่อยๆทั้งที่ส่งออกไม่ดี
ซึ่งจากข้อมูล YTD ดุลการค้าสะสมของไทยเกินดุลที่ 9,090.6 ล้านดอลลาร์ฯ การที่ดุลการค้าเกินดุลในระดับสูงเช่นนี้มีส่วนกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่ง ณ วันนี้เงินบาทต่ำกว่า 31 บาทแล้ว