สรุป
- แนวโน้มการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ อยู่ที่การฟื้นตัวทางปัจจัยพื้นฐานว่าจะฟื้นขึ้นเร็วมากน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้อย่างไร
- ความเสี่ยง ได้แก่ การแพร่ระบาดระลอกสอง รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน ถ้ามีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยบวกที่สนับสนุนคือสภาพคล่องในตลาดการเงิน
- กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้เป็นแบบ Selective ควรเน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เห็นสัญญาณของรายได้กลับมาในเวลาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
รายละเอียด : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม หนุนโดย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง และปัจจัยจากอิทธิพลของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและการอัดฉีดสภาพคล่องขนาดใหญ่ที่รวดเร็วจากธนาคารกลางทั่วโลก โดยตลาดได้ตอบรับปัจจัยบวกไปล่วงหน้าจนทำให้ซื้อขายที่ระดับ PE’21 ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในหลายตลาดหลักๆรวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย ทำให้ในเดือนมิถุนายน ตลาดปิดที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการลงทุนยังคงเป็นมุมมองเชิงบวก
ในด้านเศรษฐกิจ IMF ได้มีการประมาณการเศรษฐกิจโลก ในปีนี้ว่าจะหดตัว -4.9% และกลับมาขยายตัวในปีหน้าที่ 5.4% ถึงซึ่งเป็นการปรับประมาณการลงจากการประเมินครั้งก่อนหน้าเล็กน้อย โดยยังคงเป็นภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในลักษณะ V-Shaped ทั้งนี้ IMF ระบุว่า มาตรการทางด้านการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการจ้างงานและการเสริมสภาพคล่องธุรกิจ เป็นสิ่งที่ช่วยเศรษฐกิจไม่หดตัวไปรุนแรงกว่านี้ ทำให้นักลงทุนสามารถมองข้ามตัวเลขเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เป็นตัวชี้วัดย้อนหลังไปได้
สำหรับนโยบายการเงิน Fed ได้เข้ามาซื้อตราสารหนี้เพิ่มขึ้น จนทำให้งบดุลขยายตัวจาก 4.5 เป็น 7.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา กอปรกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยที่ Dot Plot ชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงระดับต่ำเช่นนี้ไว้อย่างน้อยจนถึงปี 2022 ทำให้ตลาดการเงินมีเสถียรภาพดีขึ้น ทั้งในตลาดทุน พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชน และสภาพคล่องของภาคธุรกิจ โดยภาพรวมแล้ว แม้ว่าการถดถอยของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้จะลึกกว่าในปี 2008 แต่ก็กินระยะเวลาสั้นกว่า
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยการควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศไทยนั้น สามารถทำได้ดีมากจนสามารถผ่อนคลายการ Lockdown ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่มากดดันจากการเกิด Second Wave ในบางประเทศ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจช้ากว่าที่คาด และจะส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยล่าช้าไปด้วย ในเดือนมิถุนายน นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิ ที่ 2.3 หมื่นลบ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ 3.2 หมื่นลบ. โดยลดการถือครองในกลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มหลัก หลังจากได้รับปัจจัยกดดันจากประมาณการ GDP ของธปท.ที่ปรับลงเป็น -8.1% รวมถึงให้ธนาคารพาณิชย์งดการจ่ายเงินปันผล และซื้อหุ้นคืน
แนวโน้มการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ อยู่ที่การฟื้นตัวทางปัจจัยพื้นฐานว่าจะฟื้นขึ้นเร็วมากน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้อย่างไร ความเสี่ยงในการเกิดการแพร่ระบาดระลอกสอง รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่ง Donald Trump อาจเพิ่มความเข้มข้นในหาเสียง ด้วยการยกประเด็นสงครามการค้าขึ้นมาอีกครั้งได้ หรือถ้ามีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกที่สนับสนุนคือสภาพคล่องในตลาดการเงิน กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้จึงมีความ Selective เนื่องตลาดถูกซื้อขายด้วยความคาดหวังไปล่วงหน้า ขณะที่การฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจยังมีความไม่แน่นอน จึงควรเน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เห็นสัญญาณของรายได้กลับมาในเวลาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
Fund Comment
Fund Comment มิถุนายน 2563: ภาพรวมตลาดหุ้น
สรุป
รายละเอียด : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม หนุนโดย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง และปัจจัยจากอิทธิพลของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและการอัดฉีดสภาพคล่องขนาดใหญ่ที่รวดเร็วจากธนาคารกลางทั่วโลก โดยตลาดได้ตอบรับปัจจัยบวกไปล่วงหน้าจนทำให้ซื้อขายที่ระดับ PE’21 ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในหลายตลาดหลักๆรวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย ทำให้ในเดือนมิถุนายน ตลาดปิดที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการลงทุนยังคงเป็นมุมมองเชิงบวก
ในด้านเศรษฐกิจ IMF ได้มีการประมาณการเศรษฐกิจโลก ในปีนี้ว่าจะหดตัว -4.9% และกลับมาขยายตัวในปีหน้าที่ 5.4% ถึงซึ่งเป็นการปรับประมาณการลงจากการประเมินครั้งก่อนหน้าเล็กน้อย โดยยังคงเป็นภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในลักษณะ V-Shaped ทั้งนี้ IMF ระบุว่า มาตรการทางด้านการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการจ้างงานและการเสริมสภาพคล่องธุรกิจ เป็นสิ่งที่ช่วยเศรษฐกิจไม่หดตัวไปรุนแรงกว่านี้ ทำให้นักลงทุนสามารถมองข้ามตัวเลขเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่เป็นตัวชี้วัดย้อนหลังไปได้
สำหรับนโยบายการเงิน Fed ได้เข้ามาซื้อตราสารหนี้เพิ่มขึ้น จนทำให้งบดุลขยายตัวจาก 4.5 เป็น 7.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา กอปรกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยที่ Dot Plot ชี้ว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงระดับต่ำเช่นนี้ไว้อย่างน้อยจนถึงปี 2022 ทำให้ตลาดการเงินมีเสถียรภาพดีขึ้น ทั้งในตลาดทุน พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชน และสภาพคล่องของภาคธุรกิจ โดยภาพรวมแล้ว แม้ว่าการถดถอยของเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้จะลึกกว่าในปี 2008 แต่ก็กินระยะเวลาสั้นกว่า
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยการควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศไทยนั้น สามารถทำได้ดีมากจนสามารถผ่อนคลายการ Lockdown ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่มากดดันจากการเกิด Second Wave ในบางประเทศ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจช้ากว่าที่คาด และจะส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยล่าช้าไปด้วย ในเดือนมิถุนายน นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิ ที่ 2.3 หมื่นลบ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ 3.2 หมื่นลบ. โดยลดการถือครองในกลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มหลัก หลังจากได้รับปัจจัยกดดันจากประมาณการ GDP ของธปท.ที่ปรับลงเป็น -8.1% รวมถึงให้ธนาคารพาณิชย์งดการจ่ายเงินปันผล และซื้อหุ้นคืน
แนวโน้มการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ อยู่ที่การฟื้นตัวทางปัจจัยพื้นฐานว่าจะฟื้นขึ้นเร็วมากน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้อย่างไร ความเสี่ยงในการเกิดการแพร่ระบาดระลอกสอง รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่ง Donald Trump อาจเพิ่มความเข้มข้นในหาเสียง ด้วยการยกประเด็นสงครามการค้าขึ้นมาอีกครั้งได้ หรือถ้ามีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกที่สนับสนุนคือสภาพคล่องในตลาดการเงิน กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้จึงมีความ Selective เนื่องตลาดถูกซื้อขายด้วยความคาดหวังไปล่วงหน้า ขณะที่การฟื้นตัวของแต่ละธุรกิจยังมีความไม่แน่นอน จึงควรเน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เห็นสัญญาณของรายได้กลับมาในเวลาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้