GDP สหรัฐฯ (Advance Estimate) ขยายตัว +33.1% QoQ saar  นับเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากที่หดตัว -31.4% ในไตรมาส 2

GDP สหรัฐฯ (Advance Estimate) ขยายตัว +33.1% QoQ saar นับเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากที่หดตัว -31.4% ในไตรมาส 2

GDP สหรัฐฯ (Advance Estimate) ขยายตัว +33.1% QoQ saar  นับเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากที่หดตัว -31.4% ในไตรมาส 2 เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังจากการผ่อนคลายล็อคดาวน์ การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวได้ดี (และเป็นองค์ประกอบหลักที่ผลักดัน GDP) หนุนโดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่ให้เงินช่วยเหลือแก่ประชาชนเพื่อจับจ่ายใช้สอยในช่วงที่สหรัฐฯประกาศล็อคดาวน์ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวได้ดีในทุกองค์ประกอบทั้งจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำสุด ส่งผลให้ยอดขายบ้านเติบโตได้ดี อีกทั้งรัฐบาลร่วมกับธนาคารกลางสหรัฐฯได้ออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจในช่วงล็อคดาวน์เช่นโครงการ Paycheck Protection Program และ Main Street Lending Program ก็มีส่วนช่วยหนุนการลงทุนของภาคธุรกิจด้วย

ในรายองค์ประกอบ

  • การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว +40.7% (vs. -33.2% ไตรมาสก่อน) จาก การฟื้นตัวของการใช้จ่ายซื้อสินค้าทั่วไป (นำโดยรถยนต์และเสื้อผ้า) และบริการ (นำโดยการดูแลสุขภาพ บริการอาหาร และที่พัก)
  • การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว +83.0% (vs. -46.6% ไตรมาสก่อน) จากทั้งการลงทุนภาคธุรกิจ (CAPEX) ขยายตัว +20.3% (vs. -27.2% ไตรมาสก่อน) และการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว +59.3% (vs. -35.6% ไตรมาสก่อน) จากแรงหนุนของดอกเบี้ยต่ำ
  • ส่วนปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventories) เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ที่ 6.62ppt ซึ่งนับเป็นการเพิ่มปริมาณเพื่อชดเชยช่วง COVID-19 ที่ไม่สามารถดำเนินการได้เต็มประสิทธิภาพ
  • การใช้จ่ายภาครัฐพลิกกลับมาหดตัว -4.5% (vs. 2.5% ไตรมาสก่อน)
  • ภาคต่างประเทศ ยอดส่งออกสุทธิ (Net Export) เป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจ (-3.09ppt) จากยอดนำเข้า (+91.1% vs. -54.1% ไตรมาสก่อน) ที่พลิกกลับมาขยายตัวสูงกว่ายอดส่งออก (+59.7% vs. -64.4% ไตรมาสก่อน)

 

มองไปข้างหน้า ตลาดมองว่า GDP ในไตรมาส 4/2020 อาจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องด้วยมาตรการกระตุ้นทางการคลังระยะ 3 ได้สิ้นสุดลงแล้วและสภาคองเกรสยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 4 ได้ อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 พ.ย. นี้ ที่ตลาดกังวลว่าการสรุปผลเลือกตั้งอาจจะล่าช้าออกไปเนื่องด้วยบางรัฐอนุญาตให้ส่งผลเลือกตั้งทางไปรษณีย์และบางรัฐมีเกณฑ์การกำหนดวันรับบัตรเลือกตั้งแตกต่างกันไป และที่สำคัญรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ต่ออายุการใช้งบประมาณคลังชั่วคราว (Continuing Resolution) ไปถึงแค่วันที่ 11 ธ.ค. ทำให้อาจมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสหรัฐฯจะเกิดภาวะ  Government Shutdown หากไม่สามารถอนุมัติงบประมาณได้ทันเวลา

ทั้งนี้ตลาดมองว่า GDP ของสหรัฐฯในไตรมาส 4/2020 จะอยู่ที่ 4.0% QoQ saar และมองว่า GDP สหรัฐฯทั้งปีจะอยู่ที่ -3.7% จากปีก่อนที่ 2.2%