ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนในเดือนตุลาคม จากความกังวลที่กลับมาเพิ่มขึ้นของการแพร่ระบาด COVID-19 โดยเฉพาะในสหรัฐฯและยุโรปซึ่งทำให้เกิดการล็อคดาวน์ขึ้นในหลายประเทศอีกครั้ง ความไม่แน่นอนต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนมีการขายลดความเสี่ยงในช่วงสั้น และสัญญาณทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่เริ่มบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวที่ชะลอตัวลง ทำให้ในเดือนนี้ ตลาดหุ้นโลก (World MSCI Index) ปิดลดลงประมาณ 3.1% โดยตลาดยุโรปเป็นตลาดที่ปรับตัวลงมากที่สุดในกลุ่มตลาดหลัก
การแพร่ระบาดทั่วโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและการกลับมาระบาดระลอก 2 ในหลายประเทศนั้น โดยเฉพาะยุโรป ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อคดาวน์เศรษฐกิจอีกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่รุนแรงเกินกว่าที่ขีดความสามารถของการรักษาพยาบาลจะรับได้ ในช่วงที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาวในปีนี้ โดยการพัฒนาวัคซีนนั้น ยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลองตามลำดับ ยังคงไม่สามารถพร้อมใช้ได้อย่างน้อยจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ส่งผลต่อความต่อเนื่องและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ในขณะที่อีกหนึ่งความคาดหวังเชิงบวก ต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐฯ ยังคงไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ทำให้ต้องไปรอหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีจะขาดแรงหนุน เนื่องจากผลบวกจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบก่อนหน้าเริ่มหมดลง
ด้านการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯนั้น ล่าสุดยังคงไม่สามารถได้ผลอย่างเป็นทางการ แต่มีโอกาสสูงที่ Biden จะเป็นผู้ชนะ โดย Democrat จะชนะในสภาล่าง และ Republican ครองสภาบน ทำให้การออกนโยบาย รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ อาจจะไม่ราบรื่น ดังนั้น ประเด็นการเมืองของสหรัฐฯ จะยังคงเป็นปัจจัยที่ตลาดให้ความสำคัญในช่วงต่อจากนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจและการลงทุนในระยะข้างหน้า
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวใกล้เคียงกับตลาดหุ้นโลก โดยปิดลดลง 3.4% ในเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ในประเทศ มีปัจจัยกดดันจากประเด็นการชุมนุมทางการเมือง ที่มีมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มยืดเยื้อ
อย่างไรก็ดี ยังมีแนวโน้มไม่รุนแรง ด้านเศรษฐกิจไทย เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจต่างๆปรับตัวดีขึ้นในวงกว้าง ยกเว้น ภาคการท่องเที่ยว ในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐฯได้มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการใช้จ่าย และการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งช่วยประคับคองเศรษฐกิจในระหว่างที่นักท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับมาได้ โดยมาตรการทางการคลังจะยังคงมีความจำเป็นและมีบทบาทมากขึ้นในช่วงต่อจากนี้
แนวโน้มการลงทุนในช่วงสุดท้ายของปี ตลาดหุ้นไทยแม้จะยังเผชิญความไม่แน่นอนหลายเรื่อง ทั้งประเด็น COVID-19 ของโลก และการเมืองในประเทศ แต่ตลาดก็ได้ตอบรับปัจจัยกดดันต่างๆ มาบ้างแล้ว ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนจะค่อยๆฟื้นขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ระดับ Valuation ปัจจุบันค่า PE ปีหน้าอยู่ที่ประมาณ 15 เท่า ซึ่งรองรับความผันผวนของตลาดได้มากขึ้น ถ้าหากประมาณการกำไรของตลาดไม่ถูกปรับลดลงอีก กลยุทธ์การลงทุน ยังต้องมีความ Selective เน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง มีแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจที่ดี รวมถึงให้ความสำคัญมากขึ้นกับหุ้นที่ได้ประโยชน์เชิงนโยบาย ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
Fund Comment
Fund Comment ตุลาคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนในเดือนตุลาคม จากความกังวลที่กลับมาเพิ่มขึ้นของการแพร่ระบาด COVID-19 โดยเฉพาะในสหรัฐฯและยุโรปซึ่งทำให้เกิดการล็อคดาวน์ขึ้นในหลายประเทศอีกครั้ง ความไม่แน่นอนต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนมีการขายลดความเสี่ยงในช่วงสั้น และสัญญาณทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่เริ่มบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวที่ชะลอตัวลง ทำให้ในเดือนนี้ ตลาดหุ้นโลก (World MSCI Index) ปิดลดลงประมาณ 3.1% โดยตลาดยุโรปเป็นตลาดที่ปรับตัวลงมากที่สุดในกลุ่มตลาดหลัก
การแพร่ระบาดทั่วโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและการกลับมาระบาดระลอก 2 ในหลายประเทศนั้น โดยเฉพาะยุโรป ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อคดาวน์เศรษฐกิจอีกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่รุนแรงเกินกว่าที่ขีดความสามารถของการรักษาพยาบาลจะรับได้ ในช่วงที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาวในปีนี้ โดยการพัฒนาวัคซีนนั้น ยังคงอยู่ในขั้นตอนการทดลองตามลำดับ ยังคงไม่สามารถพร้อมใช้ได้อย่างน้อยจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ส่งผลต่อความต่อเนื่องและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ในขณะที่อีกหนึ่งความคาดหวังเชิงบวก ต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐฯ ยังคงไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ทำให้ต้องไปรอหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีจะขาดแรงหนุน เนื่องจากผลบวกจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบก่อนหน้าเริ่มหมดลง
ด้านการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯนั้น ล่าสุดยังคงไม่สามารถได้ผลอย่างเป็นทางการ แต่มีโอกาสสูงที่ Biden จะเป็นผู้ชนะ โดย Democrat จะชนะในสภาล่าง และ Republican ครองสภาบน ทำให้การออกนโยบาย รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ อาจจะไม่ราบรื่น ดังนั้น ประเด็นการเมืองของสหรัฐฯ จะยังคงเป็นปัจจัยที่ตลาดให้ความสำคัญในช่วงต่อจากนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจและการลงทุนในระยะข้างหน้า
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวใกล้เคียงกับตลาดหุ้นโลก โดยปิดลดลง 3.4% ในเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ในประเทศ มีปัจจัยกดดันจากประเด็นการชุมนุมทางการเมือง ที่มีมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มยืดเยื้อ
อย่างไรก็ดี ยังมีแนวโน้มไม่รุนแรง ด้านเศรษฐกิจไทย เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจต่างๆปรับตัวดีขึ้นในวงกว้าง ยกเว้น ภาคการท่องเที่ยว ในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐฯได้มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการใช้จ่าย และการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งช่วยประคับคองเศรษฐกิจในระหว่างที่นักท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับมาได้ โดยมาตรการทางการคลังจะยังคงมีความจำเป็นและมีบทบาทมากขึ้นในช่วงต่อจากนี้
แนวโน้มการลงทุนในช่วงสุดท้ายของปี ตลาดหุ้นไทยแม้จะยังเผชิญความไม่แน่นอนหลายเรื่อง ทั้งประเด็น COVID-19 ของโลก และการเมืองในประเทศ แต่ตลาดก็ได้ตอบรับปัจจัยกดดันต่างๆ มาบ้างแล้ว ขณะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนจะค่อยๆฟื้นขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ระดับ Valuation ปัจจุบันค่า PE ปีหน้าอยู่ที่ประมาณ 15 เท่า ซึ่งรองรับความผันผวนของตลาดได้มากขึ้น ถ้าหากประมาณการกำไรของตลาดไม่ถูกปรับลดลงอีก กลยุทธ์การลงทุน ยังต้องมีความ Selective เน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง มีแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจที่ดี รวมถึงให้ความสำคัญมากขึ้นกับหุ้นที่ได้ประโยชน์เชิงนโยบาย ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ