อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ต.ค. อยู่ในระดับคงที่จากสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรโดยรวมปรับตัวไม่เกิน ±1 bps ยกเว้นพันธบัตรอายุ 15 ปี ที่มีการปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 4 bps
ทั้งนี้ ในเดือนที่ผ่านมา ตลาดขาดปัจจัยใหม่ที่จะส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตร ทั้งด้านทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มคงที่อีกสักระยะ ในขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีความตึงเครียดมากขึ้น รวมถึงมีการรอทิศทางผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยหลังจากผ่านวันเลือกตั้งในวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนมีความผันผวน โดยเริ่มต้นปรับเพิ่มขึ้นเมื่อนายโจ ไบเดนมีคะแนนนำ ก่อนที่จะปรับตัวลดลง หลังจากแนวโน้มที่พรรคเดโมแครตจะไม่สามารถชนะคะแนนในสภาคองเกรสได้แบบเบ็ดเสร็จ ทำให้ความกังวลเรื่อง Bond supply ในสหรัฐฯ ลดลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ในวันที่ 5 พ.ย. ปิดที่ระดับ 1.39%
สำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยเล็กน้อยที่ 454 ล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 1.9 พันล้านบาท ขณะที่ขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 2.3 พันล้านบาท และมีพันธบัตรครบกำหนด (Expired) 1.3 พันล้านบาท
ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์(Main Refinancing Rate) ที่ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB (Deposit Facility Rate) ที่ระดับ -0.50% รวมทั้งคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้(Marginal Lending Rate)
ที่ระดับ 0.25% โดย ECB ระบุว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันหรือต่ำกว่าระดับดังกล่าว “จนกว่าอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสู่เป้าหมาย 2% ได้อย่างยั่งยืน”
นอกจากนี้ ECB ยังส่งสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้สูงที่คณะกรรมการ ECB จะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในเดือน ธ.ค. โดยตลาดคาดว่าในการประชุมเดือนธ.ค. ECB จะประกาศเพิ่มวงเงินมาตรการ PEPP อีก EUR 350-500 billion จากปัจจุบันที่ EUR 1,350 billion และต่ออายุมาตรการดังกล่าวออกไปอีก 6 เดือน จนถึงสิ้นปี 2021
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed funds rate) ที่ 0-0.25% และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot
Plot ล่าสุด (เดือน ก.ย.) ชี้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย
ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.1% ตามคาด แต่ได้มีการประกาศเพิ่มวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตร (QE) เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ทั่วประเทศอีกครั้ง เป็นจำนวนเงินเพิ่มเติม 1.50 แสนล้านปอนด์ สู่ระดับทั้งสิ้น 8.95 แสนล้านปอนด์ มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ การใช้มาตรการ QE ยังช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีหน้า ที่สหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกอียูด้วย
ด้านกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือน ต.ค.อยู่ที่ 102.23 ลดลง 0.50% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. และเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังคงเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นมา ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมสินค้าอาหารสดและพลังงาน อยู่ที่ 102.94 ลดลง 0.02% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. และ
เพิ่มขึ้น 0.19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวได้ในกรอบจำกัด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงยาวจะยังคงผันผวนตามปัจจัยทั้งต่างประเทศและในประเทศ โดยเฉพาะด้านการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้แสดงจุดยืนที่จะฟ้องศาลปกครองในทุกรัฐที่นายไบเดนชนะ โดยชี้ว่าการลงคะแนนเสียงผ่านทางไปรษณีย์นั้นขาดความโปร่งใส ส่งผลให้เกิดการประท้วงระหว่างผู้สนับสนุนทรัมป์ และไบเดนในหลายๆ มลรัฐซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะก่อให้เกิดความผันผวนต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง
นอกจากนี้ ปัจจัยภายในประเทศ ยังคงต้องติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภายหลังจากการครบกำหนดมาตรการการพักชำระหนี้การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่มีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อไป
Fund Comment
Fund Comment ตุลาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ต.ค. อยู่ในระดับคงที่จากสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรโดยรวมปรับตัวไม่เกิน ±1 bps ยกเว้นพันธบัตรอายุ 15 ปี ที่มีการปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 4 bps
ทั้งนี้ ในเดือนที่ผ่านมา ตลาดขาดปัจจัยใหม่ที่จะส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตร ทั้งด้านทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มคงที่อีกสักระยะ ในขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีความตึงเครียดมากขึ้น รวมถึงมีการรอทิศทางผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยหลังจากผ่านวันเลือกตั้งในวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนมีความผันผวน โดยเริ่มต้นปรับเพิ่มขึ้นเมื่อนายโจ ไบเดนมีคะแนนนำ ก่อนที่จะปรับตัวลดลง หลังจากแนวโน้มที่พรรคเดโมแครตจะไม่สามารถชนะคะแนนในสภาคองเกรสได้แบบเบ็ดเสร็จ ทำให้ความกังวลเรื่อง Bond supply ในสหรัฐฯ ลดลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ในวันที่ 5 พ.ย. ปิดที่ระดับ 1.39%
สำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยเล็กน้อยที่ 454 ล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 1.9 พันล้านบาท ขณะที่ขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 2.3 พันล้านบาท และมีพันธบัตรครบกำหนด (Expired) 1.3 พันล้านบาท
ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์(Main Refinancing Rate) ที่ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB (Deposit Facility Rate) ที่ระดับ -0.50% รวมทั้งคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้(Marginal Lending Rate)
ที่ระดับ 0.25% โดย ECB ระบุว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันหรือต่ำกว่าระดับดังกล่าว “จนกว่าอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสู่เป้าหมาย 2% ได้อย่างยั่งยืน”
นอกจากนี้ ECB ยังส่งสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้สูงที่คณะกรรมการ ECB จะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในเดือน ธ.ค. โดยตลาดคาดว่าในการประชุมเดือนธ.ค. ECB จะประกาศเพิ่มวงเงินมาตรการ PEPP อีก EUR 350-500 billion จากปัจจุบันที่ EUR 1,350 billion และต่ออายุมาตรการดังกล่าวออกไปอีก 6 เดือน จนถึงสิ้นปี 2021
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed funds rate) ที่ 0-0.25% และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot
Plot ล่าสุด (เดือน ก.ย.) ชี้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย
ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.1% ตามคาด แต่ได้มีการประกาศเพิ่มวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตร (QE) เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ทั่วประเทศอีกครั้ง เป็นจำนวนเงินเพิ่มเติม 1.50 แสนล้านปอนด์ สู่ระดับทั้งสิ้น 8.95 แสนล้านปอนด์ มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ การใช้มาตรการ QE ยังช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีหน้า ที่สหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกอียูด้วย
ด้านกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือน ต.ค.อยู่ที่ 102.23 ลดลง 0.50% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. และเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังคงเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นมา ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมสินค้าอาหารสดและพลังงาน อยู่ที่ 102.94 ลดลง 0.02% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. และ
เพิ่มขึ้น 0.19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวได้ในกรอบจำกัด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงยาวจะยังคงผันผวนตามปัจจัยทั้งต่างประเทศและในประเทศ โดยเฉพาะด้านการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้แสดงจุดยืนที่จะฟ้องศาลปกครองในทุกรัฐที่นายไบเดนชนะ โดยชี้ว่าการลงคะแนนเสียงผ่านทางไปรษณีย์นั้นขาดความโปร่งใส ส่งผลให้เกิดการประท้วงระหว่างผู้สนับสนุนทรัมป์ และไบเดนในหลายๆ มลรัฐซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะก่อให้เกิดความผันผวนต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง
นอกจากนี้ ปัจจัยภายในประเทศ ยังคงต้องติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภายหลังจากการครบกำหนดมาตรการการพักชำระหนี้การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่มีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อไป