Highlight ประจำไตรมาส 4Q2020
1.โกลบอลเฮลธ์แคร์เป็นธุรกิจซึ่งมี Universe ที่ประกอบไปด้วยบริษัทศักยภาพหลายพันบริษัทกระจายตัวอยู่ใน Sub-industries อาทิ Biotechnology, Medical technology, Healthcare services สร้างโอกาสให้กับ Active fund ในการแสวงหาตัวเลือกที่ดีเลิศ และช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน
2.โกลบอลเฮลธ์แคร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ คือจะต้องลงทุนในบริษัทซึ่งเป็นผู้ชนะในการแข่งขันด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ที่อาศัยทักษะและความเชี่ยวชาญพิเศษ จึงจะสามารถอยู่รอดและสร้างรายได้กลับมาอย่างมหาศาล ดังนั้นการลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเป็น Active Fund เท่านั้นที่ช่วยแสวงหาผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วย
ธุรกิจในกลุ่มนี้มีตัวเลือกของการลงทุนที่กว้างขวางหลายพันบริษัทที่กระจายตัวอยู่ใน Sector ย่อยๆอีกกว่า 10 กลุ่ม แต่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่เข้ามาท้าทาย เช่น สิทธิบัตรยาที่หมดอายุลงของบริษัทยาขนาดใหญ่ การคิดค่าใช้จ่ายที่แพงเกินไปกับกลุ่มยาที่ใช้ในการบำบัด ประเด็นที่เกี่ยวพันกับกฏระเบียบ ด้วยเหตุผลที่ว่านี้จึงเป็นบรรยากาศการลงทุนที่เหมาะกับ Active Fund ที่จะใช้ทักษะในการเลือกหุ้นซึ่งมีราคาที่ไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐานของกิจการ
3.ปัจจุบันมีประชากรบนโลกมีเพียง 8.5% บนโลกที่มีอายุเกินกว่า 65 ปีแต่อีก 25 ปีข้างหน้าตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 17.0% สร้างความต้องการแท้จริงและกระตุ้นการปฎิรูปโครงสร้างด้านการดูแลสุขภาพให้กับประชากร
กราฟ: The population will continue to age; a structural, predictable demographic trend
4. โกลบอลเฮลธ์แคร์เป็น Growth area ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมที่ว่านี้กว่าจะออกสู่ตลาดได้ต้องผ่านการทดลองในห้องแลปที่มักเรียกกันว่า Clinical trial มาอย่างยาวนานจนได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้าสู่ตลาดโลกในแต่ละปีทำรายได้ให้กับบริษัทผู้ผลิตยาไบโอเทคอย่างมหาศาล อาทิ ยาที่ใช้รักษาโรคที่ยังรักษาไม่หาย (Rare disease) การบำบัดโรคบกพร่องที่ติดตัวมาแต่กำเนิดผ่านการบำบัดยีน (Gene therapy) ฯลฯ
ปัจจุบันมียาที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทดลองในสหรัฐฯอีกจำนวนมากและรอจ่อออกสู่ตลาดอีก 7,262 โมเลกุล แบ่งเป็นมะเร็ง 1,813 โมเลกุล ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด 599 โมเลกุล เบาหวาน 475 โมเลกุล เอชไอวี/เอดส์ 159 โมเลกุล ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน 1,120 โมเลกุล โรคติดเชื้อ 1,256 โมเลกุล โรคสุขภาพจิต 511 โมเลกุล โรคประสาทวิทยา 1,329 โมเลกุล จำนวนโมเลกุลยาที่ว่านี้มีมากกว่า 7,262 โมเลกุลนั้นไม่ได้แตกต่างจากเมื่อ 10 ปีก่อนมากนัก ซึ่งในตอนนั้นมีจำนวน 7,000 โมเลกุล
เมื่อปีที่แล้วองค์การอาหารและยา หรือ FDA ได้อนุมัติให้ใช้ยากับโรคที่ยังรักษาไม่หายจำนวน 48 โมเลกุล (ปีนี้มี 39 โมเลกุล ส่วนใหญ่เป็นโรคร้ายแรงกลุ่มมะเร็ง) แนวโน้มการอนุมัติยาเพื่อใช้รักษาโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดที่ว่านี้เกิดขึ้นทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น จีน ที่เห็นชัดคือ บริษัทวิจัยยาขนาดเล็กที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้ก้าวเข้าสู่การแข่งขันด้านการวิจัยค้นคว้ายาใหม่ๆจนครองส่วนแบ่งตลาดจากบริษัทยาขนาดใหญ่ด้วยเหตุผลทางเทคโนโลยีที่การวิเคราะห์ระดับยีนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลง
กองทุนหลัก Wellington Global Health Care Equity Portfolio มองว่าในที่สุดบริษัทยาขนาดเมกะแคป 20 อันดับแรกที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งมีฐานะทางการเงินดี สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำและถือครองเงินสดส่วนเกินรวมกันกว่า 170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเผชิญกับภาวะทรัพย์สินทางปัญญาหรือที่เรียกว่าสิทธิบัตรยาถือครองหมดอายุลงในอนาคต จะหันกลับมาแสวงหาสิทธิบัตรจากบริษัทวิจัยยาขนาดเล็กที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แนวโน้มที่ว่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วในปี ค.ศ. 2019 ในปีดังกล่าวมีดีลควบรวมกิจการเกิดขึ้นกว่า 30 ดีล จำนวน 18 ดีลควบรวมหรือประมาณครึ่งหนึ่ง เป็นดีลที่กองทุนหลักมีฐานะถือครองอยู่
กราฟ แสดงบริษัทวิจัยขนาดเล็กที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เนื่องจากเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมที่แท้จริง (Emerging Biopharmaceutical) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ พอร์ตของกองทุนหลักเน้นหนักด้านลงทุนในกลุ่มผู้คิดค้นนวัตกรรมที่ว่านี้
5. รายได้ของธุรกิจในกลุ่มโกลบอลเฮลธ์แคร์ไม่ได้เติบโตขึ้นมาจากฟากอุปสงค์ (demand side) เพียงอย่างเดียวแต่เติบโตจากมูลค่าการใช้จ่ายต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย (per head) เพราะฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นของคนวัยก่อนเกษียณทำให้ค่าการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพต่อหัวหลังจากนั้นเพิ่มขึ้น กล่าวคือเป็นความต้องการใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงการรักษาที่ดีขึ้นจากฐานะการเงินที่ดีขึ้นนั่นเอง
นวัตกรรมทางเทคโนโลยียังคงเป็นหัวใจสร้างคลื่นรายได้ลูกใหม่ให้กับหุ้นกลุ่มนี้ต่อไป เพราะ
1. เฮลธ์แคร์กำลังก้าวเข้าสู่วัฏจักรของนวัตกรรมใหม่ (New Innovation Cycle) อันเป็นผลมาจากการศึกษาจีโนมมนุษย์ต่อเนื่องมายาวนานเกินกว่า 20 ปี จีโนมเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติของมนุษย์ ข้อมูลนี้มีประโยชน์ตรงที่นำไปสู่การบำบัดด้วยยีน (Gene therapy) มีการนำยีนไปผลิตโปรตีนรักษาโรคเช่น โรคมะเร็ง บาดแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย และนำไปสู่วิธีการตรวจ การผลิตวัคซีนใหม่ๆ สำหรับโรคที่ไม่เคยรักษาได้มาก่อน เช่น
1.1 เทคนิคตรวจหามะเร็งระยะแรกจากเลือด (Liquid Biopsy) เทคโนโลยีใหม่ของการพยายามตรวจวินิจฉัยโรคจากตัวอย่างเลือดแทนการตรวจด้วยตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อแบบเก่าเพื่อหาความผิดปกติที่บ่งชึ้ถีงโรคมะเร็ง
1.2 เทคนิคโปรตีโอมิกส์ (Proteomic Technology) เป็นเทคนิคสำคัญต่อการศึกษางานด้านโปรตีนการแสดงออกของโปรตีน การระบุชนิดและขนาดของโปรตีน การค้นหาสารบ่งชี้ทางชีวภาพผ่านกระบวนการ ionization สามารถวิเคราะห์โดยใช้ตัวอย่างที่มีปริมาณน้อยๆในระดับเฟมโตโมล ด้วยเทคนิคแมสสเปกโทรเมทรี นำไปสู่การรักษาโรคที่ในอดีตไม่เคยรักษาให้หายได้
1.3 ควอนตัมบำบัด (Quantum treatment) เป็นการใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นความถี่ต่ำ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และปรับอวัยวะให้มีการต่อต้านระบบการทำงานที่ไม่ปกติ
2. นวัตกรรมทางไบโอเทคโนโลยีมีการก้าวกระโดด
2.1 Adoptive T-cell Therapy เป็นการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีอยู่จำนวน 80% ทำหน้าที่สร้างเซลล์เพื่อฆ่าเชื้อโรค ด้วยวิธี Chimeric Antigen Receptor T cell (CAR-T Therapy) เป็นการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดและแบบเซลล์บำบัดที่มีประสิทธิภาพสูงและให้ผลดีมากโดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันการรักษาได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯอเมริกา (FDA) และมีอยู่ 2 ชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้จัดจำหน่าย ได้แก่ Kymriah จาก Novartis และ Yescarta จาก Kite Pharma แต่ราคายาสูงกว่า 15 ล้านบาท
2.2 ยีนบำบัด (Gene Therapy) เป็นการนำยีนปกติอีกชุดหนึ่งใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเพื่อรักษาโรคที่ยีนผิดปกติทางพันธุกรรมผ่านการปฏิบัติการเพียงครั้งเดียว เช่น การเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง การเพิ่มปริมาณของหลอดเลือดในกล้ามเนื้อ
2.3 การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2019 องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้อนุมัติให้สามารถขายยา Zolgensma (โซลเจนส์มา) ที่ใช้สำหรับรักษาโรคกล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลัง หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) ซึ่งมีราคาเข็มละกว่า 2 ล้านเหรียญฯ (ราว 68 ล้านบาท)
Source: Cure SMA website (https://www.curesma.org/)
2.4 เทคนิคการตัดแต่งพันธุกรรม {CRISPR (Clustered Regularly Interspaced Short Palindromic Repeats)} แพทย์สามารถตัดต่อหน่วยพันธุกรรมที่ต้องการและในตำแหน่งที่จำเพาะเพื่อใช้แก้ไขความผิดปกติทางพันธุกรรม หมายความว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมจะสามารถรักษาให้หายขาดเป็นปกติได้โดยอาจมีการประยุกต์ใช้ร่วมกับเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) และมีแนวโน้มว่าอาจจะประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้ด้วย รวมไปถึงต้านการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ
กราฟ : Gene Editing, left, Is a potentially disruptive tools. Exploding innovation, right, new ways of treating disease
มุมมองต่อปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุนและสร้างความผันผวนต่อหุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์ ได้แก่
รายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก Wellington Global Healthcare Equity Fund
กลยุทธ์ของ Wellington Global Health Care Equity Portfolio
เน้นการเติบโตของเงินลงทุนผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านเฮลธ์แคร์ ด้วยการลงทุนที่หลากหลายทั้งในธุรกิจย่อย (Sub-Sector) มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ลงทุน และภูมิภาคต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก
กองทุนหลัก (Master Fund)
ชื่อ: Wellington Global Health Care Equity Portfolio ชนิดหน่วยลงทุน Class S (Accum-USD)
วัตถุประสงค์การลงทุน: แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวในหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ทั่วโลก
Investment style: – คัดสรรหุ้นรายตัวแบบ Bottom up ด้วยปัจจัยพื้นฐาน- เน้นบริษัทที่มีมูลค่ากิจการแข็งแกร่ง
วันจดทะเบียน: October 2003
ประเทศที่จดทะเบียน: ไอร์แลนด์
สกุลเงิน: USD
เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): MSCI World Healthcare Net
Morningstar Category: Large cap growth
Bloomberg (A): WGHCEPA ID
Fund Size: USD 3.6 billion as of October 2020
NAV: USD 74.75 as of October 2020
Number of equity names: 142 as of October 2020
ผลการดำเนินงานกองทุนย้อนหลัง (ข้อมูล 30 ตุลาคม 2020)
ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต