อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน +10 bp เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นมากในพันธบัตรอายุ 4-5 ปี และ 15-22 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 bp มาอยู่ที่ 1.30% แม้ในเดือนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีจะมีความผันผวน โดยเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นเดือน ม.ค. ภายหลังพรรค Democrat ชนะการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกอีก 2 ที่นั่งในรัฐ Georgia ทำให้พรรคได้ครองเสียงข้างมากในสภาครองเกรสทั้ง 2 สภา จึงคาดว่าจะสามารถผลักดันแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ออกมาได้และเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินลงทุนไหลออกจากพันธบัตรสหรัฐฯ ไปยังสินทรัพย์เสี่ยง ขณะที่ตลาดตราสารหนี้มีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ค่อย ๆ ปรับตัวลดลงจากปัญหาการระบาดของ Covid-19 ที่ยังรุนแรงในหลายพื้นที่ ข่าวเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีน รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจต้องปรับลดงบประมาณบางส่วนลงหรือการอนุมัติอาจล่าช้าออกไป
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ สบน. ประกาศเพิ่มปริมาณการออกพันธบัตรโดยจะประมูลพันธบัตรรุ่น 3 ปี และ 5 ปี มูลค่ารวม 6 หมื่นล้าน ในเดือน ก.พ. นี้ ทำให้การออกพันธบัตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากประกาศเดิมที่ 1.85 แสนล้าน เป็น 2.45 แสนล้าน ด้านเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดตราสารหนี้ไทยเล็กน้อย โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 1.9 พันล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 2.0 พันล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่นักลงทุนต่างชาติถือครองครบกำหนด 771 ล้านบาท
ด้านผลการประชุมธนาคารกลางหลักของโลกยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำตามที่ตลาดคาดการณ์ เริ่มจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ระดับ 0% รวมทั้งคงเป้าหมายการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ประกาศก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมผู้ว่า BoJ ได้กล่าวว่า BoJ ยังคงเปิดกว้างสำหรับการทบทวนนโยบาย (Policy review) ในการประชุมเดือน มี.ค. เพื่อรอดูแนวโน้มสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่จะมีความชัดเจนมากขึ้น
ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ซึ่ง ECB จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันหรือต่ำกว่าระดับดังกล่าวจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นสู่เป้าหมายของ ECB ที่กำหนดไว้ที่ระดับใกล้แต่ไม่เกิน 2% นอกจากนี้ ECB ยังคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ PEPP ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านยูโร โดยจะซื้อพันธบัตรตามโครงการดังกล่าวจนถึงเดือน มี.ค. ปีหน้า หรือจนกระทั่ง ECB พิจารณาว่าวิกฤตการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.25% และยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงินรวม 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดย Fed ระบุว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวไปจนกว่าภาวะตลาดแรงงานจะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานอย่างเต็มศักยภาพและอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2% และอยู่ในทิศทางที่จะปรับขึ้นเหนือระดับ 2% ในบางช่วงเวลา
สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 ก.พ. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยระบุว่าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า จึงต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีขีดจำกัดไว้ใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังระบุว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐ และการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจะมีความชันเพิ่มขึ้น โดยกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตลอดทั้งปีนี้ อีกทั้งสภาพคล่องในระบบการเงินที่ค่อนข้างสูงจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวได้ในกรอบจำกัด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ปริมาณการออกพันธบัตร และการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งความคืบหน้าในการพัฒนาและแจกจ่ายวัคซีน
Fund Comment
Fund Comment มกราคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน +10 bp เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นมากในพันธบัตรอายุ 4-5 ปี และ 15-22 ปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 bp มาอยู่ที่ 1.30% แม้ในเดือนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีจะมีความผันผวน โดยเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นเดือน ม.ค. ภายหลังพรรค Democrat ชนะการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกอีก 2 ที่นั่งในรัฐ Georgia ทำให้พรรคได้ครองเสียงข้างมากในสภาครองเกรสทั้ง 2 สภา จึงคาดว่าจะสามารถผลักดันแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ออกมาได้และเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินลงทุนไหลออกจากพันธบัตรสหรัฐฯ ไปยังสินทรัพย์เสี่ยง ขณะที่ตลาดตราสารหนี้มีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ค่อย ๆ ปรับตัวลดลงจากปัญหาการระบาดของ Covid-19 ที่ยังรุนแรงในหลายพื้นที่ ข่าวเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีน รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจต้องปรับลดงบประมาณบางส่วนลงหรือการอนุมัติอาจล่าช้าออกไป
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ สบน. ประกาศเพิ่มปริมาณการออกพันธบัตรโดยจะประมูลพันธบัตรรุ่น 3 ปี และ 5 ปี มูลค่ารวม 6 หมื่นล้าน ในเดือน ก.พ. นี้ ทำให้การออกพันธบัตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากประกาศเดิมที่ 1.85 แสนล้าน เป็น 2.45 แสนล้าน ด้านเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกตลาดตราสารหนี้ไทยเล็กน้อย โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 1.9 พันล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 2.0 พันล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่นักลงทุนต่างชาติถือครองครบกำหนด 771 ล้านบาท
ด้านผลการประชุมธนาคารกลางหลักของโลกยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำตามที่ตลาดคาดการณ์ เริ่มจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ระดับ 0% รวมทั้งคงเป้าหมายการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ประกาศก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมผู้ว่า BoJ ได้กล่าวว่า BoJ ยังคงเปิดกว้างสำหรับการทบทวนนโยบาย (Policy review) ในการประชุมเดือน มี.ค. เพื่อรอดูแนวโน้มสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่จะมีความชัดเจนมากขึ้น
ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ซึ่ง ECB จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันหรือต่ำกว่าระดับดังกล่าวจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นสู่เป้าหมายของ ECB ที่กำหนดไว้ที่ระดับใกล้แต่ไม่เกิน 2% นอกจากนี้ ECB ยังคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ PEPP ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านยูโร โดยจะซื้อพันธบัตรตามโครงการดังกล่าวจนถึงเดือน มี.ค. ปีหน้า หรือจนกระทั่ง ECB พิจารณาว่าวิกฤตการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.25% และยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) วงเงินรวม 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดย Fed ระบุว่าจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวไปจนกว่าภาวะตลาดแรงงานจะบรรลุเป้าหมายการจ้างงานอย่างเต็มศักยภาพและอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2% และอยู่ในทิศทางที่จะปรับขึ้นเหนือระดับ 2% ในบางช่วงเวลา
สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 ก.พ. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยระบุว่าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า จึงต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีขีดจำกัดไว้ใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังระบุว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐ และการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยนโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการทางการคลังต้องพยุงเศรษฐกิจโดยไม่ขาดช่วง
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจะมีความชันเพิ่มขึ้น โดยกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตลอดทั้งปีนี้ อีกทั้งสภาพคล่องในระบบการเงินที่ค่อนข้างสูงจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวได้ในกรอบจำกัด ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ปริมาณการออกพันธบัตร และการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งความคืบหน้าในการพัฒนาและแจกจ่ายวัคซีน