อัพเดทกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

อัพเดทกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้

• ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา   อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 1-10 ปีปรับลดลง 0.01% ถึง 0.09%  เป็นผลมาจากเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ไทยที่สูงถึง 63,370 ล้านบาท และผลการประมูลพันธบัตรอ้างอิงรุ่นอายุ 5 และ 10 ปีที่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดีด้วยสัดส่วน Bid-to-Cover ที่สูงถึง 4.44และ 3.87 เท่า   ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุใกล้เคียงปรับตัวลดลงทันทีหลังการประมูล

• อย่างไรก็ตาม   อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยกลับมาเร่งตัวอีกครั้งในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ จากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯในเดือนมกราคมที่ออกมาสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์     รวมทั้ง  สัญญาณการเร่งตัวของค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น 0.3%จากเดือนก่อน    ทำให้นักลงทุนกังวลต่อการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อที่จะกระตุ้นให้ธนาคารกลางสหรัฐฯเร่งกระบวนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดการณ์เดิม    จากปัจจัยกดดันดังกล่าวทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 2.85%  ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี

• สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในเดือนมกราคมยังมีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25 – 1.50% พร้อมส่งสัญญาณการปรับนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามเดิม และมีมุมมองต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและตลาดแรงงานในระดับที่ดี ด้านภาวะเงินเฟ้อ   คณะกรรมการฯประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯจะค่อยๆเร่งตัวขึ้นในปีนี้และขยับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ได้ในระยะต่อไป

• ขณะที่การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ของไทยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้   เนื่องจากเป็นระดับที่เหมาะสมเพียงพอต่อการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและยังช่วยให้อัตราเงินเฟ้อสามารถขยับกลับเข้าสู่เป้าหมายได้ในอนาคต

• สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย   กนง.คาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนของการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัว  รวมทั้ง  การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวตามแรงสนับสนุนของภาครัฐ    ด้านการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวและแรงกระตุ้นจากนโยบายภาครัฐ  อย่างไรก็ตาม   เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของนโยบายของสหรัฐฯ   ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และกนง.ยังแสดงความกังวลต่อความผันผวนที่สูงขึ้นของค่าเงินบาทซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยได้

 มุมมองในตลาดตราสารหนี้ : หาโอกาสลงทุนจากความผันผวนในตลาด

• แนวโน้มตราสารหนี้ไทยในอนาคต คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจะเคลื่อนไหวอย่างผันผวนมากขึ้นจากความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักๆหลังตัวเลขเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

• เศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรปออกมาดีกว่าคาดการณ์อย่างต่อเนื่อง   ทำให้ตลาดเริ่มกังวลว่าธนาคารกลางอาจเร่งกระบวนการปรับลดการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อให้เข้าสู่ระดับปกติ(normalization) เร็วกว่าที่ประเมินไว้เดิม       ค่าเงินบาท USD/THB : แข็งค่ามากสุดในเอเชียค่าเงินบาทในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นเดือน ม.ค. 2561 ปิดที่ระดับ  31.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าจากต้นปี 14.40% แข็งค่าเป็นอันดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชีย

โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่

• (+) กระแสเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาทั้งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าส่วนต่างอัตราผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรของไทยกับสหรัฐจะติดลบก็ตาม

• (+) ภาคเศรษฐกิจต่างประเทศที่แข็งแกร่ง ทั้ง การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องของไทยในระดับสูงกว่า 10% ของจีดีพี และ ระดับเงินทุนสำรองของไทยกว่า 1.9 แสนล้านดอลลาร์ฯ

• (+) การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก จากแนวโน้มที่ธนาคารกลางหลักอื่นๆจะเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินจากผ่อนคลายเป็นเข้มงวด ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

• (-) การส่งสัญญาณของผู้ว่าการธปท. ว่า จะยกระดับการดูแลและเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด และพร้อมทบทวนมาตรการเพิ่มเติมหากค่าเงินเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติหมายเหตุ: (+) ส่งผลให้เงิน THB แข็งค่า /  (-) ส่งผลให้เงิน THB อ่อนค่า

มุมมองด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย : ดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวในระดับเท่าเดิม ทั้งนี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 

• เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า • ในด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน การขยายตัวในเกณฑ์สูงของการส่งออกสินค้า และการขยายตัวต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชน

• ในขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง

• ในด้านการผลิต การผลิตสาขาโรงแรมและภัตตาคาร สาขาการค้าส่งค้าปลีก สาขาขนส่งและคมนาคม และสาขาไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา ขยายตัวเร่งขึ้น

• ส่วนสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง

• ในขณะที่ภาคเกษตร และสาขาก่อสร้างปรับตัวลดลง
เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2560 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2560 ร้อยละ 0.5 (QoQ_SA) รวมทั้งปี 2560 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในปี 2559

ในปี 2561 จะขยายตัวร้อยละ 3.6 – 4.6 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก

• การขยายตัวเร่งขึ้นของเศรษฐกิจโลกซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกขยายตัวดีต่อเนื่องและทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาสนับสนุนเศรษฐกิจได้มากขึ้น

• แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายยภาครัฐที่ยังอยูํในเกณฑ์ดี และการลงทุนภาครัฐที่จะเร่งตัวขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุน และความคืบหน้าที่ชัดเจนมากขึ้นของโครงการลงทุนภาครัฐ

• การฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน

• แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของสาขาเศรษฐกิจสำคัญๆ และ การปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงานและฐานรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 6.8 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย อยู่ในช่วงร้อยละ 0.9 – 1.9 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 7.8 ของ GDPผลกระทบที่คาดการณ์: อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวในระดับเท่าเดิม

Market Update: BFIXED

กลยุทธ์ในการบริหารกองทุน: กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังผลตอบแทนในระยะสั้นถึงปานกลางสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management) โดยเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและ เอกชนที่ให้ผลตอบแทนเหมาะสมสอดคล้องกับความเสี่ยง

• ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา (มกราคม 2561) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีการเปลี่ยนแปลงผสมผสานกันทั้งขึ้นและลง โดยปรับตัวลดลงในช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 11 ปี และอีกช่วงคืออายุคงเหลือ 22 – 30 ปี ขณะที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงอายุคงเหลือ 12 – 20 ปี

• ราคา NAV กองทุน BFIXED ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยสะท้อนการ Mark to Market ราคาตราสารหนี้ (พันธบัตร หุ้นกู้) ในช่วงดังกล่าวจาก 11.9612 บาทต่อหน่วย (29 ธ.ค. 2560) เป็น 11.9866 บาทต่อหน่วย (31 ม.ค. 2561)

• ทั้งนี้ ทีมจัดการลงทุนประมาณการว่า ผลตอบแทนในอนาคตก่อนหักค่าใช้จ่ายกองทุน (ในอีก 2 เดือนข้างหน้า) น่าจะอยู่ราว 1.30 – 1.50% ต่อปี โดยมีอัตราผลตอบแทนปัจจุบัน (Current yield / Running yield) ก่อนหักค่าใช้จ่ายกองทุน BFIXED อยู่ที่ 1.59%