ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อในเดือน ก.พ. โดยมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ และ พัฒนาการของการแจกจ่ายและการเริ่มฉีดวัคซีนในหลายประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ตลาดปรับตัวผันผวนมากขึ้นในช่วงปลายเดือน จากความกังวลต่อการปรับตัวขึ้นแรงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่อาจจะทำให้ธนาคารกลางหลักต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนมาตรการ QE หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดการณ์ รวมถึงนโยบายการเงินจากทางฝั่งของประเทศจีน ที่เริ่มมีแนวโน้มกลับมาเข้มงวดมากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้เป็นปกติ ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนมีการขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนดังกล่าว ในเดือนนี้ ตลาดหุ้นโลกปรับเพิ่มขึ้น 2.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 2.0%
มุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกของตลาด จากการที่ประเทศต่างๆ เริ่มกลับมาผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ และการเริ่มฉีดวัคซีน กอปรกับความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวเพิ่มขึ้น หลังการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ และราคาน้ำมัน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 1.61% สูงที่สุดในรอบ 1 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2020 ซึ่งสร้างความกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจลดการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเร็วขึ้น และส่งผลกดดันต่อระดับ Valuation ของตลาด โดยเฉพาะหุ้น Growth Stocks ที่ได้ผลประโยชน์สูงจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การเปลี่ยนมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยของเฟดนั้น ทำให้นโยบายการเงินยังมีความยืดหยุ่นอยู่มาก และการส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้ออาจจะยังเร็วเกินไป ดังนั้นเมื่อตลาดคลายความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ สามารถหาจุดสมดุลใหม่ได้ นโยบายการเงินในภาพรวมจะยังคงเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ โดยหุ้นในกลุ่มกลุ่มพลังงาน กลุ่มที่อิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากกลับเข้าสู่ภาวะปกติของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงต่อจากนี้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.0% ในเดือน ก.พ. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 1.9 หมื่นล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 1.1 หมื่นล้านบาท เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาค ด้านปัจจัยในประเทศ ไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดระลอกสองได้ดี ประกอบกับรัฐบาลได้ออกมาตรการพยุงการบริโภคในประเทศ จึงคาดว่าจะเป็นตัวหนุนการใช้จ่ายในประเทศหลังการเปิดเมืองได้ อีกทั้งการแจกจ่ายวัคซีน ที่เริ่มมีการฉีดให้กับกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง แม้ว่าจะยังต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity ในประเทศได้ แต่ก็ถือเป็นความหวังเชิงบวกต่อภาคการท่องเที่ยวที่จะเริ่มกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบได้อีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังต้องมีความ Selective จากระดับ Valuation ของตลาดโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ตึงตัว การลงทุนจึงต้องจับตาปัจจัยภายนอกที่สำคัญ เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดสรรการลงทุนนั้น อาจลดน้ำหนัก หุ้นเติบโต (Growth) เป็นการชั่วคราว และให้น้ำหนักกับหุ้นคุณค่า (Value) และหุ้นวัฏจักร (Cyclicals)
AI Fund Comment
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อในเดือน ก.พ. โดยมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ และ พัฒนาการของการแจกจ่ายและการเริ่มฉีดวัคซีนในหลายประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ตลาดปรับตัวผันผวนมากขึ้นในช่วงปลายเดือน จากความกังวลต่อการปรับตัวขึ้นแรงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่อาจจะทำให้ธนาคารกลางหลักต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนมาตรการ QE หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาดการณ์ รวมถึงนโยบายการเงินจากทางฝั่งของประเทศจีน ที่เริ่มมีแนวโน้มกลับมาเข้มงวดมากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้เป็นปกติ ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนมีการขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนดังกล่าว ในเดือนนี้ ตลาดหุ้นโลกปรับเพิ่มขึ้น 2.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 2.0%
มุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกของตลาด จากการที่ประเทศต่างๆ เริ่มกลับมาผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ และการเริ่มฉีดวัคซีน กอปรกับความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวเพิ่มขึ้น หลังการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ และราคาน้ำมัน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 1.61% สูงที่สุดในรอบ 1 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2020 ซึ่งสร้างความกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจลดการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเร็วขึ้น และส่งผลกดดันต่อระดับ Valuation ของตลาด โดยเฉพาะหุ้น Growth Stocks ที่ได้ผลประโยชน์สูงจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การเปลี่ยนมาใช้เป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยของเฟดนั้น ทำให้นโยบายการเงินยังมีความยืดหยุ่นอยู่มาก และการส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้ออาจจะยังเร็วเกินไป ดังนั้นเมื่อตลาดคลายความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ สามารถหาจุดสมดุลใหม่ได้ นโยบายการเงินในภาพรวมจะยังคงเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ โดยหุ้นในกลุ่มกลุ่มพลังงาน กลุ่มที่อิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากกลับเข้าสู่ภาวะปกติของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงต่อจากนี้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.0% ในเดือน ก.พ. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นเดือนที่ 2 อยู่ที่ 1.9 หมื่นล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 1.1 หมื่นล้านบาท เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาค ด้านปัจจัยในประเทศ ไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดระลอกสองได้ดี ประกอบกับรัฐบาลได้ออกมาตรการพยุงการบริโภคในประเทศ จึงคาดว่าจะเป็นตัวหนุนการใช้จ่ายในประเทศหลังการเปิดเมืองได้ อีกทั้งการแจกจ่ายวัคซีน ที่เริ่มมีการฉีดให้กับกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง แม้ว่าจะยังต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity ในประเทศได้ แต่ก็ถือเป็นความหวังเชิงบวกต่อภาคการท่องเที่ยวที่จะเริ่มกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบได้อีกครั้ง
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังต้องมีความ Selective จากระดับ Valuation ของตลาดโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ตึงตัว การลงทุนจึงต้องจับตาปัจจัยภายนอกที่สำคัญ เช่น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดสรรการลงทุนนั้น อาจลดน้ำหนัก หุ้นเติบโต (Growth) เป็นการชั่วคราว และให้น้ำหนักกับหุ้นคุณค่า (Value) และหุ้นวัฏจักร (Cyclicals)