อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ก.พ. 2564 ปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุโดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว ทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield curve) มีลักษณะชันมากขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปีปรับเพิ่มขึ้น 12–16 bps. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 1 ปี เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.52% ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy rate) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุ 5–30 ปีปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ประมาณ 37–58 bps. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 48 bps. มาอยู่ที่ 1.77% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ เป็นหลัก (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 33 bps. มาอยู่ที่ 1.44%) จากความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มลดลงและประสิทธิภาพของวัคซีนได้ผลดี
ด้านปัจจัยในประเทศ ได้แก่ ปริมาณการออกพันธบัตรในตลาดแรกที่ค่อนข้างสูงในเดือนนี้และเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทย เป็นปัจจัยกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในเดือนนี้นักลงทุนต่างชาติขายตราสารหนี้ไทยสุทธิ 4,952 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 6,272 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 1,540 ล้านบาท และมีพันธบัตรที่นักลงทุนต่างชาติถือครองครบกำหนด 219 ล้านบาท
ด้านรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เดือน ม.ค. 2564 ระบุว่า คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ควรดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป ทั้งการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.25% และคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ที่ระดับเดิมจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อและการจ้างงานสูงสุด พร้อมทั้งระบุว่าการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้นอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
รายงานดังกล่าวสอดคล้องกับแถลงการณ์ของนาย Jerome Powell ประธาน Fed ต่อสภาคองเกรสในวันที่ 23-24 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งยืนยันว่า Fed จะยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายด้านเงินเฟ้อและการจ้างงาน และอาจต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปีกว่าที่อัตราเงินเฟ้อจะขึ้นไปที่ระดับดังกล่าว
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2563 หดตัว 4.2% ซึ่งนับเป็นการหดตัวที่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และยังปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ที่หดตัว 6.4% และเมื่อปรับผลของฤดูกาลเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ขยายตัวจากไตรมาส 3 ที่ 1.3% ส่งผลให้ทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไทยหดตัว 6.1% เทียบกับการขยายตัว 2.3% ในปี 2562
ทั้งนี้ เป็นการหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง สำหรับแนวโน้มปี 2564 สศช. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 2.5-3.5% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3.5-4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ การขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ รวมทั้งจากการปรับตัวจากฐานที่ต่ำผิดปกติในปี 2563
ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. 2564 อยู่ที่ระดับ 99.79 ลดลง 0.34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.09% จากเดือน ธ.ค. 2563 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งหักราคาอาหารสดและพลังงานอยู่ที่ระดับ 100.47 เพิ่มขึ้น 0.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากเทียบกับ ธ.ค. 2563 เพิ่มขึ้น 0.03% สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2564 กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะเคลื่อนไหวระหว่าง 0.7-1.7% (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2%) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตลอดทั้งปี 2564 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสผันผวนตามปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความคืบหน้าการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ การประชุม FOMC ในวันที่ 16-17 มี.ค. 2564 และท่าทีของ Fed หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed รวมทั้งติดตามการประชุม กนง. ครั้งที่ 2 ของปีในวันที่ 24 มี.ค. 2564
Fund Comment
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ก.พ. 2564 ปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุโดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว ทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield curve) มีลักษณะชันมากขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปีปรับเพิ่มขึ้น 12–16 bps. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 1 ปี เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.52% ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy rate) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุ 5–30 ปีปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ประมาณ 37–58 bps. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 48 bps. มาอยู่ที่ 1.77% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ เป็นหลัก (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 33 bps. มาอยู่ที่ 1.44%) จากความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มลดลงและประสิทธิภาพของวัคซีนได้ผลดี
ด้านปัจจัยในประเทศ ได้แก่ ปริมาณการออกพันธบัตรในตลาดแรกที่ค่อนข้างสูงในเดือนนี้และเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ไทย เป็นปัจจัยกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในเดือนนี้นักลงทุนต่างชาติขายตราสารหนี้ไทยสุทธิ 4,952 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 6,272 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 1,540 ล้านบาท และมีพันธบัตรที่นักลงทุนต่างชาติถือครองครบกำหนด 219 ล้านบาท
ด้านรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) เดือน ม.ค. 2564 ระบุว่า คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ควรดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป ทั้งการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.25% และคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ที่ระดับเดิมจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อและการจ้างงานสูงสุด พร้อมทั้งระบุว่าการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้นอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
รายงานดังกล่าวสอดคล้องกับแถลงการณ์ของนาย Jerome Powell ประธาน Fed ต่อสภาคองเกรสในวันที่ 23-24 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งยืนยันว่า Fed จะยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายด้านเงินเฟ้อและการจ้างงาน และอาจต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปีกว่าที่อัตราเงินเฟ้อจะขึ้นไปที่ระดับดังกล่าว
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2563 หดตัว 4.2% ซึ่งนับเป็นการหดตัวที่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และยังปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ที่หดตัว 6.4% และเมื่อปรับผลของฤดูกาลเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ขยายตัวจากไตรมาส 3 ที่ 1.3% ส่งผลให้ทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไทยหดตัว 6.1% เทียบกับการขยายตัว 2.3% ในปี 2562
ทั้งนี้ เป็นการหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง สำหรับแนวโน้มปี 2564 สศช. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 2.5-3.5% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3.5-4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ การขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ รวมทั้งจากการปรับตัวจากฐานที่ต่ำผิดปกติในปี 2563
ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. 2564 อยู่ที่ระดับ 99.79 ลดลง 0.34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.09% จากเดือน ธ.ค. 2563 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งหักราคาอาหารสดและพลังงานอยู่ที่ระดับ 100.47 เพิ่มขึ้น 0.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากเทียบกับ ธ.ค. 2563 เพิ่มขึ้น 0.03% สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2564 กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะเคลื่อนไหวระหว่าง 0.7-1.7% (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2%) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ใกล้เคียงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกองทุนบัวหลวงคาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตลอดทั้งปี 2564 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสผันผวนตามปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความคืบหน้าการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของสหรัฐฯ การประชุม FOMC ในวันที่ 16-17 มี.ค. 2564 และท่าทีของ Fed หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed รวมทั้งติดตามการประชุม กนง. ครั้งที่ 2 ของปีในวันที่ 24 มี.ค. 2564