นับตั้งแต่ต้นปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศหลักๆ ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 3-4 ปี ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นไปสูงกว่า 2.90% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษรุ่นอายุ 10 ปี ก็ขึ้นไปสูงกว่า 1.60% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
สาเหตุหลักๆ โดยรวมมาจากความสำเร็จจากการผลักดันกฎหมายปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้คาดว่ารัฐบาลสหรัฐต้องออกพันธบัตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยรายได้จากการลดภาษี ประกอบกับแนวโน้มนโนบายการเงินของประเทศหลักที่จะไปในทิศทางเข้มงวดขึ้น
รวมทั้งจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯที่ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4 ครั้งในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะปรับขึ้นเพียง 3 ครั้ง
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ได้พุ่งขึ้นแรงเหมือนประเทศหลักข้างต้น เนื่องด้วยยังมีสภาพคล่องในประเทศค่อนข้างมาก ความต้องการซื้อ (demand) พันธบัตรของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังสูง ส่งผลให้นับจากต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือ 10 ปีปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 bps นอกจากนี้ยังคงมีเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องถึง 8 หมื่นล้านบาทในช่วงตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์
สำหรับในเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีการประชุมของ Fed แต่มีการแถลงการณ์ในฐานะประธาน Fed เป็นครั้งแรกต่อสภาครองเกรสของนายเจอโรม พาวเวลล์ ซึ่งเขามีมุมมองเชิงบวกต่อสภาวะทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และได้กล่าวถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยว่า Fed มีแผนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ และอาจมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นเป็น 4 ครั้ง หลังจากมีการใช้มาตรการด้านการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงการปรับลดอัตราภาษี และการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล
ตลาดจึงคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมวันที่ 20-21 มีนาคมนี้
อย่างไรก็ตามในช่วงต้นเดือนมีนาคม มีเหตุการณ์ที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับลดลง จากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าสหรัฐฯจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10% โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะปกป้องอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ทำให้ตลาดกังวลว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มความไม่แน่นอนทางการดำเนินนโยบายอีกด้วย
ดังนั้นปัจจัยหลักๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับตลาดตราสารหนี้ในช่วงต่อไปต้องติดตามนโยบายการเงินของประเทศหลักต่างๆ ที่มีแนวโน้มจะเข้มงวดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า รวมทั้งผลกระทบจากการดำเนินนโยบายทางการคลังและการเมืองของประเทศใหญ่
ขณะที่คาดว่าตลาดตราสารหนี้ไทยจะยังคงมี demand จากนักลงทุนคอยหนุนให้อันตราผลตอบแทนไม่เร่งขึ้นเร็วมากนักเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
Fund Comment
มุมมองตลาดตราสารหนี้: นโยบายการเงินปท.หลักเข้มงวดเร็วกว่าคาด
นับตั้งแต่ต้นปี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศหลักๆ ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 3-4 ปี ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปี อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นไปสูงกว่า 2.90% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ขณะเดียวกันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษรุ่นอายุ 10 ปี ก็ขึ้นไปสูงกว่า 1.60% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
สาเหตุหลักๆ โดยรวมมาจากความสำเร็จจากการผลักดันกฎหมายปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งผลให้คาดว่ารัฐบาลสหรัฐต้องออกพันธบัตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยรายได้จากการลดภาษี ประกอบกับแนวโน้มนโนบายการเงินของประเทศหลักที่จะไปในทิศทางเข้มงวดขึ้น
รวมทั้งจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯที่ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้นักลงทุนคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4 ครั้งในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะปรับขึ้นเพียง 3 ครั้ง
ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ได้พุ่งขึ้นแรงเหมือนประเทศหลักข้างต้น เนื่องด้วยยังมีสภาพคล่องในประเทศค่อนข้างมาก ความต้องการซื้อ (demand) พันธบัตรของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศยังสูง ส่งผลให้นับจากต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุคงเหลือ 10 ปีปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 bps นอกจากนี้ยังคงมีเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่องถึง 8 หมื่นล้านบาทในช่วงตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์
สำหรับในเดือนกุมภาพันธ์ไม่มีการประชุมของ Fed แต่มีการแถลงการณ์ในฐานะประธาน Fed เป็นครั้งแรกต่อสภาครองเกรสของนายเจอโรม พาวเวลล์ ซึ่งเขามีมุมมองเชิงบวกต่อสภาวะทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และได้กล่าวถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยว่า Fed มีแผนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ และอาจมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นเป็น 4 ครั้ง หลังจากมีการใช้มาตรการด้านการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงการปรับลดอัตราภาษี และการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล
ตลาดจึงคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมวันที่ 20-21 มีนาคมนี้
อย่างไรก็ตามในช่วงต้นเดือนมีนาคม มีเหตุการณ์ที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับลดลง จากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าสหรัฐฯจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10% โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะปกป้องอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ทำให้ตลาดกังวลว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้น อีกทั้งเป็นการเพิ่มความไม่แน่นอนทางการดำเนินนโยบายอีกด้วย
ดังนั้นปัจจัยหลักๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับตลาดตราสารหนี้ในช่วงต่อไปต้องติดตามนโยบายการเงินของประเทศหลักต่างๆ ที่มีแนวโน้มจะเข้มงวดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า รวมทั้งผลกระทบจากการดำเนินนโยบายทางการคลังและการเมืองของประเทศใหญ่
ขณะที่คาดว่าตลาดตราสารหนี้ไทยจะยังคงมี demand จากนักลงทุนคอยหนุนให้อันตราผลตอบแทนไม่เร่งขึ้นเร็วมากนักเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ