ตลาดหุ้นโลกปิดทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 1.4% โดยปรับตัวลงก่อนในครึ่งเดือนแรก ก่อนที่จะปรับฟื้นขึ้นในมาช่วงครึ่งหลังของเดือน โดยปัจจัยที่กดดันการลงทุนในเดือนนี้มาจาก ความกังวลต่อเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับสูงขึ้นเป็น 4.2% YoY ส่วนหนึ่งมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว
อย่างไรก็ดี หากเทียบเป็นเดือนต่อเดือน ถือว่าเร่งตัวขึ้นเป็น 0.8% MoM จาก 0.6% MoM ในเดือนก่อนหน้า ผลจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความกังวลว่า Fed อาจจะปรับลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ดี Bond Yield ของสหรัฐฯปรับทรงตัวในเดือนนี้ สะท้อนว่า ตลาดได้รับรู้ ประเด็นเงินเฟ้อ และความกังวลต่อการลดการอัดฉีดสภาพคล่องไปบ้างแล้ว
ส่วนปัจจัยบวกต่อตลาด ยังคงหนุนด้วยการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก นำโดยดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ ที่ 61.2 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ Composite PMI ของสหรัฐฯ ที่ 68.1 จุด สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และยูโรโซนที่ 56.9 จุด สูงสุดในรอบกว่า 3 ปี
ขณะที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มปรับตัวลดลง ถึงแม้ยังคงมีการปรับเพิ่มขึ้นในบางประเทศ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น รวมถึงไทย โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสหรัฐฯ และยุโรป ปรับตัวลดลง หลังจากฉีดวัคซีนไปในวงกว้างมากขึ้น โดยประชาชนในสหรัฐฯ ได้รับวัคซีนไปแล้ว 50% ของประชากร และคาดว่าจะสร้าง Herd immunity ในไตรมาส 3 นี้ ซึ่งช่วยหนุนการเปิดเศรษฐกิจและการเดินทางให้มากขึ้น
ทั้งนี้ บรรยากาศการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี ระดับอัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ต้องจับตา เนื่องจากภาวะอุปสงค์-อุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดอาจจะยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ภายในปีนี้ ซึ่งระดับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด อาจจะส่งผลต่อสัญญาณทิศทางนโยบายการเงินในอนาคตของ Fed ได้ อีกทั้ง ยังจะเริ่มเห็นผลกระทบของต้นทุนที่สูงขึ้นต่ออัตรากำไรของบริษัทในบางอุตสาหกรรมมากกว่าช่วงที่ผ่านมา
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นโลก โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.66% ในเดือนนี้ โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3.4 หมื่นล้านบาท จากการปรับลดน้ำหนักหุ้นไทยในดัชนี MSCI Thailand โดยปัจจัยในประเทศนั้น ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดระลอกสาม ซึ่งมีความรุนแรงกว่าสองระลอกแรกมาก โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันทรงตัวอยู่ระดับสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศต้องหยุดชะงัก และมีการใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นทั่วประเทศ
ทั้งนี้ จากแผนของรัฐบาลในการกระจายวัคซีนล็อกแรกของ AstraZeneca ที่จะเริ่มในเดือนมิถุนายนนั้น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศในระยะข้างหน้าได้ สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ประกาศออกมานั้น ผลกำไรสุทธิที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในประเทศฟื้นตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ จากปัจจัยการแพร่ระบาดข้างต้น ส่วนกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก มีผลประกอบการฟื้นตัวได้ดี ได้แก่ พลังงาน ปิโตรเคมี เกษตร อิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยมีน้ำหนักหุ้นกลุ่มพลังงานในดัชนีที่สูง ทำให้ตลาดหุ้นไทยโดยภาพรวมสามารถยืนระดับได้ดี
กลยุทธ์การลงทุนในระยะข้างหน้า ยังต้องมีความ Selective ในหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศในอนาคต และหุ้นที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี เนื่องจากระดับ Valuation ของตลาดโดยรวมมีความตึงตัว โดยถ้าหากผลประกอบการโดยรวมออกมาดี และทำให้คาดการณ์กำไรของตลาดปรับดีขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในเชิง Valuation ของตลาดได้
Fund Comment
Fund Comment พฤษภาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปิดทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 1.4% โดยปรับตัวลงก่อนในครึ่งเดือนแรก ก่อนที่จะปรับฟื้นขึ้นในมาช่วงครึ่งหลังของเดือน โดยปัจจัยที่กดดันการลงทุนในเดือนนี้มาจาก ความกังวลต่อเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับสูงขึ้นเป็น 4.2% YoY ส่วนหนึ่งมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว
อย่างไรก็ดี หากเทียบเป็นเดือนต่อเดือน ถือว่าเร่งตัวขึ้นเป็น 0.8% MoM จาก 0.6% MoM ในเดือนก่อนหน้า ผลจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความกังวลว่า Fed อาจจะปรับลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ดี Bond Yield ของสหรัฐฯปรับทรงตัวในเดือนนี้ สะท้อนว่า ตลาดได้รับรู้ ประเด็นเงินเฟ้อ และความกังวลต่อการลดการอัดฉีดสภาพคล่องไปบ้างแล้ว
ส่วนปัจจัยบวกต่อตลาด ยังคงหนุนด้วยการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก นำโดยดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ ที่ 61.2 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ Composite PMI ของสหรัฐฯ ที่ 68.1 จุด สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และยูโรโซนที่ 56.9 จุด สูงสุดในรอบกว่า 3 ปี
ขณะที่ สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มปรับตัวลดลง ถึงแม้ยังคงมีการปรับเพิ่มขึ้นในบางประเทศ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น รวมถึงไทย โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสหรัฐฯ และยุโรป ปรับตัวลดลง หลังจากฉีดวัคซีนไปในวงกว้างมากขึ้น โดยประชาชนในสหรัฐฯ ได้รับวัคซีนไปแล้ว 50% ของประชากร และคาดว่าจะสร้าง Herd immunity ในไตรมาส 3 นี้ ซึ่งช่วยหนุนการเปิดเศรษฐกิจและการเดินทางให้มากขึ้น
ทั้งนี้ บรรยากาศการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี ระดับอัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ต้องจับตา เนื่องจากภาวะอุปสงค์-อุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดอาจจะยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ภายในปีนี้ ซึ่งระดับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด อาจจะส่งผลต่อสัญญาณทิศทางนโยบายการเงินในอนาคตของ Fed ได้ อีกทั้ง ยังจะเริ่มเห็นผลกระทบของต้นทุนที่สูงขึ้นต่ออัตรากำไรของบริษัทในบางอุตสาหกรรมมากกว่าช่วงที่ผ่านมา
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นโลก โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.66% ในเดือนนี้ โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3.4 หมื่นล้านบาท จากการปรับลดน้ำหนักหุ้นไทยในดัชนี MSCI Thailand โดยปัจจัยในประเทศนั้น ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิดระลอกสาม ซึ่งมีความรุนแรงกว่าสองระลอกแรกมาก โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันทรงตัวอยู่ระดับสูง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศต้องหยุดชะงัก และมีการใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นทั่วประเทศ
ทั้งนี้ จากแผนของรัฐบาลในการกระจายวัคซีนล็อกแรกของ AstraZeneca ที่จะเริ่มในเดือนมิถุนายนนั้น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศในระยะข้างหน้าได้ สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ประกาศออกมานั้น ผลกำไรสุทธิที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในประเทศฟื้นตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ จากปัจจัยการแพร่ระบาดข้างต้น ส่วนกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลก มีผลประกอบการฟื้นตัวได้ดี ได้แก่ พลังงาน ปิโตรเคมี เกษตร อิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยมีน้ำหนักหุ้นกลุ่มพลังงานในดัชนีที่สูง ทำให้ตลาดหุ้นไทยโดยภาพรวมสามารถยืนระดับได้ดี
กลยุทธ์การลงทุนในระยะข้างหน้า ยังต้องมีความ Selective ในหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศในอนาคต และหุ้นที่มีแนวโน้มของผลประกอบการที่ดี เนื่องจากระดับ Valuation ของตลาดโดยรวมมีความตึงตัว โดยถ้าหากผลประกอบการโดยรวมออกมาดี และทำให้คาดการณ์กำไรของตลาดปรับดีขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในเชิง Valuation ของตลาดได้