โดย…ทนง ขันทอง
ในบรรดากองทุนต่างๆ ภายใต้การบริหารของแบล็คร็อค ซึ่งเป็นบริษัทบริหารการลงทุนของสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีกองทุนที่น่าสนใจกองหนึ่งที่เน้นการลงทุนในเทคโนโลยีทางการเงิน หรือฟินเทค ชื่อว่า BGF Fintech Fund
กองทุนฟินเทคของแบล็คร็อคได้รับการจัดตั้งในปี 2018 โดยเล็งเห็นโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งเป็น Theme การลงทุนที่สำคัญ และจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
ในอดีตเทคโนโลยีการเงิน (financial technology) ทำหน้าที่เป็นแบ็คออฟฟิศสำหรับนักการธนาคารหรือเทรดเดอร์ คนมองไม่ค่อยเห็น หรือให้ความสนใจมากนัก
แต่ในยุคของเศรษฐกิจนวัตกรรม เทคโนโลยีการเงินหรือเรียกสั้นๆ ว่า ฟินเทค กลายเป็นสิ่งที่เรามองเห็น สัมผัสได้ หรือเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเราโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินแบบดิจิทัล การใช้บริการธนาคารหุ่นยนต์ หรือระบบโอโตเมชัน การเทรดหุ้นออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การใช้บริการกู้ยืมเงินผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือการใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนเพื่อรองรับธุรกรรมการเงิน การใช้หุ่นยนต์เพื่อแนะนำการเงิน (roboadvisor) การเก็บเงินในรูปแบบของอีวอลเล็ต
บริษัทเทคโนโลยีมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อที่จะให้บริการทางการเงิน หรือนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อแข่งขันกับระบบดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพากระดาษหรือเอกสาร ใช้แรงงานมาก มีขั้นตอนเทอะทะ ไม่มีความคล่องตัว ความเร็ว หรือประสิทธิภาพเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศจีน บริษัทเทคโนโลยีมีการพัฒนาซุปเปอร์แอปสำหรับส่งข้อความที่มีคนใช้บริการนับพันล้านคน โดยมีบริการทางการเงินฝังอยู่ในแอปที่สามารถให้บริการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ได้ ทำให้สามารถก้าวล้ำหน้าคู่แข่งในโลกตะวันตกที่ยังคงติดปัญหากฎเกณฑ์ที่ออกมารองรับไม่ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
นโยบายของกองทุน BGF Fintech Fund ของแบล็คร็อค เน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทระดับโลกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำวิจัย พัฒนา ผลิต หรือกระจายเทคโนโลยีที่ใช้กับ หรือประยุกต์ใช้กับการบริการทางการเงิน ภายใต้การบริหารของหัวหน้าทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการเงินมาเป็นเวลา 27 ปี คือ นาย Vasco Moreno
แบล็คร็อคมีทีมงานที่โฟกัสการวิเคราะห์และการลงทุนในอุตสาหกรรมฟินเทคโดยเฉพาะถึง 30 คน กระจายอยู่ตามออฟฟิศต่างๆ ของบริษัทในสหรัฐฯ ยุโรปและเอเชีย
นอกจากนี้ทีมงานของแบล็คร็อคยังได้รับการสนับสนุนจากระบบ Aladdin System ซึ่งเป็นเครือข่ายระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยมอนิเตอร์ตลาด และบริหารความเสี่ยง ระบบ Aladdin ของแบล็คร็อคมีลูกค้าระดับบิ๊กที่ใช้บริการ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป
ในภาวะตลาดปกติ กองทุน BGF Fintech Fund ของแบล็คร็อค จะลงทุนในพอร์ตที่มีหุ้นของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ทำกิจกรรมหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบชำระเงิน ธนาคารดิจิทัล การลงทุน การปล่อยกู้ ประกันภัย รวมท้ังซอฟต์แวร์ โดยจะลงทุนทั้งในตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้ว และตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งอาจจะลงทุนในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ และตลาดหุ้นเสินเจิ้นของจีนผ่านระบบสต็อคคอนเน็คที่เชื่อมโยงกับตลาดหุ้นฮ่องกง
สำหรับ 10 บริษัทแรก ที่กองทุน BGF Fintech Fund ของแบล็คร็อค มีการถือครองหุ้นมากที่สุด ณ วันที่ 28 พ.ค. 2021 คือ
- Capital One Financial Corp
- American Express
- Synchrony Financial
- Fidelity National Information Service
- Fiserv Inc
- Mastercard Inc
- JP Morgan Chase
- Alliance Data Systems Corp
- JSC KASPI KZ GLOBAL SPONSORED REG
- Visa Inc
ผลการดำเนินงานของกองทุนฟินเทคของแบล็คร็อคตั้งแต่จัดตั้งกองทุนวันที่ 4 กันยายนปี 2018 จนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2021 ปรากฎว่ามีการเติบโตเฉลี่ย 28.11% ต่อปี ล่าสุดในช่วง 1 ปี มีการเติบโตถึง 71.54%
จากความน่าสนใจที่กล่าวมานี้ กองทุนบัวหลวง จึงเสนอขาย กองทุนเปิดบัวหลวงฟินเทค (B-FINTECH) วันที่ 10-16 มิถุนายน นี้ โดยจะไปลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของ BGF Fintech Fund ซึ่งผู้ลงทุนที่สนใจ สามารถศึกษาข้อมูลกองทุนนี้ได้ที่ https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/foreign-investment-fund/b-fintech/b-fintech#content
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจ ลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
การป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นกับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน