การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.50 แสนตำแหน่ง มากที่สุดในรอบ 10 เดือน

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.50 แสนตำแหน่ง มากที่สุดในรอบ 10 เดือน

BF Economic Research

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.50 แสนตำแหน่ง มากที่สุดในรอบ 10 เดือน และดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 7.20 แสนตำแหน่ง ขณะที่ตัวเลขเดือนก่อนถูกปรับเพิ่มขึ้น 2.4 หมื่นตำแหน่ง เป็น 5.83 แสนตำแหน่ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 พบว่ายังมีตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ราว -6.8 ล้านตำแหน่ง

  • ในรายองค์ประกอบพบว่า การจ้างงานยังเพิ่มขึ้นโดยหลักในหมวดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ได้แก่ การโรงแรมและพักผ่อน (+3.43 แสนตำแหน่ง), การจ้างงานภาคการศึกษา (+2.68 แสนตำแหน่ง), ค้าปลีก (+6.7 หมื่นตำแหน่ง) และการบริการอื่นๆ เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ (+5.6 หมื่นตำแหน่ง)
  • ด้านการจ้างงานภาคก่อสร้างลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (-7.0 พันตำแหน่ง vs. -2.2 หมื่นตำแหน่งเดือนก่อน) และการจ้างงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ลดลง -1.2 หมื่นตำแหน่ง (vs. +2.3 หมื่นตำแหน่งเดือนก่อน) จากปัญหาขาดแคลนชิปที่กระทบการผลิต
  • อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 5.9% (vs. 5.8% ในเดือนก่อน) สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะปรับลดลงเป็น 5.6% โดยเป็นผลจากที่มีแรงงานว่างงานเพิ่มขึ้น (+1.6 แสนราย) ขณะที่มีแรงงานกลับเข้ามาหางานในตลาดแรงงานเพิ่มเติมจากเดือนก่อน (+1.5 แสนราย)
  • โดยแรงงานว่างงานชั่วคราว (Temporary) ลดลง 1.2 หมื่นราย เป็น 1.81 ล้านราย ส่วนแรงงานว่างงานถาวร (Permanent) ลดลง 4.7 หมื่นราย เป็น 3.19 ล้านราย
  • อัตราค่าจ้างแรงงาน (Average Hourly Earnings) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.3% MoM เท่ากับที่ตลาดคาด ต่อเนื่องจาก 0.4% ในเดือนก่อน โดยอัตราค่าจ้างในเดือนนี้เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะบริการขนส่งและคลังสินค้า (1.8% MoM) และการโรงแรมและพักผ่อน (1.0%) โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราค่าจ้างแรงงานขยายตัว 3.6% YoY (vs. 1.9% เดือนก่อน)

ปัญหาการขาดแคลนแรงงานยังคงกดดันภาคการผลิตและสะท้อนไปยังการชะลอลงของ Capacity Utilization การใช้กําลังการผลิตเนื่องจากหลายบริษัท ซึ่งไม่เพียงแต่ภาคการผลิตเท่านั้น ภาคการบริการและการโรงแรมก็ประสบภาวะขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในกลุ่มรายได้ต่ำในภาคบริการ ทั้งนี้ค่าจ้างแรงงานได้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยสูงกว่าก่อน COVID-19 ราว 8.6% (30.4 ดอลลาร์ฯ/ชั่วโมง vs. เฉลี่ยปี 2019 ที่ราว 28 ดอลลาร์ฯ/ชั่วโมง)