ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนในเดือนกรกฎาคม ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6% โดยตลาดการเงินยังคงถูกกดดันอยู่จากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่เริ่มส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเล็กน้อย จากการประชุม FOMC เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ผ่าน Dot Plot ที่บ่งชี้ว่าดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นถึง 2 ครั้งในปี 2023
อย่างไรก็ดี ภาพรวมตลาดหุ้นโลกยังคงระดับอยู่ได้ จากการที่ตลาดมีการสับเปลี่ยนกลุ่มหุ้นลงทุน โดยหลังจากการประชุมครั้งดังกล่าวจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวได้ดีกว่าตลาดในดัชนี S&P500 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสื่อสาร และกลุ่มการแพทย์ ขณะที่มีการปรับลดลงในหุ้น กลุ่มพลังงานและสาณารณูปโภค และกลุ่มการเงิน เป็นต้น
ด้านปัจจัยจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงอยู่ในโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ดี ผ่านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยูโรโซนที่ขยายตัวสูงจากฐานต่ำและยังคงเติบโตต่อเมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง และดัชนี PMI ของยูโรโซนที่อยู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี หนุนโดยการแจกจ่ายวัคซีนในวงกว้างที่ทำให้สามารถเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ ประเด็นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ที่เริ่มทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นนั้น ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ว่าจะสามารถควบคุมให้ไม่กลับมามีผู้ติดเชื้อรายวันสูงได้หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปิดเศรษฐกิจและการเดินทางที่มากขึ้นต่อไป
ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนตลาดหุ้นในช่วงนี้ จะอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ หลังแรงส่งจากมาตรการทางการคลัง ที่สนับสนุนภาคการบริโภคของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมานั้น เริ่มหมดลง เช่นเดียวกันกับนโยบายการเงิน ที่เริ่มมีแนวโน้มลดความผ่อนคลายลง โดยตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะเริ่มสื่อสารถึงการลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ ในการประชุม Jackson Hole Symposium วันที่ 26 – 28 สิงหาคม นี้
อย่างไรก็ดี ตลาดก็ได้เริ่มซึมซับประเด็นการลด QE และการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในระยะข้างหน้าไปบ้างแล้ว จากการสื่อสารถึงคาดการณ์เศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ทำให้ผลกระทบต่อตลาดเงินจากประเด็นนี้จะไม่ได้รุนแรง ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นได้รับแรงสนับสนุนในเชิง Valuation ขณะผลประกอบการยังมีแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้ดัชนีตลาดโดยภาพรวมยังมีแนวโน้มยืนอยู่ระดับอยู่ได้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโลก โดยปรับลดลง 4.1% ตลาดถูกกดดันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมาตรการล็อคดาวน์ที่เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และแผนการเปิดประเทศให้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น หลายฝ่ายเริ่มมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงเข้าใกล้ 0% ทั้งนี้ การจัดหาวัคซีนที่ทยอยเข้ามาเพิ่มมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ในระยะข้างหน้า ซึ่งจะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถเลี่ยงการเผชิญภาวะถดถอยในปีที่สองนี้ได้
แนวโน้มการลงทุน ปัจจัยภายนอก ยังคงต้องติดตาม พัฒนาการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดจากสายพันธุ์ใหม่ และทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก ขณะที่ปัจจัยภายใน จะอยู่ที่การควบคุมการแพร่ระบาด และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงหลังจากนั้น กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว
Fund Comment
Fund Comment กรกฎาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนในเดือนกรกฎาคม ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6% โดยตลาดการเงินยังคงถูกกดดันอยู่จากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่เริ่มส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเล็กน้อย จากการประชุม FOMC เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ผ่าน Dot Plot ที่บ่งชี้ว่าดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นถึง 2 ครั้งในปี 2023
อย่างไรก็ดี ภาพรวมตลาดหุ้นโลกยังคงระดับอยู่ได้ จากการที่ตลาดมีการสับเปลี่ยนกลุ่มหุ้นลงทุน โดยหลังจากการประชุมครั้งดังกล่าวจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวได้ดีกว่าตลาดในดัชนี S&P500 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสื่อสาร และกลุ่มการแพทย์ ขณะที่มีการปรับลดลงในหุ้น กลุ่มพลังงานและสาณารณูปโภค และกลุ่มการเงิน เป็นต้น
ด้านปัจจัยจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงอยู่ในโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ดี ผ่านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยูโรโซนที่ขยายตัวสูงจากฐานต่ำและยังคงเติบโตต่อเมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง และดัชนี PMI ของยูโรโซนที่อยู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี หนุนโดยการแจกจ่ายวัคซีนในวงกว้างที่ทำให้สามารถเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ ประเด็นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ที่เริ่มทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นนั้น ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ว่าจะสามารถควบคุมให้ไม่กลับมามีผู้ติดเชื้อรายวันสูงได้หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปิดเศรษฐกิจและการเดินทางที่มากขึ้นต่อไป
ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนตลาดหุ้นในช่วงนี้ จะอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ หลังแรงส่งจากมาตรการทางการคลัง ที่สนับสนุนภาคการบริโภคของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมานั้น เริ่มหมดลง เช่นเดียวกันกับนโยบายการเงิน ที่เริ่มมีแนวโน้มลดความผ่อนคลายลง โดยตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะเริ่มสื่อสารถึงการลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ ในการประชุม Jackson Hole Symposium วันที่ 26 – 28 สิงหาคม นี้
อย่างไรก็ดี ตลาดก็ได้เริ่มซึมซับประเด็นการลด QE และการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในระยะข้างหน้าไปบ้างแล้ว จากการสื่อสารถึงคาดการณ์เศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ทำให้ผลกระทบต่อตลาดเงินจากประเด็นนี้จะไม่ได้รุนแรง ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นได้รับแรงสนับสนุนในเชิง Valuation ขณะผลประกอบการยังมีแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้ดัชนีตลาดโดยภาพรวมยังมีแนวโน้มยืนอยู่ระดับอยู่ได้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวอ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโลก โดยปรับลดลง 4.1% ตลาดถูกกดดันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมาตรการล็อคดาวน์ที่เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และแผนการเปิดประเทศให้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น หลายฝ่ายเริ่มมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงเข้าใกล้ 0% ทั้งนี้ การจัดหาวัคซีนที่ทยอยเข้ามาเพิ่มมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ในระยะข้างหน้า ซึ่งจะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถเลี่ยงการเผชิญภาวะถดถอยในปีที่สองนี้ได้
แนวโน้มการลงทุน ปัจจัยภายนอก ยังคงต้องติดตาม พัฒนาการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดจากสายพันธุ์ใหม่ และทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก ขณะที่ปัจจัยภายใน จะอยู่ที่การควบคุมการแพร่ระบาด และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงหลังจากนั้น กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว