ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือน ปิดปรับเพิ่มขึ้น 2.9% นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ โดยการประชุมที่ Jackson Hole ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ส่งสัญญาณที่ Dovish ต่อตลาด โดยยังคงมุมมองต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น และมองว่าการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วเกินไป จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
Fed อาจเริ่มการทำ QE Taper ในปีนี้ แต่ยังคงขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจที่จะออกมาในระยะข้างหน้า และการทำ QE Taper จะไม่เชื่อมโยงกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในอนาคต การสื่อสารอย่างต่อเนื่องของ Fed และท่าทีที่ยังไม่เข้มงวดมากขึ้นเร็วนั้น ทำให้ตลาดการเงินได้ซึมซับข้อมูลและปรับคาดการณ์ ส่งผลให้ตลาดการเงินไม่เกิดภาวะผันผวนสูง กอปรกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวลดลงแรงในเดือนก่อนหน้านั้น สะท้อนถึงสภาพคล่องในตลาดการเงินที่สูงและช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นโลกในเชิง Valuation ได้
ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงอยู่ในโมเมนตัมของการฟื้นตัว นำโดยเศรษฐกิจยูโรโซนที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ผ่านดัชนี PMI ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงสุดในรอบหลายปี หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอุปสงค์ที่ดีหลังการผ่านคลายมาตรการ ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยได้รับผลกระทบจากจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta รวมถึงแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มทยอยหมดลง
อย่างไรก็ดี แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดี Joe Biden ซึ่งมีความคืบหน้ามากขึ้น จะเป็นส่วนช่วยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯในหลายภาคส่วนในระยะข้างหน้า ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกนั้น แม้ว่าจะยังคงอยู่ระดับสูง แต่การฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในวงกว้าง ก็ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตโดยภาพรวมลงได้ หนุนการเปิดเศรษฐกิจในหลายประเทศ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกให้อยู่ในโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ดีได้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวได้ดีกว่าตลาดหุ้นโลก ปรับเพิ่มขึ้นได้ 7.7% จากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่เริ่มดีขึ้นในช่วงปลายเดือน และการเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์จากภาครัฐฯ โดยการเร่งฉีดวัคซีนในวงกว้างและการจัดหาวัคซีนที่ทยอยเข้ามาต่อเนื่อง ช่วยหนุนการเปิดเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นในระยะข้างหน้า ในเดือนนี้นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยที่ 5.4 พันล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ 1.7 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับขึ้นได้ดีในเดือนนี้ ได้แก่ กลุ่มภาคการบริการ และกลุ่มการเงิน ซึ่งได้รับผลบวกจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงกลุ่มพลังงานที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมันโลก
แนวโน้มการลงทุน ปัจจัยภายนอก จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะฟื้นตัวในวงกว้างมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนจากสภาพคล่องทางการเงินมีแนวโน้มส่งผลเชิงบวกลดลง ด้านปัจจัยภายใน การกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้งจะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการฉีดวัคซีนที่เพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ในระยะข้างหน้า กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจและผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือน ปิดปรับเพิ่มขึ้น 2.9% นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ โดยการประชุมที่ Jackson Hole ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ส่งสัญญาณที่ Dovish ต่อตลาด โดยยังคงมุมมองต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น และมองว่าการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วเกินไป จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
Fed อาจเริ่มการทำ QE Taper ในปีนี้ แต่ยังคงขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจที่จะออกมาในระยะข้างหน้า และการทำ QE Taper จะไม่เชื่อมโยงกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในอนาคต การสื่อสารอย่างต่อเนื่องของ Fed และท่าทีที่ยังไม่เข้มงวดมากขึ้นเร็วนั้น ทำให้ตลาดการเงินได้ซึมซับข้อมูลและปรับคาดการณ์ ส่งผลให้ตลาดการเงินไม่เกิดภาวะผันผวนสูง กอปรกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวลดลงแรงในเดือนก่อนหน้านั้น สะท้อนถึงสภาพคล่องในตลาดการเงินที่สูงและช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นโลกในเชิง Valuation ได้
ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงอยู่ในโมเมนตัมของการฟื้นตัว นำโดยเศรษฐกิจยูโรโซนที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ผ่านดัชนี PMI ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงสุดในรอบหลายปี หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอุปสงค์ที่ดีหลังการผ่านคลายมาตรการ ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยได้รับผลกระทบจากจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta รวมถึงแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มทยอยหมดลง
อย่างไรก็ดี แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดี Joe Biden ซึ่งมีความคืบหน้ามากขึ้น จะเป็นส่วนช่วยหนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯในหลายภาคส่วนในระยะข้างหน้า ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกนั้น แม้ว่าจะยังคงอยู่ระดับสูง แต่การฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในวงกว้าง ก็ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตโดยภาพรวมลงได้ หนุนการเปิดเศรษฐกิจในหลายประเทศ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกให้อยู่ในโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ดีได้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวได้ดีกว่าตลาดหุ้นโลก ปรับเพิ่มขึ้นได้ 7.7% จากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่เริ่มดีขึ้นในช่วงปลายเดือน และการเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์จากภาครัฐฯ โดยการเร่งฉีดวัคซีนในวงกว้างและการจัดหาวัคซีนที่ทยอยเข้ามาต่อเนื่อง ช่วยหนุนการเปิดเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นในระยะข้างหน้า ในเดือนนี้นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยที่ 5.4 พันล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ 1.7 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับขึ้นได้ดีในเดือนนี้ ได้แก่ กลุ่มภาคการบริการ และกลุ่มการเงิน ซึ่งได้รับผลบวกจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงกลุ่มพลังงานที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมันโลก
แนวโน้มการลงทุน ปัจจัยภายนอก จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะฟื้นตัวในวงกว้างมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนจากสภาพคล่องทางการเงินมีแนวโน้มส่งผลเชิงบวกลดลง ด้านปัจจัยภายใน การกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้งจะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการฉีดวัคซีนที่เพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ในระยะข้างหน้า กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจและผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว