ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนในเดือนกันยายน ดัชนี MSCI World Index ปรับตัวลดลง 4.3% นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรป จากการขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงของนักลงทุนต่อภาวะเงินเฟ้อที่สูงและการลดความผ่อนคลายของนโยบายการเงินของ Fed โดยในการประชุมเดือนกันยายน คณะกรรมการ Fed ได้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อและคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วขึ้นเล็กน้อย และส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นในการเริ่มทำ QE Taper ในการประชุมครั้งถัดไป ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นจากก่อนการประชุมที่ 1.3% มาอยู่ที่ราว 1.5% ในช่วงปลายเดือน ซึ่งส่งผลต่อการประเมินระดับ Valuation โดยเฉพาะสำหรับหุ้นเติบโตสูง
ขณะเดียวกัน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้สะท้อนผ่านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นของบริษัทในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดยังทรงตัวในระดับสูงเพราะยังไม่สามารถเพิ่ม Supply ได้ในระยะเวลาอันสั้น และปัญหา Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง แม้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ก็ยังใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อน่าจะยังคงกดดันผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไปอีกระยะหนึ่ง
ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัว แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นของ COVID-19 แม้ว่าหลายประเทศจะมีการแจกจ่ายวัคซีนให้ประชากรจำนวนมากแล้วก็ตาม โดยดัชนี Composite PMI ของสหรัฐฯและยุโรปนั้นปรับตัวลดลงมากกว่าคาด และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ (US Non-farm payrolls) ซึ่งเพิ่มขึ้นต่ำสุดในรอบ 7 เดือน แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบก่อนที่อ่อนแรงลงมากขึ้น ซึ่งเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง ทำให้เกิดความกังวลต่อภาวะ Stagflation ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้น
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ลดลง 2.0% โดยเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาพที่เริ่มฟื้นตัว จากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐบาล หลังสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้ชะลอตัวลงได้ หนุนการทยอยเปิดเศรษฐกิจและแผนการรับนักท่องเที่ยวในลำดับถัดไป ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นเดือนที่สอง ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท จากเดือนก่อนหน้าที่ 5.4 พันล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นได้ดี ได้แก่ กลุ่มธนาคาร หนุนโดยหลายปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ Yield พันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และปัจจัยบวกเฉพาะตัวจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับดีขึ้นรองลงมาได้แก่ กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและโรงกลั่น เป็นต้น ขณะที่การกลับมาเปิดเศรษฐกิจของไทยจะช่วยหนุนแนวโน้มผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในระยะข้างหน้า
แม้ว่าปัจจัยภายนอกประเทศที่เคยจะส่งผลเชิงบวกจะเริ่มแผ่วลงไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีขึ้น การกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐฯหลังการขยายเพดานหนี้สาธารณะ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงฟื้นตัวในระยะข้างหน้าได้ กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังให้น้ำหนักกับหุ้นในภาคการเงิน และพลังงาน ตามปัจจัยบวกที่กล่าวไปข้างต้น รวมทั้งกลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ให้ความระมัดระวังมากขึ้นกับบริษัทที่จะถูกกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและไม่สามารถปรับราคาขายขึ้นเพื่อชดเชยได้ (หรือเพิ่งมีการปรับราคาขายไปก่อนหน้าแล้ว) จะมีความเสี่ยงต่ออัตรากำไรที่ลดลงในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนในเดือนกันยายน ดัชนี MSCI World Index ปรับตัวลดลง 4.3% นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรป จากการขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงของนักลงทุนต่อภาวะเงินเฟ้อที่สูงและการลดความผ่อนคลายของนโยบายการเงินของ Fed โดยในการประชุมเดือนกันยายน คณะกรรมการ Fed ได้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อและคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วขึ้นเล็กน้อย และส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นในการเริ่มทำ QE Taper ในการประชุมครั้งถัดไป ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นจากก่อนการประชุมที่ 1.3% มาอยู่ที่ราว 1.5% ในช่วงปลายเดือน ซึ่งส่งผลต่อการประเมินระดับ Valuation โดยเฉพาะสำหรับหุ้นเติบโตสูง
ขณะเดียวกัน แรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้สะท้อนผ่านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นของบริษัทในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดยังทรงตัวในระดับสูงเพราะยังไม่สามารถเพิ่ม Supply ได้ในระยะเวลาอันสั้น และปัญหา Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง แม้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ก็ยังใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อน่าจะยังคงกดดันผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไปอีกระยะหนึ่ง
ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัว แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นของ COVID-19 แม้ว่าหลายประเทศจะมีการแจกจ่ายวัคซีนให้ประชากรจำนวนมากแล้วก็ตาม โดยดัชนี Composite PMI ของสหรัฐฯและยุโรปนั้นปรับตัวลดลงมากกว่าคาด และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ (US Non-farm payrolls) ซึ่งเพิ่มขึ้นต่ำสุดในรอบ 7 เดือน แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบก่อนที่อ่อนแรงลงมากขึ้น ซึ่งเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง ทำให้เกิดความกังวลต่อภาวะ Stagflation ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้น
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ลดลง 2.0% โดยเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาพที่เริ่มฟื้นตัว จากการผ่อนคลายมาตรการของรัฐบาล หลังสามารถควบคุมการแพร่ระบาดให้ชะลอตัวลงได้ หนุนการทยอยเปิดเศรษฐกิจและแผนการรับนักท่องเที่ยวในลำดับถัดไป ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นเดือนที่สอง ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท จากเดือนก่อนหน้าที่ 5.4 พันล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นได้ดี ได้แก่ กลุ่มธนาคาร หนุนโดยหลายปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ Yield พันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และปัจจัยบวกเฉพาะตัวจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับดีขึ้นรองลงมาได้แก่ กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและโรงกลั่น เป็นต้น ขณะที่การกลับมาเปิดเศรษฐกิจของไทยจะช่วยหนุนแนวโน้มผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในระยะข้างหน้า
แม้ว่าปัจจัยภายนอกประเทศที่เคยจะส่งผลเชิงบวกจะเริ่มแผ่วลงไป แต่ปัจจัยภายในที่ดีขึ้น การกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐฯหลังการขยายเพดานหนี้สาธารณะ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงฟื้นตัวในระยะข้างหน้าได้ กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ยังให้น้ำหนักกับหุ้นในภาคการเงิน และพลังงาน ตามปัจจัยบวกที่กล่าวไปข้างต้น รวมทั้งกลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ให้ความระมัดระวังมากขึ้นกับบริษัทที่จะถูกกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและไม่สามารถปรับราคาขายขึ้นเพื่อชดเชยได้ (หรือเพิ่งมีการปรับราคาขายไปก่อนหน้าแล้ว) จะมีความเสี่ยงต่ออัตรากำไรที่ลดลงในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า