ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นแรงในทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น +4 ถึง +8 bps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุมากกว่า 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น +10 ถึง +37 bps ปัจจัยหลักเป็นผลมาจากแนวโน้มปริมาณการออกพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศปริมาณการออกพันธบัตร (Loan Bond) สำหรับปีงบประมาณ 2565 อยู่ที่ 1.1-1.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2564 ซึ่งอยู่ที่ 8.46 แสนล้านบาท ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังมีมติเห็นชอบให้ปรับกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Public Debt to GDP) เพิ่มขึ้นเป็น 70% จากเดิมที่ 60% ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้รัฐบาลสามารถกู้เงินได้เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า
นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอย่างชัดเจนในการประชุมเดือน ก.ย. ทั้งแนวโน้มการปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) และมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยในอนาคต หรือ Dot plot ของคณะกรรมการ Fed ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นไปทะลุระดับ 1.5% ด้านนักลงทุนต่างชาติ มียอดขายสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยสูงถึง 3.62 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี 2.05 หมื่นล้านบาท และขายสุทธิตราสารหนี้ระยะยาว 1.58 หมื่นล้านบาท
สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางหลักในเดือนนี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้แก่ Deposit Facility Rate ที่ -0.50% Main Refinancing Rate ที่ 0% และ Marginal Lending Rate ที่ 0.25% อย่างไรก็ตาม ECB มีมติชะลอการเข้าซื้อสินทรัพย์ผ่านมาตรการ PEPP ในไตรมาส 4 ขณะที่ยังคงวงเงินการเข้าซื้อผ่านมาตรการดังกล่าวไว้ที่ 1.85 ล้านล้านยูโร และระบุเช่นเดิมว่าจะเข้าซื้อจนถึงเดือน มี.ค. ปีหน้าเป็นอย่างน้อย และจนกว่าจะมั่นใจว่าวิกฤต Covid-19 ได้สิ้นสุดแล้ว นอกจากนี้ ECB ได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้เป็น 5.0% จากเดิมที่ 4.6% พร้อมปรับประมาณการเงินเฟ้อเป็น 2.2% จากเดิมที่ 1.9%
ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงนโยบายการเงิน ได้แก่ คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% และคงเป้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ประมาณ 0% โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ +-0.25% รวมถึงคงวงเงินการเข้าซื้อ REITs และ ETF ที่ 1.8 แสนล้านเยน และ 12 ล้านล้านเยน ตามลำดับ
ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.25% และคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน แต่มีการระบุเพิ่มเติมว่าหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องตามที่คาดการณ์ไว้ คณะกรรมการเห็นว่า QE Taper ใกล้ถึงจุดเริ่มต้นแล้ว โดยนาย Jerome Powell ประธาน Fed ระบุในแถลงการณ์หลังการประชุมว่า Fed อาจเริ่มต้น QE Taper ในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 2-3 พ.ย. และสิ้นสุดกระบวนการดังกล่าวกลางปีหน้า นอกจากนี้ Dot plot บ่งชี้ว่ามีคณะกรรมการ 9 ท่านจากทั้งหมด 18 ท่านที่เห็นควรให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. ที่มีเพียง 7 ท่าน และในจำนวนนั้นมี 3 ท่านที่มองว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 2 ครั้ง
ด้านผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% (ในการประชุมเดือน ส.ค. มีคณะกรรมการ 2 ท่านโหวตให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย) โดยคณะกรรมการเห็นว่ามาตรการด้านการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ประมาณการเศรษฐกิจล่าสุดที่เปิดเผยในการประชุมครั้งนี้ กนง. ยังคงประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่ 0.7% แต่ปรับเพิ่มประมาณการปี 2565 เป็น 3.9% จาก 3.7% ในการประชุมครั้งก่อน
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ย. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.68% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. ที่ติดลบ 0.02% โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของตะกร้าสินค้าในหมวดพลังงานเป็นหลัก ขณะที่ผลจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐได้หมดไปแล้ว ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.19% เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. อยู่ที่ 0.07% ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.83% และ 0.23% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นจะยังทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และปริมาณพันธบัตรไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การปรับเพิ่มเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ของสหรัฐฯ การประชุม BoJ ในวันที่ 27-28 พ.ย. และการประชุม ECB ในวันที่ 28 พ.ย. รวมถึงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ และสถานการณ์โควิด-19 หลังเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์มากขึ้น
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นแรงในทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น +4 ถึง +8 bps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุมากกว่า 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น +10 ถึง +37 bps ปัจจัยหลักเป็นผลมาจากแนวโน้มปริมาณการออกพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศปริมาณการออกพันธบัตร (Loan Bond) สำหรับปีงบประมาณ 2565 อยู่ที่ 1.1-1.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2564 ซึ่งอยู่ที่ 8.46 แสนล้านบาท ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังมีมติเห็นชอบให้ปรับกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Public Debt to GDP) เพิ่มขึ้นเป็น 70% จากเดิมที่ 60% ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้รัฐบาลสามารถกู้เงินได้เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า
นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอย่างชัดเจนในการประชุมเดือน ก.ย. ทั้งแนวโน้มการปรับลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) และมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยในอนาคต หรือ Dot plot ของคณะกรรมการ Fed ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นไปทะลุระดับ 1.5% ด้านนักลงทุนต่างชาติ มียอดขายสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยสูงถึง 3.62 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการขายสุทธิตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี 2.05 หมื่นล้านบาท และขายสุทธิตราสารหนี้ระยะยาว 1.58 หมื่นล้านบาท
สำหรับผลการประชุมธนาคารกลางหลักในเดือนนี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้แก่ Deposit Facility Rate ที่ -0.50% Main Refinancing Rate ที่ 0% และ Marginal Lending Rate ที่ 0.25% อย่างไรก็ตาม ECB มีมติชะลอการเข้าซื้อสินทรัพย์ผ่านมาตรการ PEPP ในไตรมาส 4 ขณะที่ยังคงวงเงินการเข้าซื้อผ่านมาตรการดังกล่าวไว้ที่ 1.85 ล้านล้านยูโร และระบุเช่นเดิมว่าจะเข้าซื้อจนถึงเดือน มี.ค. ปีหน้าเป็นอย่างน้อย และจนกว่าจะมั่นใจว่าวิกฤต Covid-19 ได้สิ้นสุดแล้ว นอกจากนี้ ECB ได้ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้เป็น 5.0% จากเดิมที่ 4.6% พร้อมปรับประมาณการเงินเฟ้อเป็น 2.2% จากเดิมที่ 1.9%
ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงนโยบายการเงิน ได้แก่ คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% และคงเป้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ประมาณ 0% โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ +-0.25% รวมถึงคงวงเงินการเข้าซื้อ REITs และ ETF ที่ 1.8 แสนล้านเยน และ 12 ล้านล้านเยน ตามลำดับ
ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.25% และคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน แต่มีการระบุเพิ่มเติมว่าหากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องตามที่คาดการณ์ไว้ คณะกรรมการเห็นว่า QE Taper ใกล้ถึงจุดเริ่มต้นแล้ว โดยนาย Jerome Powell ประธาน Fed ระบุในแถลงการณ์หลังการประชุมว่า Fed อาจเริ่มต้น QE Taper ในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 2-3 พ.ย. และสิ้นสุดกระบวนการดังกล่าวกลางปีหน้า นอกจากนี้ Dot plot บ่งชี้ว่ามีคณะกรรมการ 9 ท่านจากทั้งหมด 18 ท่านที่เห็นควรให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. ที่มีเพียง 7 ท่าน และในจำนวนนั้นมี 3 ท่านที่มองว่าควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 2 ครั้ง
ด้านผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% (ในการประชุมเดือน ส.ค. มีคณะกรรมการ 2 ท่านโหวตให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย) โดยคณะกรรมการเห็นว่ามาตรการด้านการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ประมาณการเศรษฐกิจล่าสุดที่เปิดเผยในการประชุมครั้งนี้ กนง. ยังคงประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2564 ที่ 0.7% แต่ปรับเพิ่มประมาณการปี 2565 เป็น 3.9% จาก 3.7% ในการประชุมครั้งก่อน
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ย. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.68% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. ที่ติดลบ 0.02% โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของตะกร้าสินค้าในหมวดพลังงานเป็นหลัก ขณะที่ผลจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐได้หมดไปแล้ว ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.19% เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. อยู่ที่ 0.07% ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.83% และ 0.23% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นจะยังทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และปริมาณพันธบัตรไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การปรับเพิ่มเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ของสหรัฐฯ การประชุม BoJ ในวันที่ 27-28 พ.ย. และการประชุม ECB ในวันที่ 28 พ.ย. รวมถึงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ และสถานการณ์โควิด-19 หลังเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์มากขึ้น