อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบช่วงอายุเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการที่ตลาดปรับลดโอกาสที่กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายหลังจากการประชุม กนง. ในวันที่ 29 ก.ย. ที่มีมติเอกฉันท์ (7:0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี จึงส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุคงเหลือ 3-5 ปี ปรับตัวขึ้นในกรอบ 15-20 bps ตลาดยังมีความกังวลต่อปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยเฉพาะพันธบัตรรุ่นอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและภูมิภาคที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีที่ปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ 1.70% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน จากปัจจัยสนับสนุนหลายประการ เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯอย่าง ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในวันที่ 21 ต.ค. ที่ปรับลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 290,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 ที่เป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับนายแอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ส่งสัญญาณว่า BoE มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0.15% ในเดือนพ.ย. และ 0.25% ในเดือน ธ.ค. รวมทั้งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปี 2565 ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายพุ่งแตะระดับ 1.25%
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสำหรับปีงบการเงินที่สิ้นสุดในเดือน มี.ค. และยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษต่อไป ทั้งนี้ BOJ ประกาศคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ -0.1% และคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ระดับราว 0% เพื่อรักษาต้นทุนการกู้ยืมไว้ที่ระดับต่ำสำหรับบริษัทและภาคครัวเรือน
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ ECB ระบุว่าทางธนาคารจะยังคงซื้อพันธบัตรวงเงิน 2 หมื่นล้านยูโร/เดือนภายใต้โครงการ Asset Purchase Programme (APP) และซื้อพันธบัตรในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) จนถึงเดือนมี.ค.2565 วงเงินรวม 1.85 ล้านล้านยูโร
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กองทุนบัวหลวงคาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันต่อไปอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวขึ้นจากแนวโน้มปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยที่เพิ่มขึ้น และท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มีโอกาสจะประกาศลดวงเงิน QE(QE Tapering) ในการประชุม Fed วันที่ 3 พ.ย. 2564 ซึ่งปัจจุบัน Fed ทำ QE วงเงินรวม 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน แบ่งเป็นการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯวงเงิน 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) วงเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าจับตามองคือ การประชุมกนง. ในวันที่ 10 พ.ย. 2564
Fund Comment
Fund Comment ตุลาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนต.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบช่วงอายุเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการที่ตลาดปรับลดโอกาสที่กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายหลังจากการประชุม กนง. ในวันที่ 29 ก.ย. ที่มีมติเอกฉันท์ (7:0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี จึงส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุคงเหลือ 3-5 ปี ปรับตัวขึ้นในกรอบ 15-20 bps ตลาดยังมีความกังวลต่อปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยเฉพาะพันธบัตรรุ่นอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและภูมิภาคที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีที่ปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ 1.70% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน จากปัจจัยสนับสนุนหลายประการ เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯอย่าง ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในวันที่ 21 ต.ค. ที่ปรับลดลง 6,000 ราย สู่ระดับ 290,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 ที่เป็นช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับนายแอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ส่งสัญญาณว่า BoE มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรับมือกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0.15% ในเดือนพ.ย. และ 0.25% ในเดือน ธ.ค. รวมทั้งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปี 2565 ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายพุ่งแตะระดับ 1.25%
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อสำหรับปีงบการเงินที่สิ้นสุดในเดือน มี.ค. และยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษต่อไป ทั้งนี้ BOJ ประกาศคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ -0.1% และคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ระดับราว 0% เพื่อรักษาต้นทุนการกู้ยืมไว้ที่ระดับต่ำสำหรับบริษัทและภาคครัวเรือน
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% นอกจากนี้ ECB ระบุว่าทางธนาคารจะยังคงซื้อพันธบัตรวงเงิน 2 หมื่นล้านยูโร/เดือนภายใต้โครงการ Asset Purchase Programme (APP) และซื้อพันธบัตรในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) จนถึงเดือนมี.ค.2565 วงเงินรวม 1.85 ล้านล้านยูโร
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กองทุนบัวหลวงคาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันต่อไปอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวขึ้นจากแนวโน้มปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยที่เพิ่มขึ้น และท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มีโอกาสจะประกาศลดวงเงิน QE(QE Tapering) ในการประชุม Fed วันที่ 3 พ.ย. 2564 ซึ่งปัจจุบัน Fed ทำ QE วงเงินรวม 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน แบ่งเป็นการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯวงเงิน 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) วงเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าจับตามองคือ การประชุมกนง. ในวันที่ 10 พ.ย. 2564