ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรปที่สามารถปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงปลายเดือน ทำให้โดยรวมแล้วตลาดปรับลดลง 2.5% จากปัจจัยกดดันจากไวรัสกลายพันธุ์ Omicron ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดเป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล โดยคาดว่าจะสามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าและยังหลบภูมิคุ้มกันได้ด้วย
ปัจจัยดังกล่าวสร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการกลับมาใช้มาตรการการเดินทางที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงซ้ำเติมปัญหาซัพพลายเชนที่มีอยู่ให้ยืดยาวออกไปอีก ทั้งด้านโลจิสติกส์และแรงงาน ส่งผลให้ประเด็นเงินเฟ้อนั้นอาจจะคลี่คลายช้ากว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสกลายพันธุ์ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มาก และถึงแม้วัคซีนที่ใช้กันในปัจจุบันมีประสิทธิภาพต่อต้านไวรัส Omicron ได้ลดลง บริษัทยาที่ใช้เทคโนโลยี mRNA คาดว่า การคิดค้นและแจกจ่ายวัคซีนรุ่นใหม่จะใช้เวลาภายในไตรมาส 1 ของปีหน้า ซึ่งทำให้ความหวังในการรับมือกับไวรัสนี้ยังคงมีอยู่ และด้วยความที่ประเด็นความกังวลในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เชื่อว่า ความเสี่ยงด้านลบของตลาดหุ้นจะมีอยู่จำกัด
ขณะที่ในเดือนธันวาคมนี้จะมีการประชุมนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งตลาดคาดการณ์ถึงแผนการเริ่มลดขนาด QE เป็นอีกปัจจัยที่ตลาดรอดูความชัดเจนของการลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่าการฟื้นตัวจากแรงส่งจากภาคการผลิตในสหรัฐฯและยูโรโซนจะเริ่มชะลอตัวลง แต่การผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นนั้น ส่งผลให้ดัชนีภาคการบริการฟื้นตัวกลับขึ้นมาเป็นลำดับ รวมถึงแรงส่งจากหลายประเทศในวงกว้างช่วยเป็นแรงหนุนต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมได้ ดังนั้น Fed ยังคงเดินหน้าลดความผ่อนคลายทางการเงินต่อไป
และถึงแม้จะมีการระบาดของไวรัส COVID มากขึ้นเมื่อมีการเปิดเมือง แต่เชื่อว่า การที่ประเทศต่างๆ จะกลับไปใช้นโยบายล็อคดาวน์เต็มรูปแบบอย่างที่เคยทำ น่าจะมีไม่มาก หรือมีเพียงช่วงสั้นๆ โดยเพื่อควบคุมให้จำนวนผู้ป่วยยังอยู่ภายใต้ขีดจำกัดในการรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่ใช่การล็อคดาวน์นานเพื่อให้ไวรัสหายไป ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงน่าจะมีค่อนข้างจำกัด
ด้านผลประกอบการไตรมาสสามที่ผ่านมาของสหรัฐฯ บริษัทส่วนใหญ่ยังคงรักษาอัตราการทำกำไรที่ดีกว่าคาด ท่ามกลางความกังวลต่อผลกระทบจากเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สะท้อนถึงความต้องการสินค้าที่ยังมีอยู่สูงทำให้บริษัทสามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังลูกค้าได้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน โดยเริ่มปรับตัวลงในช่วงปลายเดือนจากประเด็นไวรัสกลายพันธุ์ ทำให้ดัชนีปิดลดลง 3.4% ในเดือนพฤศจิกายน โดยในช่วงที่ผ่านมา กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆเริ่มฟื้นคืนกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น จากการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลบวกต่อแนวโน้มของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในระยะข้างหน้า
ทั้งนี้ประเทศยังไม่พบไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ดังกล่าว แต่ก็อยู่ในโหมดเฝ้าระวังและรัดกุมต่อผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยที่ประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.6 หมื่นล้านบาท
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ ถ้าหากไม่ต้องเผชิญการใช้มาตรการที่เข้มงวดอีกครั้ง โดยการเปิดประประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวจะเข้ามาในประเทศ จะมีบทบาทอย่างมากต่อประมาณการการฟื้นตัวของ GDP ไทยในปีหน้า กลยุทธ์การลงทุน จะเน้นการทยอยเพิ่มน้ำหนัก กับธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งราคาหุ้นเหล่านี้ส่วนมากปรับตัวลดลงตามความกังวลของไวรัสตัวใหม่ ทั้งนี้ จะพิจารณาควบคู่ไปกับข้อมูลของไวรัสสายพันธ์นี้ที่จะมีออกมามากขึ้น
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรปที่สามารถปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงปลายเดือน ทำให้โดยรวมแล้วตลาดปรับลดลง 2.5% จากปัจจัยกดดันจากไวรัสกลายพันธุ์ Omicron ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดเป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล โดยคาดว่าจะสามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าและยังหลบภูมิคุ้มกันได้ด้วย
ปัจจัยดังกล่าวสร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการกลับมาใช้มาตรการการเดินทางที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงซ้ำเติมปัญหาซัพพลายเชนที่มีอยู่ให้ยืดยาวออกไปอีก ทั้งด้านโลจิสติกส์และแรงงาน ส่งผลให้ประเด็นเงินเฟ้อนั้นอาจจะคลี่คลายช้ากว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสกลายพันธุ์ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มาก และถึงแม้วัคซีนที่ใช้กันในปัจจุบันมีประสิทธิภาพต่อต้านไวรัส Omicron ได้ลดลง บริษัทยาที่ใช้เทคโนโลยี mRNA คาดว่า การคิดค้นและแจกจ่ายวัคซีนรุ่นใหม่จะใช้เวลาภายในไตรมาส 1 ของปีหน้า ซึ่งทำให้ความหวังในการรับมือกับไวรัสนี้ยังคงมีอยู่ และด้วยความที่ประเด็นความกังวลในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เชื่อว่า ความเสี่ยงด้านลบของตลาดหุ้นจะมีอยู่จำกัด
ขณะที่ในเดือนธันวาคมนี้จะมีการประชุมนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งตลาดคาดการณ์ถึงแผนการเริ่มลดขนาด QE เป็นอีกปัจจัยที่ตลาดรอดูความชัดเจนของการลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่าการฟื้นตัวจากแรงส่งจากภาคการผลิตในสหรัฐฯและยูโรโซนจะเริ่มชะลอตัวลง แต่การผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นนั้น ส่งผลให้ดัชนีภาคการบริการฟื้นตัวกลับขึ้นมาเป็นลำดับ รวมถึงแรงส่งจากหลายประเทศในวงกว้างช่วยเป็นแรงหนุนต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมได้ ดังนั้น Fed ยังคงเดินหน้าลดความผ่อนคลายทางการเงินต่อไป
และถึงแม้จะมีการระบาดของไวรัส COVID มากขึ้นเมื่อมีการเปิดเมือง แต่เชื่อว่า การที่ประเทศต่างๆ จะกลับไปใช้นโยบายล็อคดาวน์เต็มรูปแบบอย่างที่เคยทำ น่าจะมีไม่มาก หรือมีเพียงช่วงสั้นๆ โดยเพื่อควบคุมให้จำนวนผู้ป่วยยังอยู่ภายใต้ขีดจำกัดในการรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่ใช่การล็อคดาวน์นานเพื่อให้ไวรัสหายไป ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงน่าจะมีค่อนข้างจำกัด
ด้านผลประกอบการไตรมาสสามที่ผ่านมาของสหรัฐฯ บริษัทส่วนใหญ่ยังคงรักษาอัตราการทำกำไรที่ดีกว่าคาด ท่ามกลางความกังวลต่อผลกระทบจากเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สะท้อนถึงความต้องการสินค้าที่ยังมีอยู่สูงทำให้บริษัทสามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังลูกค้าได้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน โดยเริ่มปรับตัวลงในช่วงปลายเดือนจากประเด็นไวรัสกลายพันธุ์ ทำให้ดัชนีปิดลดลง 3.4% ในเดือนพฤศจิกายน โดยในช่วงที่ผ่านมา กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆเริ่มฟื้นคืนกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น จากการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลบวกต่อแนวโน้มของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในระยะข้างหน้า
ทั้งนี้ประเทศยังไม่พบไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ดังกล่าว แต่ก็อยู่ในโหมดเฝ้าระวังและรัดกุมต่อผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยที่ประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.6 หมื่นล้านบาท
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ ถ้าหากไม่ต้องเผชิญการใช้มาตรการที่เข้มงวดอีกครั้ง โดยการเปิดประประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวจะเข้ามาในประเทศ จะมีบทบาทอย่างมากต่อประมาณการการฟื้นตัวของ GDP ไทยในปีหน้า กลยุทธ์การลงทุน จะเน้นการทยอยเพิ่มน้ำหนัก กับธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งราคาหุ้นเหล่านี้ส่วนมากปรับตัวลดลงตามความกังวลของไวรัสตัวใหม่ ทั้งนี้ จะพิจารณาควบคู่ไปกับข้อมูลของไวรัสสายพันธ์นี้ที่จะมีออกมามากขึ้น