อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ย. ปรับตัวลดลงแทบทุกช่วงอายุเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -1 ถึง 0 bps อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2-20 ปี ปรับลดลง 1 ถึง 22 bps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 20 ปีขึ้นไปเปลี่ยนแปลงในช่วง -3 ถึง +4 bps โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากกระแสเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติ โดยนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. ส่งผลให้ยอดการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ในช่วงกลางเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลไทยมีปัจจัยกดดันจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในวันที่ 2-3 พ.ย. ที่เฟดประกาศลดวงเงิน QE ด้วยการลดวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และวงเงินการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ลงเดือนละ 10,000 และ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับเริ่มตั้งแต่เดือนพ.ย.เป็นต้นไป และปัจจัยกดดันภายในประเทศจากการขยายกรอบเพดานการใช้เงินตามมาตรา 28 ภายใต้ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐบาลไทยจากไม่เกิน 30% เป็นไม่เกิน 35% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งจะทำให้การก่อหนี้ตามมาตรา 28 เพิ่มได้อีก 155,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามในช่วงปลายเดือนพ.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงอีกครั้งจากความกังวลเรื่องไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่าไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ B.1.1.529 (โอไมครอน) ที่เพิ่งค้นพบในแอฟริกาใต้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล
ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่่าสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 แต่แนวโน้มการฟื้นตัวยังเปราะบางและมีความไม่แน่นอน
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.1% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ดี BoE ระบุในแถลงการณ์ว่า BoE อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย “ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า” หากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวขึ้นตามที่ BoE คาดการณ์
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นถึงระยะกลางจะยังทรงตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากแผนการออกตราสารหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำหรับปีงบประมาณ 2565 ที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีขึ้นไปที่จะมีปริมาณมากขึ้น รวมทั้งยังต้องติดตามแผนการออกพันธบัตรรัฐบาลของสบน. ว่า จะมีการปรับเปลี่ยนจากแผนเดิมที่ประกาศไว้ในเดือนต.ค.หรือไม่ ทั้งนี้ในเดือนธ.ค. มีปัจจัยที่น่าจับตามองไม่ว่าจะเป็นการประชุมเฟดวันที่ 14-15 ธ.ค., การประชุมกนง. วันที่ 22 ธ.ค., การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วันที่ 16-17 ธ.ค., การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วันที่ 16 ธ.ค. และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ย. ปรับตัวลดลงแทบทุกช่วงอายุเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี เปลี่ยนแปลงในช่วง -1 ถึง 0 bps อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2-20 ปี ปรับลดลง 1 ถึง 22 bps และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 20 ปีขึ้นไปเปลี่ยนแปลงในช่วง -3 ถึง +4 bps โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากกระแสเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติ โดยนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. ส่งผลให้ยอดการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ในช่วงกลางเดือน พ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลไทยมีปัจจัยกดดันจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ในวันที่ 2-3 พ.ย. ที่เฟดประกาศลดวงเงิน QE ด้วยการลดวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และวงเงินการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ลงเดือนละ 10,000 และ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับเริ่มตั้งแต่เดือนพ.ย.เป็นต้นไป และปัจจัยกดดันภายในประเทศจากการขยายกรอบเพดานการใช้เงินตามมาตรา 28 ภายใต้ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐบาลไทยจากไม่เกิน 30% เป็นไม่เกิน 35% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งจะทำให้การก่อหนี้ตามมาตรา 28 เพิ่มได้อีก 155,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามในช่วงปลายเดือนพ.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงอีกครั้งจากความกังวลเรื่องไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่าไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ B.1.1.529 (โอไมครอน) ที่เพิ่งค้นพบในแอฟริกาใต้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล
ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่่าสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 แต่แนวโน้มการฟื้นตัวยังเปราะบางและมีความไม่แน่นอน
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.1% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ อย่างไรก็ดี BoE ระบุในแถลงการณ์ว่า BoE อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย “ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า” หากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวขึ้นตามที่ BoE คาดการณ์
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นถึงระยะกลางจะยังทรงตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากแผนการออกตราสารหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำหรับปีงบประมาณ 2565 ที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีขึ้นไปที่จะมีปริมาณมากขึ้น รวมทั้งยังต้องติดตามแผนการออกพันธบัตรรัฐบาลของสบน. ว่า จะมีการปรับเปลี่ยนจากแผนเดิมที่ประกาศไว้ในเดือนต.ค.หรือไม่ ทั้งนี้ในเดือนธ.ค. มีปัจจัยที่น่าจับตามองไม่ว่าจะเป็นการประชุมเฟดวันที่ 14-15 ธ.ค., การประชุมกนง. วันที่ 22 ธ.ค., การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วันที่ 16-17 ธ.ค., การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วันที่ 16 ธ.ค. และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน