ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนในระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ก่อนที่จะกลับมายืนบริเวณจุดสูงสุดได้ในช่วงท้ายของเดือน ปิดปรับเพิ่มขึ้น 3.9% โดยตลาดได้เผชิญกับปัจจัยกดดันจากไวรัสสายพันธุ์ Omicron ซึ่งมีอัตราการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม ส่งผลต่อการระมัดระวังต่อการใช้ชีวิตและการเดินทางที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาความรุนแรงของอาการจากสายพันธุ์ Omicron ถือว่าไม่มาก ทำให้ภาครัฐยังไม่ต้องใช้มาตรการเข้มงวดมากขึ้นในการควบคุมโรค ทำให้ความเสี่ยงต่อการชะงักตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ มีไม่มาก
ขณะที่ประเด็นนโยบายการเงินของ Fed ที่ประชุมกันในช่วงกลางเดือนที่ผ่านมานั้น Fed ได้ส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่เริ่มกลับมาเข้มงวด ผ่านการทำ QE Taper และ Dot Plot ที่ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2022 นี้
ทั้งนี้ผลการประชุมและมุมมองของ Fed เป็นไปในกรอบที่ตลาดคาดการณ์ จากการที่ Fed มีการสื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ไม่ได้ปรับตัวมากนัก ขณะที่ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นได้ หลังจากได้รับความชัดเจนด้านนโยบายการเงิน
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า ตลาดการเงินมีแนวโน้มได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านสภาพคล่องลดลง โดยปัจจัยจากผลประกอบการและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมีบทบาทมากขึ้นต่อการปรับตัวของดัชนี ซึ่งมีโอกาสแตกต่างกันในรายอุตสาหกรรมและรายประเทศมากขึ้นในปี 2564
ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นในปี 2564 ได้รับแรงหนุนจากเม็ดเงินการคลังขนาดใหญ่ซึ่งผลักดันภาคการบริโภคในประเทศ ในปี 2565 ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย โดยยังได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่
ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเช่นเดียวกัน โดยช่วงที่ผ่านมา การเปิดเมืองและการเดินทางที่มากขึ้น ส่งผลให้ PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดจะเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้ประเทศต่างๆไม่จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น
ด้านเศรษฐกิจจีน ตลาดคาดกาณ์ว่าจะยังคงได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการบริโภคในประเทศยังชะลอตัว รวมถึงความเสี่ยงจากภาคอสังหาฯ แต่สัญญาณจากนโยบายทางการเงินและการคลังมีท่าทีผ่อนคลายมากขึ้น
โดยภาพแล้ว ในปี 2022 แรงขับเคลื่อนจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจในภาพกว้างจะไม่โดดเด่นเหมือนปีที่ผ่านมา และตลาดหุ้นโดยรวมนั้นถูกคาดหวังการฟื้นตัวจากการเปิดเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติไปพอสมควรแล้ว ปัจจัยพื้นฐานรายบริษัทของหุ้นจึงน่าจะมีส่วนสำคัญมากขึ้นต่อการสร้างผลตอบแทนในปีนี้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 5.7% ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นโลกเล็กน้อย โดยเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในภาพของการฟื้นตัวต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น โดยแม้ว่าจะเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แต่ก็คาดว่าผลกระทบต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจน่าจะไม่มาก และผลประกอบการในหลายอุตสาหกรรมจึงยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อในปีนี้ ในเดือนธันวาคม นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยที่ 2.3 หมื่นล้านบาท
กลยุทธ์การลงทุนในระยะข้างหน้า เลือกลงทุนในธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ ที่ยังพอมี Valuation ที่ไม่สูงเกินไป
Fund Comment
Fund Comment ธันวาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนในระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ก่อนที่จะกลับมายืนบริเวณจุดสูงสุดได้ในช่วงท้ายของเดือน ปิดปรับเพิ่มขึ้น 3.9% โดยตลาดได้เผชิญกับปัจจัยกดดันจากไวรัสสายพันธุ์ Omicron ซึ่งมีอัตราการแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม ส่งผลต่อการระมัดระวังต่อการใช้ชีวิตและการเดินทางที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาความรุนแรงของอาการจากสายพันธุ์ Omicron ถือว่าไม่มาก ทำให้ภาครัฐยังไม่ต้องใช้มาตรการเข้มงวดมากขึ้นในการควบคุมโรค ทำให้ความเสี่ยงต่อการชะงักตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ มีไม่มาก
ขณะที่ประเด็นนโยบายการเงินของ Fed ที่ประชุมกันในช่วงกลางเดือนที่ผ่านมานั้น Fed ได้ส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่เริ่มกลับมาเข้มงวด ผ่านการทำ QE Taper และ Dot Plot ที่ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2022 นี้
ทั้งนี้ผลการประชุมและมุมมองของ Fed เป็นไปในกรอบที่ตลาดคาดการณ์ จากการที่ Fed มีการสื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ไม่ได้ปรับตัวมากนัก ขณะที่ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นได้ หลังจากได้รับความชัดเจนด้านนโยบายการเงิน
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า ตลาดการเงินมีแนวโน้มได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านสภาพคล่องลดลง โดยปัจจัยจากผลประกอบการและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมีบทบาทมากขึ้นต่อการปรับตัวของดัชนี ซึ่งมีโอกาสแตกต่างกันในรายอุตสาหกรรมและรายประเทศมากขึ้นในปี 2564
ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นในปี 2564 ได้รับแรงหนุนจากเม็ดเงินการคลังขนาดใหญ่ซึ่งผลักดันภาคการบริโภคในประเทศ ในปี 2565 ตลาดคาดการณ์ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย โดยยังได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่
ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเช่นเดียวกัน โดยช่วงที่ผ่านมา การเปิดเมืองและการเดินทางที่มากขึ้น ส่งผลให้ PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดจะเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้ประเทศต่างๆไม่จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น
ด้านเศรษฐกิจจีน ตลาดคาดกาณ์ว่าจะยังคงได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการบริโภคในประเทศยังชะลอตัว รวมถึงความเสี่ยงจากภาคอสังหาฯ แต่สัญญาณจากนโยบายทางการเงินและการคลังมีท่าทีผ่อนคลายมากขึ้น
โดยภาพแล้ว ในปี 2022 แรงขับเคลื่อนจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจในภาพกว้างจะไม่โดดเด่นเหมือนปีที่ผ่านมา และตลาดหุ้นโดยรวมนั้นถูกคาดหวังการฟื้นตัวจากการเปิดเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติไปพอสมควรแล้ว ปัจจัยพื้นฐานรายบริษัทของหุ้นจึงน่าจะมีส่วนสำคัญมากขึ้นต่อการสร้างผลตอบแทนในปีนี้
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 5.7% ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นโลกเล็กน้อย โดยเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในภาพของการฟื้นตัวต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น โดยแม้ว่าจะเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แต่ก็คาดว่าผลกระทบต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจน่าจะไม่มาก และผลประกอบการในหลายอุตสาหกรรมจึงยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อในปีนี้ ในเดือนธันวาคม นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยที่ 2.3 หมื่นล้านบาท
กลยุทธ์การลงทุนในระยะข้างหน้า เลือกลงทุนในธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ ที่ยังพอมี Valuation ที่ไม่สูงเกินไป