ตราสารหนี้
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น จากการที่เงินเฟ้อขยายตัวเกินเป้าหมาย 2% โดยการเข้าซื้อสินทรัพย์จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม และมีโอกาสในการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในระยะอันใกล้นี้
- เศรษฐกิจไทยเผชิญความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน ปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินปี 2022 ได้แก่ ผลกระทบจากโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ และ การดำเนินนโยบายของ Fed
- ผู้จัดการกองทุนมีกลยุทธ์สำหรับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเป็น Slightly Underweight Duration สำหรับหุ้นกู้เอกชน เน้นการลงทุนในหุ้นกู้ของกิจการที่มีกระแสเงินสด สภาพคล่องที่ดี ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ต่ำ และโอกาสถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือน้อย
ตราสารทุน
- ตลาดหุ้นโลกผันผวนมากขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นของปี 2022 ก่อนการประชุม Fed ในช่วงปลายเดือน และปิดเดือนมกราคม ด้วยการปรับตัวลดลง 0% โดยนักลงทุนมีความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งเป็นไปในทางที่เข้มงวดมากขึ้น โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมเดือนมีนาคม พร้อมยุติมาตรการการผ่อนคลายทางการเงิน QE ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดได้เริ่มคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า แต่ยังมีความไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ท่าทีของ Fed และตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าจะยังคงเป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญ
- ตลาดหุ้นไทย ปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าตลาดหุ้นโลก ปรับตัวลดลงเพียง 0.5% ในเดือนมกราคม โดยปรับขึ้นในช่วงต้นเดือนแตะระดับ 1,680 สูงสุดในรอบ 28 เดือน ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งเดือนหลัง กดดันจากปัจจัยภายนอกที่กล่าวไปข้างต้น โดยปัจจัยในประเทศ เศรษฐกิจได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และการกลับมาผ่อนคลายมาตรการที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวในระยะข้างหน้า เป็นความหวังของการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ทำให้หุ้นไทยสามารถปรับตัวได้แข็งแกร่งกว่าดัชนีหุ้นโลก โดยนักลงทุนต่างชาติได้ซื้อสุทธิหุ้นไทยในเดือนมกราคม ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม หุ้นที่หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้น เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ รวมทั้งหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีจำนวนไม่มาก ขณะที่หุ้นขนาดกลางถึงเล็กในตลาด มีความร้อนแรงลดลงจากปีที่แล้วไปมาก เนื่องด้วยระดับ Valuation ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ดังนั้น การเปิดประเทศและการฟื้นคืนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ จึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในระยะข้างหน้า
พอร์ตการลงทุนไตรมาสที่ผ่านมา
- B-FLEX : กองทุนลดน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรระยะปานกลางถึงยาว ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ลดลงเป็น 1.21 ปี และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้น โดยเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มสื่อสารเทคโนโลยี พาณิชย์ และมีเดีย ในขณะที่ลดน้ำหนักหุ้นกลุ่มอาหารและวัสดุอุตสาหกรรม
- B-ACTIVE : ในไตรมาส 4 กองทุนได้ลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 76.3% ณ สิ้นเดือนธันวาคม ส่วนที่เหลือลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น โดยลงทุนในหุ้นกลุ่มสื่อสาร อิเล็คทรอนิกส์ พาณิชย์ มีเดีย และอาหาร
- B25RMF กองทุนลดน้ำหนักพันธบัตรระยะปานกลางถึงยาว โดยเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรระยะสั้น หุ้นกู้ และเงินฝากส่งผลให้อายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ลดลง ในส่วนของหุ้น กองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้นกลุ่มธนาคาร ไฟแนนซ์ และ มีเดีย โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่ม พลังงาน พาณิชย์ อิเล็คทรอนิกส์ และขนส่ง
- BFLRMF กองทุนลดน้ำหนักพันธบัตรระยะปานกลาง โดยเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรระยะสั้นและหุ้นกู้ ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ลดลงเล็กน้อย ในส่วนของหุ้น กองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้นกลุ่มธนาคาร พลังงาน มีเดีย ไฟแนนซ์ และอิเล็คโทรนิกส์ โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่มพาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง อาหาร และขนส่ง
Disclaimer: เอกสารนี้จัดทาเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต