ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี โดยในเดือนกุมภาพันธ์ MSCI World Index ปรับตัวลดลงอีก 2.7% โดยหลักเป็นการปรับตัวลงในตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 ที่ -6.0% และสหรัฐฯ S&P500 ที่ -3.1% ขณะที่ตลาดหุ้นจีน SSEC ปรับเพิ่มขึ้นได้ +3.0% และตลาดในกลุ่มอาเซียนทรงตัว
ปัจจัยที่กระทบกับบรรยากาศการลงทุนในเดือนนี้นั้น มาจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะ สินทรัพย์ดิจิทัล ทองคำ และน้ำมัน ขณะที่ตลาดหุ้นนั้น ถือเป็นการเพิ่มปัจจัยกดดันการลงทุน เพิ่มเติมจากความกังวลที่มีก่อนหน้าในเรื่องนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ Fed
ทั้งนี้ Fed ถูกคาดการณ์ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 6 ครั้งในปีนี้ จากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ดังนั้น ปัจจัยจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเร็วในช่วงหลัง และสินค้า Commodity หลายรายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของรัสเซีย จึงอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อคาดการณ์เงินเฟ้อและท่าทีของ Fed ในระยะข้างหน้า โดยสถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าวและ FOMC meeting ในวันที่ 15-16 มีนาคม จะเป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญสูงในช่วงนี้
ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้ผ่านจุดสูงสุดครั้งใหม่ไปแล้วและเริ่มมีแนวโน้มลดลง ทำให้ท่าทีของรัฐบาลหลายประเทศนั้นเป็นไปในทิศทางที่เดือนหน้าเปิดเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตร่วมกับ COVID-19 ขณะที่จีนยังคงมาตรการ zero-COVID อยู่ แต่เริ่มพิจารณาแนวทางในการผ่อนคลายบ้างแล้ว ส่วนประเทศไทย ด้วยอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากการกระจายวัคซีนที่ทั่วถึงมากขึ้น ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติเป็นลำดับ
ด้านความเสี่ยงของสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนนั้น จากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในรายประเทศและภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ จากเดิมที่เศรษฐกิจโลกถูกคาดหมายว่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากปีที่แล้ว โดยของ IMF อยู่ที่ 4.4% แต่สถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าว อาจทำให้อัตราการเติบโตชะลอลงมากกว่าที่คาด
ด้านตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวได้แข็งแกร่งสวนทางตลาดหุ้นโลก โดยปรับขึ้นได้ 2.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ จากปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น นโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยว และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการความคาดหวังการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ท่องเที่ยว และพลังงาน ซึ่งเป็นหุ้นที่มีน้ำหนักสัดส่วนสูงในดัชนี และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นได้ดี ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก โรงพยาบาล สื่อสาร เป็นต้น ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นต่อเป็นเดือนที่ 3 ที่ 6.3 หมื่นล้านบาท
ด้านการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 4 นั้น โดยภาพรวมใกล้เคียงถึงดีกว่าที่ตลาดคาด เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ GDP ไตรมาสสี่ที่ฟื้นตัวดี
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า เนื่องด้วยการปรับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ระดับ Valuation ของตลาดมีความตึงตัวมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยความเสี่ยงภายนอก ยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อตลาด แต่คาดว่าผลกระทบในเชิงลบโดยตรงต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทยจะมีไม่มาก
Fund Comment
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2565 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี โดยในเดือนกุมภาพันธ์ MSCI World Index ปรับตัวลดลงอีก 2.7% โดยหลักเป็นการปรับตัวลงในตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 ที่ -6.0% และสหรัฐฯ S&P500 ที่ -3.1% ขณะที่ตลาดหุ้นจีน SSEC ปรับเพิ่มขึ้นได้ +3.0% และตลาดในกลุ่มอาเซียนทรงตัว
ปัจจัยที่กระทบกับบรรยากาศการลงทุนในเดือนนี้นั้น มาจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะ สินทรัพย์ดิจิทัล ทองคำ และน้ำมัน ขณะที่ตลาดหุ้นนั้น ถือเป็นการเพิ่มปัจจัยกดดันการลงทุน เพิ่มเติมจากความกังวลที่มีก่อนหน้าในเรื่องนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ Fed
ทั้งนี้ Fed ถูกคาดการณ์ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 6 ครั้งในปีนี้ จากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ดังนั้น ปัจจัยจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเร็วในช่วงหลัง และสินค้า Commodity หลายรายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของรัสเซีย จึงอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อคาดการณ์เงินเฟ้อและท่าทีของ Fed ในระยะข้างหน้า โดยสถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าวและ FOMC meeting ในวันที่ 15-16 มีนาคม จะเป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญสูงในช่วงนี้
ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น สถานการณ์การแพร่ระบาดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้ผ่านจุดสูงสุดครั้งใหม่ไปแล้วและเริ่มมีแนวโน้มลดลง ทำให้ท่าทีของรัฐบาลหลายประเทศนั้นเป็นไปในทิศทางที่เดือนหน้าเปิดเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตร่วมกับ COVID-19 ขณะที่จีนยังคงมาตรการ zero-COVID อยู่ แต่เริ่มพิจารณาแนวทางในการผ่อนคลายบ้างแล้ว ส่วนประเทศไทย ด้วยอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากการกระจายวัคซีนที่ทั่วถึงมากขึ้น ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติเป็นลำดับ
ด้านความเสี่ยงของสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนนั้น จากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในรายประเทศและภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ จากเดิมที่เศรษฐกิจโลกถูกคาดหมายว่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากปีที่แล้ว โดยของ IMF อยู่ที่ 4.4% แต่สถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าว อาจทำให้อัตราการเติบโตชะลอลงมากกว่าที่คาด
ด้านตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวได้แข็งแกร่งสวนทางตลาดหุ้นโลก โดยปรับขึ้นได้ 2.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ จากปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น นโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยว และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการความคาดหวังการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ท่องเที่ยว และพลังงาน ซึ่งเป็นหุ้นที่มีน้ำหนักสัดส่วนสูงในดัชนี และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวขึ้นได้ดี ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก โรงพยาบาล สื่อสาร เป็นต้น ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นต่อเป็นเดือนที่ 3 ที่ 6.3 หมื่นล้านบาท
ด้านการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 4 นั้น โดยภาพรวมใกล้เคียงถึงดีกว่าที่ตลาดคาด เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ GDP ไตรมาสสี่ที่ฟื้นตัวดี
แนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้า เนื่องด้วยการปรับตัวขึ้นของดัชนีหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ระดับ Valuation ของตลาดมีความตึงตัวมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยความเสี่ยงภายนอก ยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อตลาด แต่คาดว่าผลกระทบในเชิงลบโดยตรงต่อผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทยจะมีไม่มาก