Economic Research
รัฐบาลจีนส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงรุกที่ 5.5% หวังเรียกความเชื่อมั่นท่ามกลางความตึงเครียดในประเทศที่เพิ่มขึ้นและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก
โดยที่ทางการจีนมีแผนที่จะ 1) จัดตั้งกองทุนเสถียรภาพทางการเงินและ 2) กำหนดมาตรการสร้างเสถียรภาพด้านราคาที่อยู่อาศัยสะท้อนความพยายามในการป้องกันความเสี่ยงของระบบหรือที่เรียกว่า Systemic Risks
ในการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของจีนได้แถลงต่อหน้าสภาประชาชนของจีนว่า “จากการประเมินสถานการณ์อย่างครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ พบว่าความเสี่ยงและความท้าทายต่อการพัฒนาของประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญในปีนี้ ซึ่งเมื่อสถานการณ์มีความยากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องมั่นใจมากขึ้นเท่านั้น”
และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ งบประมาณคลังของจีนในปีงบประมาณนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.4% โดยจะเพิ่มงบประมาณฝั่งกลาโหมจากปีก่อน 7.1%
สำหรับเป้าหมายเศรษฐกิจสำคัญดังแสดงด้านล่าง
สำหรับประเด็นอื่นที่ได้มีการกล่าวถึงในการประชุมดังแสดงด้านล่าง
ความเสี่ยงด้านการเงิน
- บริหารจัดการความเสี่ยงของหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น
- บริหารจัดการสถาบันการเงินท้องถิ่นที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเหมาะสม และลดความเสี่ยงจากตลาดตราสารหนี้
- ใช้นโยบายและมาตรการทางการเงินเพื่อลด Spillover Effect ต่อระบบเศรษฐกิจ
- บริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหา
อุตสาหกรรม
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้แน่ใจว่าอุปทานของวัตถุดิบและชิ้นส่วนการผลิตสำคัญจะไม่ขาดแคลน
- บริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมให้สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อระยะกลางและระยะยาว
- จัดตั้งโครงการสนับสนุนการพัฒนายานพาหนะพลังงานไฟฟ้า(EV Car) แบรนด์จีน
- กระตุ้นแรงจูงใจในการซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในต่างจังหวัดและส่งเสริมการก่อสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกหรือ Facilities อื่นๆ เช่น ที่จอดรถ และ สถานีชาร์จแบตเตอรี่
- ส่งเสริม Venture Capital
Technology และ Cyberspace
- เร่งรัดพัฒนาอินเทอร์เน็ตเพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Internet) และอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น ICs และปัญญาประดิษฐ์
- เพิ่มนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและความสามารถในการจัดหา Software และ Hardware ที่สำคัญ
- พัฒนาเกณฑ์การบริหารจัดการเนื้อหาออนไลน์ (Online Content) และปรับปรุงเกณฑ์การกำกับดูแล Cyberspace
พลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์
- มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือ Carbon Neutrality
- ผลักดันโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
- พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อย่างรัดกุมและปลอดภัย
- ปฏิรูปกลไกการกำหนดราคาสำหรับพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์
- เพิ่มการผลิตถั่วเหลืองและพืชเมล็ดน้ำมันอื่น ๆ
ไต้หวัน
- ยึดมั่นในหลักการและนโยบายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับไต้หวัน
- ยึดมั่นในหลักการจีนหนึ่งเดียว หรือ One-China Principle และฉันทามติปี 1992
- พัฒนาความสัมพันธ์อย่างสันติทั่วช่องแคบไต้หวันและเพื่อการรวมตัวกันของจีน
- ต่อต้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองใดที่นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนที่แสวงหา “เอกราชให้กับไต้หวัน” และการแทรกแซงจากต่างประเทศ
ที่มา: รวบรวมโดย Economic Research Team ของ BBLAM