ราคาน้ำมันร่วงลง การเดินทางหยุดชะงัก และอัตราการว่างงานสูงขึ้น เกิดในช่วงที่ไวรัสโคโรนาเข้ามากระทบในช่วงต้นปี 2020
แต่ตอนนี้เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวแล้ว จากตลาดหุ้นที่เด้งกลับขึ้นมา และผ่านระดับที่เคยทำไว้ในปี 2019 อย่างรวดเร็ว ขณะที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว โดยมีความรวดเร็วแตกต่างกันไปในหลายภูมิภาคและอุตสาหกรรม และ 2 ปีหลังจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โควิดเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ ก็พบว่ามี 5 ข้อมูลที่สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
อันดับแรกคือ ความต้องการน้ำมัน โดยความต้องการน้ำมันโลกยืนอยู่แถวๆ 100.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2019 และจะไม่ได้ฟื้นตัวกลับมาเต็มที่จนถึงตอนนี้ แต่หลังจากรัสเซียและยูเครนทำสงครามกัน น้ำมันดิบรัสเซียถูกคว่ำบาตรโดยสหรัฐฯ และอังกฤษ ตลาดน้ำมันก็วุ่นวายอีกครั้ง โดยราคาน้ำมันพุ่งขึ้นต่อเนื่อง และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกตามความต้องการ
สัญญาณต่อมาคือ จำนวนผู้โดยสารทางอากาศ เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนักในช่วงการแพร่ระบาด จากการที่หลายประเทศปิดพรมแดน และขอให้ประชาชนอยู่ที่บ้านมากที่สุดเท่าที่ทำได้ ทำให้ยอดบรรทุกผู้โดยสารบนเครื่องบินลดลง ก่อนจะฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ก็ยังห่างไกลจากค่าเฉลี่ยในปี 2019 อยู่ ตามข้อมูลของ OAGอผู้ให้บริการข้อมูลการเดินทางโลก
ขณะที่ตัวเลขอัปเดตล่าสุด อัตราที่นั่งโดยสารบนเครื่องบินทั่วโลกรายสัปดาห์ ณ 7 มีนาคม 2022 คาดว่าจะอยู๋ที่ 82 ล้านที่นั่ง ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2019 ถึง 23% โดยการกำลังการบินคาดว่าจะกลับมาอยู่ในระดับ 100 ล้านที่นั่งต่อสัปดาห์ได้ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม นี้
ตัวเลขถัดไปที่สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคือ อัตราการว่างงาน ซึ่งตั้งแต่ล็อคดาวน์มีคนทั่วโลกสูญเสียงานไป อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นเป็น 14.7% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม หากใช้ตัวเลขอ้างอิงเดือนธันวาคม 2019 ของจีน และเยอรมนี จะพบว่า การว่างงานมากขึ้น และลดลงจนมาอยู่ในระดับก่อนโควิดแล้ว ส่วนญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ยังคงรายงานอัตราการว่างงานสูงขึ้นเล็กน้อย
ถัดมาคืออัตราดอกเบี้ย ที่ประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ เกาหลีใต้ ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม นี้ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยนี้ก็ยังห่างไกลจากระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดอยู่ และสุดท้ายตัวเลขหนี้สาธารณะ ที่มาจากรัฐบาลใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อปกป้องเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาด และผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากตัวเลขที่ออกมาของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) พบว่า หนี้สาธารณะต่อเศรษฐกิจของประเทศ ไต่ระดับขึ้นมา และยังคงสูงอยู่เมื่อไปเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด
ที่มา : CNBC