Highlight
- กองทุนได้มีการปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นลง จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและการส่งสัญญานการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และได้ปรับเพิ่มน้ำหนักในตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต
- กองทุน BMAPS ยังคงใช้แนวทางการลงทุนแบบ Barbell โดยเน้นหุ้นคุณค่า (Value) และ หุ้นเติบโต (Growth) ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีรายได้สม่ำเสมอ รวมทั้งหุ้นที่ได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นและหุ้นที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ หลีกเลี่ยงหุ้นเติบโตที่ยังไม่มีกำไรเนื่องจากมูลค่าหุ้นและปัจจัยพื้นฐานไม่สมดุลกัน
- กองทุน BMAPS ทั้ง 3 กองทุน ยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2565 และค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เรียกเก็บซ้ำซ้อน
ภาพรวมตลาด
ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี โดยในเดือนกุมภาพันธ์ MSCI World Index ปรับตัวลดลงอีก 2.7% โดยหลักเป็นการปรับตัวลงในตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 ที่ -6.0% และสหรัฐฯ S&P500 ที่ -3.1% ขณะที่ตลาดหุ้นจีน SSEC ปรับเพิ่มขึ้นได้ +3.0% และตลาดในกลุ่มอาเซียนทรงตัว
ปัจจัยที่กระทบกับบรรยากาศการลงทุนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นั้น มาจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะ สินทรัพย์ดิจิทัล ทองคำ และน้ำมัน
ขณะที่ตลาดหุ้นนั้น ถือเป็นการเพิ่มปัจจัยกดดันการลงทุน เพิ่มเติมจากความกังวลที่มีก่อนหน้าในเรื่องนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ Fed
ทั้งนี้ Fed ถูกคาดการณ์ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 6 ครั้งในปีนี้ จากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ดังนั้น ปัจจัยจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเร็วในช่วงหลัง และสินค้า Commodity หลายรายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของรัสเซีย จึงอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อคาดการณ์เงินเฟ้อและท่าทีของ Fed ในระยะข้างหน้า
พอร์ตการลงทุน
กองทุนได้มีการปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นลง จากปัจจัย ดังนี้
- แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง: รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของ IMF ที่จะปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปี 2021-2022F ลงจาก 5.9% และ 4.9% ตามลำดับ ที่เคยประเมินในเดือนตุลาคม 2021 จากปัญหา Supply disruption ที่ยืดเยื้อหนุนเงินเฟ้อให้ขยายตัวในระดับสูงและกดดันให้ธนาคารกลางหลักในโลก อาทิ Fed และ BoE ทยอยเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายการเงิน รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจจีนที่ส่งสัญญาณชะลอลงต่อเนื่องท่ามกลางการควบคุมภาคอสังหาริมทรัพย์
- Fed ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินที่จะเข้มงวดขึ้นชัดเจน โดยชี้ดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นในการประชุมเดือน มีนาคม ขณะที่การลดขนาดงบดุลจะเริ่มขึ้นหลังได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว
กองทุนปรับเพิ่มตราสารหนี้ภาครัฐไทยระยะสั้น เข้ามาในพอร์ต เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต จากประเด็นรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อราคาน้ำมัน ถ่านหิน และ สินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่รัสเซียที่เป็นผู้ส่งออกหลักของโลก ปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยกดดันภาวะเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อให้เร่งตัว ที่อาจก่อให้ตลาดเกิดความกังวลว่าจะเกิด Stagflation ได้ (ภาวะ Stagflation คือ เศรษฐกิจเติบโตต่ำ และมีเงินเฟ้อสูง)
มุมมองในอนาคต
ความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างประเทศ (geopolitics) มักจะคาดเดาผลได้ยาก โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้เกี่ยวข้องมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ มีผลต่อเศรษฐกิจโลก และพื้นที่พิพาทเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ดังนั้น กองทุนจึงหลีกเลี่ยงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ไปก่อน
กองทุน BMAPS ยังคงใช้แนวทางการลงทุนแบบ Barbell โดยเน้นหุ้นคุณค่า (Value) และ หุ้นเติบโต (Growth) ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีรายได้สม่ำเสมอ รวมทั้งหุ้นที่ได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นและหุ้นที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ หลีกเลี่ยงหุ้นเติบโตที่ยังไม่มีกำไรเนื่องจากมูลค่าหุ้นและปัจจัยพื้นฐานไม่สมดุลกัน
กองทุน BMAPS25 BMAPS55 และ BMAPS100 มีการทำ Asset Allocation ตามการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ซึ่งการทำ Asset Allocation มีความสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงเช่นปีนี้ โดย BMAPS ทั้ง 3 กอง มีความยืดหยุ่นในการลงทุน สามารถลงทุนในประเภทสินทรัพย์หลากหลาย ผู้จัดการกองทุนใช้ความระมัดระวังในการดูจังหวะเพื่อรับผลประโยชน์จากแนวโน้มเชิงบวกของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการแบ่งสัดส่วนตามรายประเทศ
Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต