ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงในเดือนเมษายน จากแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่ยืนระดับสูง และท่าทีรวมถึงคาดกาณ์การดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะที่สงครามยูเครน-รัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ ล้วนเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า โดยในเดือนนี้ MSCI World Index ปรับตัวลดลงมากถึง 8% โดยเร่งตัวในครึ่งเดือนหลัง โดยแม้ว่า Fed จะได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปในเดือนมีนาคม และส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี 2565-66 แล้ว
ตลาดเริ่มคาดการณ์มากขึ้นว่า Fed อาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% ในหลายครั้งติดต่อกันข้างหน้า แม้ว่าล่าสุดประธาน Fed จะกล่าวว่าจะดูแลไม่ให้การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็ตาม แต่นักลงทุนบางส่วนยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านความชันของ Yield curve ที่อายุมากกว่า 3 ปีที่ลดลง และภาวะ Inversion ในหลายๆคู่ของ Bond yield สหรัฐฯ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะ Recession ได้ในอนาคต ส่งผลให้นักลงทุนมีการลดการทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงปัจจัยจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Yield) ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนใกล้กลับมาเป็นบวกแล้ว ก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง สะท้อนผ่านค่าเงินสหรัฐฯที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 2 ปี
ด้านเศรษฐกิจโลกนั้น เผชิญปัจจัยลบต่างๆ อาทิเช่น สงครามระหว่างยูเครน-รัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานด้านการผลิต ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการปรับตัวขึ้น โดยเศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยเฉพาะการนำเข้าพลังงาน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลงแรงและอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง 7.4% YoY ในเดือนมีนาคม
ขณะที่ด้านสหรัฐฯนั้น เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. ขยายตัว 8.5% YoY สูงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสชะลอตัวลงในระยะข้างหน้าเช่นกัน
ด้านเศรษฐกิจจีน ยังเผชิญกับการใช้มาตรการ Zero-COVID และการประกาศ Lockdown ในหลายเมือง ส่งผลต่อการภาคการบริการและภาคการผลิต โดยการรับมือการแพร่ระบาดของจีน ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าทางการจีนจะมีสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น รวมทั้งอาจมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นบางส่วนก็ตาม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความเสี่ยงต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ถึงแม้ว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาแล้วจะมีความน่าสนใจมากขึ้น แต่เชื่อว่าตลาดจะยังเผชิญกับความผันผวนไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งขึ้นกับปัจจัยรายบริษัทที่จะสามารถรับมือกับปัจจัยลบเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ซึ่งในช่วงนี้เป็นการประกาศผลประกอบการสำหรับไตรมาส 1/2022 น่าจะทำให้เห็นความชัดเจนได้มากขึ้น
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวผันผวนในกรอบแคบ โดยปิดลดลงเพียง 1.6% ในเดือนเมษายน โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวตามลำดับ หนุนโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น และการผ่อนปรนมาตรการรับนักท่องเที่ยว โดยประเด็นเงินเฟ้อนั้น ไทยเริ่มได้รับผลกระทบมากขึ้น สะท้อนผ่านเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 1 ที่สูง 4.75% YoY หนุนโดยราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นสูง
ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยลดลง เหลือ 7.89 พันล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิต่อเนื่องแต่เป็นมูลค่าน้อยสุดใน 5 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งด้วยดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างน้อยเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในประเทศพัฒนาแล้ว อาจจะทำให้ความน่าสนใจโดยเปรียบเทียบลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไทยจะได้รับผลกระทบที่จำกัดจากเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลงก็ตาม
การลงทุนหุ้นไทยในช่วงนี้ จึงต้องเป็นการ Selective อย่างยิ่งในหุ้นที่มีแนวผลประกอบการดีและราคาไม่แพงจนเกินไป ซึ่งในช่วงไตรมาส 2 นี้ น่าจะเห็นสัญญาณความชัดเจนของระดับผลกระทบของการปรับขึ้นของต้นทุนที่มีต่อผลประกอบการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ตลาดอาจจะมีการปรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุน จากกลุ่มที่ Outperform ในช่วงต้นปี อย่างกลุ่ม Reopening ไปยังกลุ่ม Consumer มากขึ้น
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2565 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงในเดือนเมษายน จากแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่ยืนระดับสูง และท่าทีรวมถึงคาดกาณ์การดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะที่สงครามยูเครน-รัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ ล้วนเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า โดยในเดือนนี้ MSCI World Index ปรับตัวลดลงมากถึง 8% โดยเร่งตัวในครึ่งเดือนหลัง โดยแม้ว่า Fed จะได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปในเดือนมีนาคม และส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี 2565-66 แล้ว
ตลาดเริ่มคาดการณ์มากขึ้นว่า Fed อาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% ในหลายครั้งติดต่อกันข้างหน้า แม้ว่าล่าสุดประธาน Fed จะกล่าวว่าจะดูแลไม่ให้การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็ตาม แต่นักลงทุนบางส่วนยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านความชันของ Yield curve ที่อายุมากกว่า 3 ปีที่ลดลง และภาวะ Inversion ในหลายๆคู่ของ Bond yield สหรัฐฯ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะ Recession ได้ในอนาคต ส่งผลให้นักลงทุนมีการลดการทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงปัจจัยจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Yield) ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนใกล้กลับมาเป็นบวกแล้ว ก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง สะท้อนผ่านค่าเงินสหรัฐฯที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 2 ปี
ด้านเศรษฐกิจโลกนั้น เผชิญปัจจัยลบต่างๆ อาทิเช่น สงครามระหว่างยูเครน-รัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานด้านการผลิต ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการปรับตัวขึ้น โดยเศรษฐกิจยูโรโซนซึ่งมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยเฉพาะการนำเข้าพลังงาน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลงแรงและอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง 7.4% YoY ในเดือนมีนาคม
ขณะที่ด้านสหรัฐฯนั้น เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน โดยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. ขยายตัว 8.5% YoY สูงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสชะลอตัวลงในระยะข้างหน้าเช่นกัน
ด้านเศรษฐกิจจีน ยังเผชิญกับการใช้มาตรการ Zero-COVID และการประกาศ Lockdown ในหลายเมือง ส่งผลต่อการภาคการบริการและภาคการผลิต โดยการรับมือการแพร่ระบาดของจีน ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าทางการจีนจะมีสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น รวมทั้งอาจมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นบางส่วนก็ตาม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความเสี่ยงต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ถึงแม้ว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาแล้วจะมีความน่าสนใจมากขึ้น แต่เชื่อว่าตลาดจะยังเผชิญกับความผันผวนไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งขึ้นกับปัจจัยรายบริษัทที่จะสามารถรับมือกับปัจจัยลบเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ซึ่งในช่วงนี้เป็นการประกาศผลประกอบการสำหรับไตรมาส 1/2022 น่าจะทำให้เห็นความชัดเจนได้มากขึ้น
ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวผันผวนในกรอบแคบ โดยปิดลดลงเพียง 1.6% ในเดือนเมษายน โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวตามลำดับ หนุนโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น และการผ่อนปรนมาตรการรับนักท่องเที่ยว โดยประเด็นเงินเฟ้อนั้น ไทยเริ่มได้รับผลกระทบมากขึ้น สะท้อนผ่านเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส 1 ที่สูง 4.75% YoY หนุนโดยราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นสูง
ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยลดลง เหลือ 7.89 พันล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิต่อเนื่องแต่เป็นมูลค่าน้อยสุดใน 5 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งด้วยดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างน้อยเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในประเทศพัฒนาแล้ว อาจจะทำให้ความน่าสนใจโดยเปรียบเทียบลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไทยจะได้รับผลกระทบที่จำกัดจากเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลงก็ตาม
การลงทุนหุ้นไทยในช่วงนี้ จึงต้องเป็นการ Selective อย่างยิ่งในหุ้นที่มีแนวผลประกอบการดีและราคาไม่แพงจนเกินไป ซึ่งในช่วงไตรมาส 2 นี้ น่าจะเห็นสัญญาณความชัดเจนของระดับผลกระทบของการปรับขึ้นของต้นทุนที่มีต่อผลประกอบการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ตลาดอาจจะมีการปรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุน จากกลุ่มที่ Outperform ในช่วงต้นปี อย่างกลุ่ม Reopening ไปยังกลุ่ม Consumer มากขึ้น