ธุรกิจและภาครัฐประสานเสียงเตือนแนวโน้มเศรษฐกิจค่อนข้างมืดหม่น

ธุรกิจและภาครัฐประสานเสียงเตือนแนวโน้มเศรษฐกิจค่อนข้างมืดหม่น

ในการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) ซึ่งจัดขึ้นที่ดาวอส เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2022 พบว่า เศรษฐกิจโลกเผชิญภัยคุกคามหลายอย่าง ที่ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมากขึ้น

ผู้นำการเมืองและธุรกิจที่เข้าร่วมการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก ต่างมองตรงกันว่า เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงสุดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับประเทศเศรษฐกิจหลักๆ ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ และยุโรป ซึ่งราคาที่เพิ่มขึ้นได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและเขย่าตลาดการเงินโลก ทำให้ธนาคารกลางต่างๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

Robert Habeck รองนายกรัฐมนตรีเยอรมัน กล่าวว่า ผลกระทบในตลาดน้ำมันและอาหาร มาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และโควิด-19 ระบาดในจีนที่ทำให้มีการปิดเมือง

ทั้งนี้เราเจอวิกฤติอย่างน้อย 4 อย่างที่มีความเชื่อมโยงกัน ได้แก่ เงินเฟ้อสูง วิกฤติพลังงาน การขาดแคลนอาหาร และวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถ้าเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ถ้าเรามัวมุ่งเน้นแก้เพียงวิกฤติเดียว แต่ถ้าไม่มีปัญหาใดถูกแก้ไขได้ ก็เกรงว่า เรากำลังเดินไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากต่อความมั่นคงของโลก

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ โดยชี้ว่า สงครามในยูเครน และเงินเฟ้อเป็นอันตรายที่ชัดเจน และเกิดขึ้นในปัจจุบันกับหลายประเทศ

Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการ IMF กล่าวในการประชุมที่ดาวอสว่า สงคราม ความเข้มงวดทางการเงิน และภาวะช็อคด้านราคาสำหรับอาหาร ทำให้แนวโน้มข้างหน้ามืดมน อย่างไรก็ตามเวลานี้เรายังไม่มองไปถึงขั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย