ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนและปิดทรงตัวในเดือนพฤษภาคม โดยปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งเดือนแรกแตะระดับ Bear market หรือลดลงจากสูงสุดช่วงต้นปีที่ 20% ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันการลงทุนยังคงมาจากแรงกดดันเงินเฟ้อในหลายประเทศที่อยู่ในระดับสูงในรอบหลายปี แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอลง
อย่างไรก็ดี ตลาดก็เริ่มรับรู้ปัจจัยด้านนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นไปมากแล้ว รวมถึงสัญญาณจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มชะลออัตราการปรับขึ้นลง ส่งผลให้ตลาดโดยรวมปิดทรงตัวได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นปัจจัยกดดันระดับ Valuation ของตลาดหุ้น ให้อยู่ในระดับ Multiple ที่ต่ำลง ในระยะข้างหน้า ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน ท่าทีของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง และประเด็นการถดถอยของเศรษฐกิจ ยังคงปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง
ในด้านเศรษฐกิจนั้น สงครามยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ การคว่ำบาตรทางการค้า และการ Lockdown เศรษฐกิจในจีน เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหาอุปทาน และเพิ่มแรงกดดันต่อระดับเงินเฟ้อที่มีในหลายประเทศ ขณะที่ราคาน้ำมันที่ยืนระดับสูงและราคาอาหารที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ก็เป็นปัจจัยลดทอนกำลังซื้อและการบริโภค โดยเศรษฐกิจสหรัฐนั้น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ขึ้นมาร้อนแรงจากการจ้างงานที่แข็งแกร่ง หนุนภาคการบริโภคในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มถูกชะลอจากการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed
ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน ซึ่งได้รับผลกระทบด้านพลังงานจากรัสเซีย ยังคงมีแนวโน้มได้รับผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ ด้านเศรษฐกิจจีน การใช้มาตรการ Zero-COVID ในช่วงที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อภาคการบริการและการผลิต ซึ่งล่าสุด จำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่ต่อวันในจีนได้ลดลงแล้ว แต่สถานการณ์ในจีนจึงยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม โดยถ้าหากควบคุมได้ดีต่อเนื่อง เศรษฐกิจยังอาจได้แรงหนุนทั้งจากนโยบายการเงินและการคลัง ต่างจากเศรษฐกิจสหรัฐฯและยูโรโซน
โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจโลกจะมีโมเมนตัมที่ชะลอลงในระยะข้างหน้า ทำให้ประเด็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยเริ่มเป็นความเสี่ยงมากขึ้น แต่หากปัจจัยกดดันต่างๆข้างต้น สามารถลดระดับลงมาได้ รวมถึงระดับอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอความร้อนแรงลง ก็อาจช่วยลดความกดดันต่อนโยบายการเงินในประเทศต่างๆ และเลี่ยงการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
ด้านตลาดหุ้นไทย ปิดทรงตัวตามตลาดหุ้นโลก ในเดือนพฤษภาคม โดยเศรษฐกิจไทยอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว หนุนโดยการบริโภคภาครัฐและเอกชนจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงภาคการส่งออกที่ได้รับประโยชน์จากประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวก่อนและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ดี GDP ปี 2565 เริ่มถูกปรับคาดการณ์ลดลงเล็กน้อย จากปัจจัยมหภาค ทั้งโมเมนตัมของเศรษฐกิจโลก และระดับราคาสินค้าบริการที่สูงขึ้นฉุดกำลังซื้อผู้บริโภคในประเทศ
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจากฐานต่ำจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะกลับมาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ไม่มากก็น้อยในปีนี้ ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ 2 หมื่นล้านบาท เป็นอีกปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวได้ดีกว่าและปิดทรงตัวได้ 0.3% YTD เทียบกับตลาดหุ้นโลกที่ปรับลดลง 13.5% YTD
กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective ในหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นตามการเปิดประเทศ ซึ่งระดับ Valuation นั้นนับว่าไม่ได้ถูก แต่ก็ไม่ถึงกับแพงมาก และยังระมัดระวังต่อบริษัทที่มีความเสี่ยงต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาปัจจัยความเปลี่ยนแปลงเชิงมหภาคซึ่งอาจจะทำให้ให้หุ้นของบริษัทกลุ่มนี้ที่ปรับตัวลงในช่วงก่อนหน้า กลับมาฟื้นตัวได้ในอนาคต
Fund Comment
Fund Comment พฤษภาคม 2565 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนและปิดทรงตัวในเดือนพฤษภาคม โดยปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งเดือนแรกแตะระดับ Bear market หรือลดลงจากสูงสุดช่วงต้นปีที่ 20% ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันการลงทุนยังคงมาจากแรงกดดันเงินเฟ้อในหลายประเทศที่อยู่ในระดับสูงในรอบหลายปี แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอลง
อย่างไรก็ดี ตลาดก็เริ่มรับรู้ปัจจัยด้านนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นไปมากแล้ว รวมถึงสัญญาณจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มชะลออัตราการปรับขึ้นลง ส่งผลให้ตลาดโดยรวมปิดทรงตัวได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นปัจจัยกดดันระดับ Valuation ของตลาดหุ้น ให้อยู่ในระดับ Multiple ที่ต่ำลง ในระยะข้างหน้า ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน ท่าทีของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง และประเด็นการถดถอยของเศรษฐกิจ ยังคงปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง
ในด้านเศรษฐกิจนั้น สงครามยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ การคว่ำบาตรทางการค้า และการ Lockdown เศรษฐกิจในจีน เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหาอุปทาน และเพิ่มแรงกดดันต่อระดับเงินเฟ้อที่มีในหลายประเทศ ขณะที่ราคาน้ำมันที่ยืนระดับสูงและราคาอาหารที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ก็เป็นปัจจัยลดทอนกำลังซื้อและการบริโภค โดยเศรษฐกิจสหรัฐนั้น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ขึ้นมาร้อนแรงจากการจ้างงานที่แข็งแกร่ง หนุนภาคการบริโภคในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มถูกชะลอจากการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed
ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน ซึ่งได้รับผลกระทบด้านพลังงานจากรัสเซีย ยังคงมีแนวโน้มได้รับผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ ด้านเศรษฐกิจจีน การใช้มาตรการ Zero-COVID ในช่วงที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อภาคการบริการและการผลิต ซึ่งล่าสุด จำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่ต่อวันในจีนได้ลดลงแล้ว แต่สถานการณ์ในจีนจึงยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม โดยถ้าหากควบคุมได้ดีต่อเนื่อง เศรษฐกิจยังอาจได้แรงหนุนทั้งจากนโยบายการเงินและการคลัง ต่างจากเศรษฐกิจสหรัฐฯและยูโรโซน
โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจโลกจะมีโมเมนตัมที่ชะลอลงในระยะข้างหน้า ทำให้ประเด็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยเริ่มเป็นความเสี่ยงมากขึ้น แต่หากปัจจัยกดดันต่างๆข้างต้น สามารถลดระดับลงมาได้ รวมถึงระดับอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอความร้อนแรงลง ก็อาจช่วยลดความกดดันต่อนโยบายการเงินในประเทศต่างๆ และเลี่ยงการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
ด้านตลาดหุ้นไทย ปิดทรงตัวตามตลาดหุ้นโลก ในเดือนพฤษภาคม โดยเศรษฐกิจไทยอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว หนุนโดยการบริโภคภาครัฐและเอกชนจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงภาคการส่งออกที่ได้รับประโยชน์จากประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวก่อนและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ดี GDP ปี 2565 เริ่มถูกปรับคาดการณ์ลดลงเล็กน้อย จากปัจจัยมหภาค ทั้งโมเมนตัมของเศรษฐกิจโลก และระดับราคาสินค้าบริการที่สูงขึ้นฉุดกำลังซื้อผู้บริโภคในประเทศ
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจากฐานต่ำจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะกลับมาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ไม่มากก็น้อยในปีนี้ ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังคงซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ 2 หมื่นล้านบาท เป็นอีกปัจจัยหนุนตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวได้ดีกว่าและปิดทรงตัวได้ 0.3% YTD เทียบกับตลาดหุ้นโลกที่ปรับลดลง 13.5% YTD
กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective ในหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นตามการเปิดประเทศ ซึ่งระดับ Valuation นั้นนับว่าไม่ได้ถูก แต่ก็ไม่ถึงกับแพงมาก และยังระมัดระวังต่อบริษัทที่มีความเสี่ยงต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาปัจจัยความเปลี่ยนแปลงเชิงมหภาคซึ่งอาจจะทำให้ให้หุ้นของบริษัทกลุ่มนี้ที่ปรับตัวลงในช่วงก่อนหน้า กลับมาฟื้นตัวได้ในอนาคต