ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน พ.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -4 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปีขึ้นไป เปลี่ยนแปลงในช่วง -32 ถึง +44 bps โดยมีการแกว่งตัวผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 3-4 พ.ค. มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 bps สู่ระดับ 0.75-1.00% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ ขณะที่นาย Jerome Powell ประธาน Fed ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 50 bps อาจยังมีความจำเป็นในการประชุม 2 ครั้งถัดไป แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณว่า Fed จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปมากอย่างที่ตลาดกังวลในช่วงก่อนหน้า
นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้กลับมากดดันตลาดการเงินอีกครั้ง ทำให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มมองว่า Fed อาจไม่สามารถเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มีแรงซื้อกลับในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
ขณะที่ด้านตลาดตราสารหนี้ไทยมีสภาพคล่องค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากนักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอผลของการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในวันที่ 12 พ.ค. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ของปี 2565 ขยายตัว +2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทำให้เกิดความกังวลว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกเร็วขึ้น
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมา ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ได้มีการกล่าวถึงการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ว่าในส่วนของ ธปท. นั้น มีการดำเนินงานภายใต้กรอบนโยบายการเงิน รวมถึงการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม Fed ทำให้นักลงทุนคลายความกังวล และมีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทย
สำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทย 3.0 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิตราสารหนี้ระยะสั้น 2.4 หมื่นล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 0.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดอายุ 1.4 หมื่นล้านบาท ทำให้มีเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยสุทธิ 1.6 หมื่นล้านบาท
ด้านตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. อยู่ที่ 7.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี และเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. ซึ่งอยู่ที่ 4.65% ปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.28% เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. ซึ่งอยู่ที่ 2.0% ทำให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 5.19% และ 1.72% ตามลำดับ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2565 จะเคลื่อนไหวในกรอบ 4.0-5.0%
ล่าสุดผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 8 มิ.ย. มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% โดยมี 3 เสียงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องและมีโอกาสฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้เดิมจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งผ่านต้นทุนที่มากและนานกว่าคาด มองไปข้างหน้าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลง อย่างไรก็ดี เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจในระยะต่อไปจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องตามคาด กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ โดยจะติดตามพัฒนาการของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 และ 2566 จะขยายตัวที่ 3.3% และ 4.2% ตามลำดับ และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 6.2% และ 2.5% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ กนง. อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวจะยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งต้องติดตามพัฒนาการของเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และท่าทีของ Fed ในการประชุม FOMC วันที่ 14-15 มิ.ย.
นอกจากนี้ ยังต้องติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อของไทย ตลอดจนการประชุมของธนาคารกลางอื่น ๆ ได้แก่ การประชุม ECB ในวันที่ 9 มิ.ย. และการประชุม BoJ ในวันที่ 16-17 มิ.ย.
Fund Comment
Fund Comment พฤษภาคม 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน พ.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -4 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปีขึ้นไป เปลี่ยนแปลงในช่วง -32 ถึง +44 bps โดยมีการแกว่งตัวผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 3-4 พ.ค. มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 bps สู่ระดับ 0.75-1.00% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ ขณะที่นาย Jerome Powell ประธาน Fed ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 50 bps อาจยังมีความจำเป็นในการประชุม 2 ครั้งถัดไป แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณว่า Fed จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปมากอย่างที่ตลาดกังวลในช่วงก่อนหน้า
นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้กลับมากดดันตลาดการเงินอีกครั้ง ทำให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มมองว่า Fed อาจไม่สามารถเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มีแรงซื้อกลับในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
ขณะที่ด้านตลาดตราสารหนี้ไทยมีสภาพคล่องค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากนักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอผลของการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในวันที่ 12 พ.ค. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ของปี 2565 ขยายตัว +2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทำให้เกิดความกังวลว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกเร็วขึ้น
อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมา ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. ได้มีการกล่าวถึงการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ว่าในส่วนของ ธปท. นั้น มีการดำเนินงานภายใต้กรอบนโยบายการเงิน รวมถึงการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม Fed ทำให้นักลงทุนคลายความกังวล และมีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทย
สำหรับนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทย 3.0 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิตราสารหนี้ระยะสั้น 2.4 หมื่นล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 0.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดอายุ 1.4 หมื่นล้านบาท ทำให้มีเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยสุทธิ 1.6 หมื่นล้านบาท
ด้านตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. อยู่ที่ 7.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี และเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. ซึ่งอยู่ที่ 4.65% ปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.28% เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. ซึ่งอยู่ที่ 2.0% ทำให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 5.19% และ 1.72% ตามลำดับ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2565 จะเคลื่อนไหวในกรอบ 4.0-5.0%
ล่าสุดผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 8 มิ.ย. มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% โดยมี 3 เสียงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องและมีโอกาสฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้เดิมจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งผ่านต้นทุนที่มากและนานกว่าคาด มองไปข้างหน้าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลง อย่างไรก็ดี เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจในระยะต่อไปจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องตามคาด กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ โดยจะติดตามพัฒนาการของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 และ 2566 จะขยายตัวที่ 3.3% และ 4.2% ตามลำดับ และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 6.2% และ 2.5% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ กนง. อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวจะยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งต้องติดตามพัฒนาการของเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และท่าทีของ Fed ในการประชุม FOMC วันที่ 14-15 มิ.ย.
นอกจากนี้ ยังต้องติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อของไทย ตลอดจนการประชุมของธนาคารกลางอื่น ๆ ได้แก่ การประชุม ECB ในวันที่ 9 มิ.ย. และการประชุม BoJ ในวันที่ 16-17 มิ.ย.