ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวน โดยปรับตัวลงในช่วงแรกของเดือน และปิดลดลง 8.6% ในเดือนมิถุนายน โดยประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันตลาดมาจาก ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน พ.ค. ที่ 8.6% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาด ตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมเดือน มิ.ย. ที่สูงถึง 75bps เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1994 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลต่อสภาพคล่องในระบบการเงิน และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วให้ชะลอตัวลงจนมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งตลาดได้สะท้อนความกังวลดังกล่าวผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ลดระดับลงในช่วงปลายเดือน และสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการที่เริ่มปรับตัวลดลง ยกเว้นราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะส่งผลช่วยให้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อลดความร้อนแรงลงในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี ตลาดอาจให้ความสำคัญกับตัวเลขเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งภาคการจ้างงาน ภาคการบริโภค ภาคการผลิต เป็นต้น โดยถ้าหากเศรษฐกิจสามารถประคองตัวได้ ในขณะที่นโยบายการเงินมีความเข้มงวดขึ้น และเงินเฟ้อสามารถควบคุมได้ ก็จะทำให้นโยบายการเงินไม่จำเป็นต้องเข้มงวดมากเกินไป ซึ่งจะเป็นบวกต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมและหนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้
ในด้านเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงฟื้นตัวได้ดี แต่ก็ต้องเผชิญกับระดับอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังซื้อผู้บริโภคและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มส่งสัญญาณลดลงจากความกังวลด้านเงินเฟ้อ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงาน จากสงครามยูเครนรัสเซียที่ยืดเยื้อ ซึ่งถ้าหากทำให้เกิดการประนีประนอมกันได้ ก็อาจช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีในวงกว้างลงได้
ด้านเศรษฐกิจจีน แม้ที่ผ่านมา เผชิญกับการ Lockdown ในเมืองใหญ่ แต่การเริ่มผ่อนคลายมาตรการและแรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ มีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจจีนครึ่งปีหลังฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ตลาดคาดการณ์ เศรษฐกิจจีนจะเติบโตเพียง 4.5% ห่างจากเป้าหมายของภาครัฐที่ 5.5% โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงจากช่วงที่ผ่านมา ทำให้ในเดือนมิถุนายน World Bank ได้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงจากเดิม 4.1% เป็น 2.9% สะท้อนผลของปัจจัยลบทั้งหลายข้างต้น ที่จะยังคงกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะถัดไป
ด้านตลาดหุ้นไทยปรับตัวในทิศทางเดียวกัน โดยปรับลดลง 5.7% ซึ่งใกล้เคียงกับตลาดอื่นในภูมิภาคอาเซียนและดีกว่าตลาดหุ้นโลกเล็กน้อย ด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยจะกำลังฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวโดยยกเลิกระบบ Thailand Pass จะเป็นปัจจัยหนุนให้เศรษฐกิจไทยยังเป็นการขยายตัว แต่ปัจจัยจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ก็กระตุ้นในเกิด Fund Flow ไหลออก โดยในเดือนมิถุนายน นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ราว 2.9 หมื่นล้านบาท เป็นเดือนแรกในรอบ 7 เดือนและทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี 2565 ลดลงเหลือราว 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งหลังจากการประชุม กนง.ในรอบล่าสุด ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท.น่าจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อลดส่วนต่างกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ
ด้านผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2 ตลาดคาดการณ์ว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง QoQ จากการที่ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ทยอยส่งผลกระทบต่ออัตราการทำกำไรในหลายอุตสาหกรรม แต่ว่า ด้วยแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงบ้างแล้ว ทำให้คาดว่า อัตรากำไรน่าจะเป็นจุดต่ำสุดในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้า ทำให้คาดว่า ตลาดจะเริ่มเปลี่ยนการให้น้ำหนักจากหุ้นที่ได้ประโยชน์จากธีม Rising Inflation ไปยังกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงมากขึ้น และยังคงน้ำหนักกับหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ แม้ว่ามูลค่าจะไม่ถูกแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ด้วยความไม่แน่นอนของทิศทางเศรษฐกิจโลก ยังเป็นความเสี่ยงต่อทิศทางตลาดในระยะสั้น ซึ่งถ้ามีการปรับตัวลงของหุ้นของบริษัทที่ผ่านจุดต่ำสุด และราคาไม่แพง ก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุนระยะยาว
Fund Comment
Fund Comment มิถุนายน 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น
ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวน โดยปรับตัวลงในช่วงแรกของเดือน และปิดลดลง 8.6% ในเดือนมิถุนายน โดยประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันตลาดมาจาก ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน พ.ค. ที่ 8.6% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาด ตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมเดือน มิ.ย. ที่สูงถึง 75bps เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1994 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลต่อสภาพคล่องในระบบการเงิน และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วให้ชะลอตัวลงจนมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งตลาดได้สะท้อนความกังวลดังกล่าวผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ลดระดับลงในช่วงปลายเดือน และสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการที่เริ่มปรับตัวลดลง ยกเว้นราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะส่งผลช่วยให้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อลดความร้อนแรงลงในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี ตลาดอาจให้ความสำคัญกับตัวเลขเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งภาคการจ้างงาน ภาคการบริโภค ภาคการผลิต เป็นต้น โดยถ้าหากเศรษฐกิจสามารถประคองตัวได้ ในขณะที่นโยบายการเงินมีความเข้มงวดขึ้น และเงินเฟ้อสามารถควบคุมได้ ก็จะทำให้นโยบายการเงินไม่จำเป็นต้องเข้มงวดมากเกินไป ซึ่งจะเป็นบวกต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมและหนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้
ในด้านเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงฟื้นตัวได้ดี แต่ก็ต้องเผชิญกับระดับอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังซื้อผู้บริโภคและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มส่งสัญญาณลดลงจากความกังวลด้านเงินเฟ้อ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงาน จากสงครามยูเครนรัสเซียที่ยืดเยื้อ ซึ่งถ้าหากทำให้เกิดการประนีประนอมกันได้ ก็อาจช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่มีในวงกว้างลงได้
ด้านเศรษฐกิจจีน แม้ที่ผ่านมา เผชิญกับการ Lockdown ในเมืองใหญ่ แต่การเริ่มผ่อนคลายมาตรการและแรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ มีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจจีนครึ่งปีหลังฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ตลาดคาดการณ์ เศรษฐกิจจีนจะเติบโตเพียง 4.5% ห่างจากเป้าหมายของภาครัฐที่ 5.5% โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงจากช่วงที่ผ่านมา ทำให้ในเดือนมิถุนายน World Bank ได้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงจากเดิม 4.1% เป็น 2.9% สะท้อนผลของปัจจัยลบทั้งหลายข้างต้น ที่จะยังคงกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะถัดไป
ด้านตลาดหุ้นไทยปรับตัวในทิศทางเดียวกัน โดยปรับลดลง 5.7% ซึ่งใกล้เคียงกับตลาดอื่นในภูมิภาคอาเซียนและดีกว่าตลาดหุ้นโลกเล็กน้อย ด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยจะกำลังฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวโดยยกเลิกระบบ Thailand Pass จะเป็นปัจจัยหนุนให้เศรษฐกิจไทยยังเป็นการขยายตัว แต่ปัจจัยจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ก็กระตุ้นในเกิด Fund Flow ไหลออก โดยในเดือนมิถุนายน นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ราว 2.9 หมื่นล้านบาท เป็นเดือนแรกในรอบ 7 เดือนและทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี 2565 ลดลงเหลือราว 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งหลังจากการประชุม กนง.ในรอบล่าสุด ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท.น่าจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อลดส่วนต่างกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ
ด้านผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2 ตลาดคาดการณ์ว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง QoQ จากการที่ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ทยอยส่งผลกระทบต่ออัตราการทำกำไรในหลายอุตสาหกรรม แต่ว่า ด้วยแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงบ้างแล้ว ทำให้คาดว่า อัตรากำไรน่าจะเป็นจุดต่ำสุดในช่วง 1-2 ไตรมาสข้างหน้า ทำให้คาดว่า ตลาดจะเริ่มเปลี่ยนการให้น้ำหนักจากหุ้นที่ได้ประโยชน์จากธีม Rising Inflation ไปยังกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงมากขึ้น และยังคงน้ำหนักกับหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ แม้ว่ามูลค่าจะไม่ถูกแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ด้วยความไม่แน่นอนของทิศทางเศรษฐกิจโลก ยังเป็นความเสี่ยงต่อทิศทางตลาดในระยะสั้น ซึ่งถ้ามีการปรับตัวลงของหุ้นของบริษัทที่ผ่านจุดต่ำสุด และราคาไม่แพง ก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุนระยะยาว