ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง 5-44 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากตลาดเริ่มมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ IMF ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือ 2.3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง แม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวลง แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางหลายประเทศยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง นำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2.25% – 2.50%, ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 0.00% สู่ระดับ 0.50%, ธนาคารกลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 1.75% อีกทั้งในวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยมีมติ 6 ต่อ 1 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75% โดยมีคณะกรรมการ 1 ท่าน เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% แทน ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนก.ค. ยังคงเป็นยอดขายสุทธิที่ 6.2 ล้านบาท แบ่งเป็นการขายตราสารหนี้ระยะสั้น 1.9 พันล้านบาท และขายตราสารหนี้ระยะยาว 2 พันล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 2.2 พันล้านบาท
สำหรับอัตราเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 7.61% ชะลอตัวลงจาก 7.66% ในเดือนก่อน โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง 33.8% ในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.99% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 2.51% ในเดือนก่อน บ่งชี้ถึงการส่งผ่านราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยนักวิเคราะห์ยังคาดว่า กนง.มีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% – 0.50% ภายในปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังคงมีทิศทางผันผวนตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยปัจจุบันตลาดให้น้ำหนักกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯค่อนข้างมาก ขณะที่คณะกรรมการของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงแสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับสูงและยืนยันที่จะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างทิศทางของตลาดกับผู้กำหนดนโยบายการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่ความผันผวนของตลาดได้ในระยะต่อไป
Fund Comment
Fund Comment กรกฎาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง 5-44 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากตลาดเริ่มมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ IMF ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือ 2.3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง แม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวลง แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางหลายประเทศยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง นำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2.25% – 2.50%, ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 0.00% สู่ระดับ 0.50%, ธนาคารกลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 1.75% อีกทั้งในวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยมีมติ 6 ต่อ 1 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75% โดยมีคณะกรรมการ 1 ท่าน เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% แทน ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนก.ค. ยังคงเป็นยอดขายสุทธิที่ 6.2 ล้านบาท แบ่งเป็นการขายตราสารหนี้ระยะสั้น 1.9 พันล้านบาท และขายตราสารหนี้ระยะยาว 2 พันล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 2.2 พันล้านบาท
สำหรับอัตราเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 7.61% ชะลอตัวลงจาก 7.66% ในเดือนก่อน โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง 33.8% ในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 2.99% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 2.51% ในเดือนก่อน บ่งชี้ถึงการส่งผ่านราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยนักวิเคราะห์ยังคาดว่า กนง.มีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% – 0.50% ภายในปีนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังคงมีทิศทางผันผวนตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยปัจจุบันตลาดให้น้ำหนักกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯค่อนข้างมาก ขณะที่คณะกรรมการของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงแสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับสูงและยืนยันที่จะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างทิศทางของตลาดกับผู้กำหนดนโยบายการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่ความผันผวนของตลาดได้ในระยะต่อไป