มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุน้อยกว่า 1 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 13-20 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 1.00% ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยกนง.มีมุมมองว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ และคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวได้ที่ 3.3% และเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปีหน้า สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอายุมากกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20-65 bps เป็นการปรับตัวในทิศทางเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% สู่ระดับ 3.00%-3.25% ในการประชุมในวันที่ 20-21 ก.ย. พร้อมส่งสัญญาณว่า จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ FED ประเมินว่า จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 4.25%-4.50% ในปี 2565 และปรับขึ้นอีกเป็น 4.50%-4.75% ในปี 2566 ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนก.ย.มียอดขายสุทธิ 22,231 ล้านบาท แบ่งเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 3,928 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 13,828 ล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 4,475 ล้านบาท
สำหรับรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนก.ย.อยู่ที่ 8.2% ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 8.3% แต่ยังคงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1% โดยราคาสินค้าพลังงานยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. อยู่ที่ 6.41% ลดลงจาก 7.86% ในเดือนก่อน และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 6.6% สำหรับปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง 16.10% จากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน และราคาสินค้าหมวดอาหารสดปรับเพิ่มขึ้น 10.97% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 3.12% ทรงตัวจากเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงบ่งชี้ถึงการส่งผ่านต้นทุนราคาสินค้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นยังจะปรับตัวตามการดำเนินนโยบายการเงินของกนง.เป็นหลัก โดยที่ กนง.ยังคงยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวที่ตลาดยังต้องหาจุดสมดุลระหว่างความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อระดับสูงและแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตข้างหน้า
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุน้อยกว่า 1 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 13-20 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 1.00% ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยกนง.มีมุมมองว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ และคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวได้ที่ 3.3% และเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปีหน้า สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอายุมากกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20-65 bps เป็นการปรับตัวในทิศทางเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% สู่ระดับ 3.00%-3.25% ในการประชุมในวันที่ 20-21 ก.ย. พร้อมส่งสัญญาณว่า จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ FED ประเมินว่า จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 4.25%-4.50% ในปี 2565 และปรับขึ้นอีกเป็น 4.50%-4.75% ในปี 2566 ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนก.ย.มียอดขายสุทธิ 22,231 ล้านบาท แบ่งเป็นการขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 3,928 ล้านบาท และขายสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 13,828 ล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 4,475 ล้านบาท
สำหรับรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนก.ย.อยู่ที่ 8.2% ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 8.3% แต่ยังคงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1% โดยราคาสินค้าพลังงานยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อของไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. อยู่ที่ 6.41% ลดลงจาก 7.86% ในเดือนก่อน และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 6.6% สำหรับปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง 16.10% จากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน และราคาสินค้าหมวดอาหารสดปรับเพิ่มขึ้น 10.97% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 3.12% ทรงตัวจากเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงบ่งชี้ถึงการส่งผ่านต้นทุนราคาสินค้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นยังจะปรับตัวตามการดำเนินนโยบายการเงินของกนง.เป็นหลัก โดยที่ กนง.ยังคงยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวที่ตลาดยังต้องหาจุดสมดุลระหว่างความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อระดับสูงและแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตข้างหน้า