กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF) Q4/2022

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF) Q4/2022

ภาพรวมตลาด
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเส้น โดยส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7 – 14 bps ยกเว้นช่วงอายุคงเหลือ 2 – 3 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1 – 4 bps และนับตั้งแต่ต้นปี พบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มมาแล้วประมาณ 125 – 150 bps สาหรับช่วงอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกผันผวนตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นแรง จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยหลักให้ Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะหลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งละ 75 bps ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง

ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 0.75% เป็น 1% โดยมองว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องโดยรับแรงหนุนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศแต่มีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อมากขึ้น จึงให้มีการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทาให้จะกดไม่ให้อัตราผลตอบแทนไทยปรับเพิ่มขึ้นมากนัก แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของเงินเฟ้อมีมากขึ้น ซึ่งมุมมองของกองทุนบัวหลวงมองว่าตราสารหนี้ไทยยังมีความเสี่ยงของการขึ้นของดอกเบี้ยที่มากกว่าตลาดคาด ต้องติดตามการประชุมกนง. ซึ่งจะมีในวันที่ 30 พ.ย. 2565 ว่าทิศทางดอกเบี้ยของไทยจะขึ้นเท่าไร

ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 1 – 2 พ.ย. มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 3.75 – 4.00% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยเฟดส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่าลงในการประชุมเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 0.50% ขณะที่เอสแอนด์พี โกลบอลรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.4 ในเดือน ต.ค. จากระดับ 52.0 ในเดือน ก.ย. สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 49.9

แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทย
คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นยังจะปรับตัวตามการดำเนินนโยบายการเงิน ของ กนง. เป็นหลัก โดย กนง. ยังคงยืนยันการดาเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้กระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนสูงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐฯ ระยะยาวซึ่งมีปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในแต่ละช่วงคือ ความกังวลต่อภาวะเงิน เฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและความกังวลถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคต ข้างหน้า

ปัจจัยบวก/ลบต่อกองทุน
(+) เป็นกองทุนที่ไม่มีความเสี่ยงต่างประเทศ
(+) ความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้เกิดแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย
(-) ภาวะเงินเฟ้อในประเทศ ที่ยังทรงตัวในระดับสูง รวมถึงทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย ส่งผลให้กนง. จะยังปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง
(-) การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของสหรัฐฯ รวมถึงการปรับลดขนาดสินทรัพย์
(-) แนวโน้มการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ จากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดกว่าประเทศอื่น

กลยุทธ์ในการบริหารกองทุน: กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
• ทั้งนี้ ทีมจัดการลงทุนประมาณการว่า ผลตอบแทนมองไปข้างหน้า 1 ปี หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมน่าจะอยู่ราว 1.4 – 1.8% ต่อปี

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต