กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS25RMF), กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS55RMF)
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BMAPS100RMF)
ภาพรวมตลาด
• ตลาดหุ้นโลกกลับมาปรับตัวขึ้นได้ 6.4% ในเดือนตุลาคม หลังจากปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า หรือ ลดลงจากจุดสูงสุดช่วงต้นปีมาราว 27.0% โดยความเข้มงวดทางการเงินโลกที่เร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนผ่าน Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ที่ปรับขึ้นมาที่ระดับ 4.0% และ Real Yield ที่ปรับขึ้นมาเป็นบวกในเกือบทุกช่วงอายุนั้น เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ทั้งต่อภาคเศรษฐกิจจริงและสภาพคล่องในตลาดการเงิน ทำให้ตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง กอปรกับ US 10Y Yield และ ค่าเงินสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงเล็กน้อย ลดความกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.0% และ Euro Stoxx 50 ปรับเพิ่มขึ้น 9.0% ในเดือนตุลาคม ในระยะข้างหน้า ทิศทางนโยบายการเงิน และ โมเมนตัมทางเศรษฐกิจ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญสาหรับแนวโน้มการลงทุน
• ด้านตลาดตราสารหนี้โลก แม้ว่าจะยังเห็นผลตอบแทนจากการลงทุนที่ติดลบในเดือน ต.ค. แต่อัตราการติดลบนับว่าปรับตัวลง โดยล่าสุด ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ด้วยการคาดการณ์ถึงอัตราเร่งของการปรับขึ้นดอกเบี้ยจากทาง FED ที่น่าจะชะลอลงจากปัจจุบันที่ปรับขึ้นครั้งละ 0.75% รวมไปถึง เศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงในวงกว้างมากขึ้น อาจช่วยจากัดการขึ้นของ Bond Yield ระยะยาวของสหรัฐฯ และนำมาซึ่งการเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรของดอกเบี้ยขาขึ้นได้
พอร์ตการลงทุน
• ในภาพรวมยังคงเน้นที่การกระจายความเสี่ยงในหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (B-GLOBAL) ในขณะที่ยังคงรักษาสถานะการลงทุนบางส่วนในสหรัฐฯ (B-USALPHA) และญี่ปุ่นไว้ (B-NIPPON) โดยผู้จัดการกองทุนมองว่าหุ้นโลกยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง จึงยังคงรอจังหวะการลงทุนสะสมเพิ่มเติม และได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงหุ้นไทยด้วย ได้แก่ B-ASIA BKA B-ASEAN และ B-VIETNAM
• นอกจากนี้ ยังคงลงทุนในหุ้นกลุ่ม defensive อย่าง BCARE เพราะเป็นส่วนสำคัญที่รักษาความสมดุลย์ในพอร์ตการลงทุนได้ดี ในส่วนของ Thematic เน้นการลงทุนในกลุ่มที่ได้ประโยชน์พื้นฐานดี และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระยะยาว ได้แก่ B-INNOTECH B-SIP และ B-GLOB-INFRA
มุมมองในอนาคต
• มุมมองสำหรับการทำ Asset Allocation ในระยะถัดไปนั้น ปัจจัยหลักในด้านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยเฉพาะจาก FED จะผ่อนคลายลงไปบ้าง และมีความหวังจากการเปิดประเทศของจีนมากขึ้นในปีหน้า ทำให้ความผันผวนน่าจะอ่อนแรงลงเมื่อเทียบกับปีนี้ ทว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่อาจถูกปรับคาดการณ์ลง และ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับสูงเป็นระยะเวลานาน จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า
• ดังนั้น การลงทุนที่จัดวางพอร์ตให้มีความสมดุล การถือครองหุ้นกลุ่ม Defensive ยังคงน่าจะให้ประโยชน์ ขณะที่ตลาดหุ้นของกลุ่มเอเชียมีความน่าสนใจมากขึ้น จากทั้งเรื่องของค่าเงินดอลลาร์ที่คาดว่าจะไม่แข็งค่าไปจนทะลุจุดสูงสุดเดิม รวมถึง วัฏจักรการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางในภูมิภาคน่าจะสิ้นสุดในปี 2023 ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้มีความน่าสนใจมากขึ้นและน่าจะกลับมาให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ในช่วงปีหน้า โดยเฉพาะใน Long-Duration จากอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวขึ้นมาเป็นอย่างมาก และผ่านพ้นจุดสูงสุดภายในช่วงต้นปี 2023 รวมถึงการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนก็มีความน่าสนใจมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะตราสารหนี้ระดับ Investment Grade
Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนาในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดาเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดาเนินงานในอนาคต