โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM
การตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยนโยบาย
ECB ให้ความเห็นว่า เนื่องด้วยเงินเฟ้อน่าจะคงในระดับสูงอีกระยะหนึ่ง จึงเห็นควรให้ปรับ 3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายหลักขึ้น 50 bps โดยการประชุมครั้งถัดไปจะตัดสินใจปรับดอกเบี้ยตามสถานการณ์ (Data Dependent) โดยอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Rate จะขยับไปอยู่ที่ 3.5%, Marginal Lending Facility ขยับไปที่ 3.75% ส่วน Deposit Facility ขยับไปอยู่ที่ 3.0% ตามลำดับ
คณะกรรมการจะติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดของตลาดอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินมาตรการเพิ่มเติม เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการเงิน โดยคณะกรรมการ ECB เน้นย้ำถึงความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินในยุโรป ที่มีสัดส่วนทางการเงินและสภาพคล่องอย่างเพียงพอ
การประมาณการด้านเศรษฐกิจ
คณะกรรมการ ECB มองว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 2023 จะอยู่ที่ 5.3% ก่อนที่จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2024-25 ที่ 2.9% และ 2.1% ตามลำดับ ด้าน GDP Growth ได้รับการปรับประมาณการขึ้นเป็น 1.0% ผลจากแรงกดดันจากราคาพลังงานบรรเทาลง และเห็นแนวโน้มขยายตัวขึ้นต่อเนื่องในปี 2024-25 ที่ 1.6% เท่ากัน หนุนโดยตลาดแรงงานที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวแข็งแกร่ง
โครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ Asset Purchase Programme (APP) and Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP)
APP จะถูกปรับลงในอัตรา 1.5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนถึงสิ้นเดือนมิ.ย. 2023 แล้วจึงค่อยตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรต่อไป ส่วน PEPP จะ Reinvest ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2024 นี้ และอาจจะยังมีต่อเนื่องในอนาคต แต่จะยืดหยุ่นในส่วนของขนาดและเวลาของโปรแกรมขึ้นกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ
Press Conference มี 5 Key Words หลัก
- Fighting Inflation คือ เป้าหมายหลัก เพื่อให้เป้าหมายเงินเฟ้อระยะกลางเข้าใกล้ 2%
- Robust Decision ECB คิดว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเท่านี้เหมาะสมแล้ว
- European Banking Resilient สถาบันการเงินในยุโรปมีความแข็งแกร่ง มีสัดส่วนทางการเงินตามเกณฑ์ และไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่อง
- No-trade Off ECB ไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างการรักษาเสถียรภาพของสถาบันการเงิน ก่อน การรักษาเสถียรภาพทางราคา
- Banks in 2008 vs Today มาตรฐานทางการเงิน Basel III มีความเข้มแข็งมากกว่าสมัยปี 2008 ดังนั้น จะนำมาเทียบกันไม่ได้