โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM
การส่งออกไทยในเดือนก.พ. อยู่ที่ 22,376.3 ดอลลาร์ฯ หรือ หดตัว -4.7% YoY การนำเข้าอยู่ที่ 23,489.7 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 1.1% YoY เป็นดุลการค้าขาดดุล -1,113.4 ล้านดอลลาร์ฯ
- ภาพรวม 2 เดือนแรกของปีการส่งออก มีมูลค่า 42,625.8 ล้านดอลลาร์ฯ หรือหดตัว -4.6% YoY YTD
- การนำเข้า มีมูลค่า 48,388.8 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.3% YoY YTD
- ดุลการค้า 2 เดือนแรกของปี ขาดดุล -5,763.1 ล้านดอลลาร์ฯ
ในรายสินค้า
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 3.6% YoY กลับมาขยายตัวในรอบ 5 เดือน โดยเป็นการขยายตัว ทั้งหมวดสินค้าเกษตร ขยายตัว 1.5% และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 5.6% สำหรับตัวเลข YTD ขยายตัว 0.6% YoY YTD
สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่
สินค้า | ขยายตัว (YoY) | ตลาดที่ขยายตัวดี |
น้ำตาลทราย | 21.4% | อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา มาเลเซีย และลาว |
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง | 5.2% | จีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย เนเธอร์แลนด์ และลาว |
ข้าว | 7.7% | อิรัก อินโดนีเซีย เซเนกัล โมซัมบิก และ แอฟริกาใต้ |
ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง | 95.0% | จีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ฮ่องกง และอินโดนีเซีย |
ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง | 61.6% | จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ |
สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่
สินค้า | หดตัว (YoY) | ตลาดที่หดตัว |
ยางพารา | -34.0% | จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และตุรกี |
อาหาร ทะเลกระป๋อง/แปรรูป | -9.1% | สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และอียิปต์ |
อาหารสัตว์เลี้ยง | -23.4% | ตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และอิตาลี |
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว -6.2% (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน โดยตัวเลขสองเดือนแรกหดตัว -5.8% YoY YTD
สินค้าที่ขยายตัว ได้แก่
สินค้า | ขยายตัว (YoY) | ตลาดที่ขยายตัวดี |
รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ | 3.6% | ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม |
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) | 81.7% | ฮ่องกง สิงคโปร์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฝรั่งเศส |
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ | 15.7% | ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์ |
สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่
สินค้า | หดตัว (YoY) | ตลาดที่หดตัว |
สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน | -20.6% | จีน อินเดีย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม |
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ | -22.9% | สหรัฐฯ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ |
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ | -12.9% | สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย |
Bottom Line
- แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า ช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ประเทศคู่ค้าหลักยังคงเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ
- คาดว่าช่วงหลังของปี การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงตามแนวโน้มราคาพลังงาน และปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกที่ทยอยคลี่คลาย นอกจากนี้ แรงหนุนจากการเปิดประเทศของจีน และการฟื้นตัวของ ภาคบริการและการท่องเที่ยวจะช่วยหนุนอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าในระยะข้างหน้า