2023 – The Rise of Asia |
INVESTMENT STRATEGY
By BBLAM
“ขณะที่ สถานการณ์ทางการเงินเป็นความผันผวนหลัก สถานการณ์ทางการเมืองและการค้าระหว่างประเทศก็เป็นปัจจัยที่ต้องตามเช่นกัน “
ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM กล่าวว่า “Bank Run อยู่หน้าฉาก ส่วนหลังฉาก คือ ประเด็นด้าน Geopolitics”
ขณะที่ ภาพของสถาบันการเงินในสหรัฐฯยังมีความไม่แน่นอน ประเด็นเรื่องความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ก็ยังไม่จบเริ่มจากการที่
- ผู้นำจีนไปเยือนรัสเซีย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือด้านการค้าต่อกันและจะเพิ่มสัดส่วนการใช้การตัดจ่ายด้วยการใช้ค่าเงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency Settlement) มากขึ้น
- ด้านผู้นำบราซิลและจีนอยู่ในช่วงของการเจรจาการค้า เพื่อเพิ่ม Volume การซื้อขายสินค้ากลุ่มโภคภัณฑ์เกษตร โดยบราซิลหวังตัดช่องสหรัฐฯ ในการจำหน่ายข้าวโพดไปยังตลาดเอเชีย
- ขณะเดียวกัน ผู้นำญี่ปุ่นก็ไปเยือนยูเครนในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
- ด้านสหรัฐฯ กำลังจะออกเกณฑ์การให้ความสนับสนุนทางด้านการเงินกับอุตสาหกรรม EV จาก Inflation Reduction Act ซึ่งในเบื้องต้นได้ระบุสองเงื่อนไขหลักว่า 1) รถ EV ที่เข้าข่ายได้รับ Tax Credit จะต้องประกอบในสหรัฐฯ และ 2) จะต้องมีสินแร่ในแบตเตอรี่จากประเทศที่มีข้อตกลงความร่วมมือทางการค้า หรือ FTA กับสหรัฐฯตามสัดส่วนที่กำหนด เป็นผลให้รถยนต์ EV ของ แบรนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มยุโรปไม่เข้าข่ายได้รับการสนับสนุนดังกล่าว กลุ่มประเทศผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบเรียกร้องให้สหรัฐฯทบทวนเกณฑ์อีกครั้ง
จึงยังเห็นว่า ขณะที่ สถานการณ์ทางการเงินเป็นความผันผวนหลัก สถานการณ์ทางการเมืองและการค้าระหว่างประเทศก็เป็นปัจจัยที่ต้องตามเช่นกัน
สำหรับประเด็นรายประเทศที่น่าสนใจ ได้แก่ ความไม่สงบในประเทศฝรั่งเศสที่มีเหตุเกิดขึ้นจากการที่นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสผลักดันการเลื่อนอายุเกษียณออกไปจากเดิมกำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 62 ปี เป็น 64 ปี
Market & Economy |
MONTHLY ECONOMIC REVIEW
Mar – April 2023
By ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM
“ภาพเศรษฐกิจโลกส่วนใหญ่อยู่ขยายตัวในทิศทางชะลอลง มีหดตัวบ้างในบางประเทศ โดยส่วนใหญ่พบว่าการส่งออกมีส่วนกดดันการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก ส่วนประเทศที่มีกลุ่มภาคบริการและท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ของเศรษฐกิจ ก็ยังรับอานิสงส์ด้านบวกจากการท่องเที่ยว”
U.S.
เครื่องชี้เศรษฐกิจประจำเดือนกุมภาพันธ์ ให้สัญญาณที่ปะปน โดยเครื่องชี้ที่ขยายตัวได้ดี คือ การจ้างงานภาคเอกชน (311k เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ 504k) หนุนโดยการจ้างงานในภาคบริการ เช่น กลุ่ม Reopening-related ได้แก่ กลุ่มโรงแรมและ F&B ขณะที่ยอดขายบ้านมือสองยังคงสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง (4.58 ล้านหลัง saar ขยับขึ้น 14.5% MoM saar) ณ ช่วงต้นเดือนมีนาคม ตลาดจึงค่อนข้างคาดหวังว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับได้ไปถึง 6% ในปี 2023
อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้ากลางเดือนมีนาคมเริ่มมีข่าวเกี่ยวกับ Silver Gate Bank (ที่ประสบกับปัญหาสภาพคล่องจากการถูกถอนเงินฝากในรูป Crypto Currency) และสถานการณ์ประทุรุนแรงมากขึ้น เมื่อลูกค้าของ Silicon Valley Bank (ที่มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่ม Tech ประสบกับปัญหาลูกค้าแห่ถอนเงินเช่นเดียวกัน เป็นผลให้ทั้งสองธนาคารต้องปิดตัวและเข้าสู่กระบวนการขอรับความช่วยเหลือจากทางการ สถานการณ์เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อหุ้นของธนาคาร Credit Suisse (เป็นธนาคารที่ประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนักมาระยะใหญ่แล้ว) ดิ่งลงอย่างรวดเร็วเหตุจากผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือ Saudi National Bank ปฏิเสธการเพิ่มทุน เป็นผลให้ตลาดวิตกกับสถานการณ์ แม้ว่า แต่ละธนาคารมีสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเกิดปัญหาการถอนเงินใกล้ๆ กัน ความไม่เชื่อใจของผู้ฝากเงินต่อธนาคารจึงลุกลามบานปลายไปยังธนาคารอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นผลให้เกิดการแห่ถอนเงินฝาก กระทั่ง Credit Rating Agency หลายเจ้าออกมาประกาศพิจารณา Credit Rating ธนาคารในสหรัฐฯ เหตุการณ์ Bank Run/Crisis ถือเป็นสถานการณ์ที่วิกฤติและมีความจำเป็นยุติให้เร็วที่สุด ทางการจึงมีความจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์แทบจะในทันที สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ คือ พบว่าผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินจากธนาคารขนาดเล็กและกลางแล้วนำเงินไปฝากธนาคารขนาดใหญ่ ยิ่งเป็นภาระให้กับธนาคารขนาดใหญ่ในการบริหารจัดการเงินฝาก ซึ่งถือเป็นต้นทุนของธนาคาร
ผู้ลงทุนได้เริ่มตั้งคำถามกับคุณภาพของหุ้นกู้ที่ออกโดยธนาคารว่าจะเป็นหุ้นกู้ประเภทไหน จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ ขณะที่ ธนาคารกำลังเผชิญกับ Cost of Funding ที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก Credit Rating ที่อาจถูกปรับลดลง
นอกเหนือไปจากนั้น ด้วยทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินยังคงเป็นดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นอีกความท้าทายต่อธุรกิจธนาคารที่ยังต้องประสบปัญหา Mark to Market Loss ในเชิงบัญชี (จากที่ปัจจุบัน Loss ในเชิงบัญชีอยู่แล้ว 2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ) ยิ่งเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 bps ยิ่งเป็นผลให้ธนาคารประสบกับภาวะขาดทุนทางบัญชีต่อไป และนักลงทุนกลับมาตั้งคำถามว่า Fed ยังจะสามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวได้ไปได้อีกนานแค่ไหน
ประเด็นคำถามถัดไป คือ Bank Run นี้จะสามารถยุติได้หรือไม่ Paul Krugman ได้ให้ความเห็นกับประเด็นนี้ว่า ทางการออกมาตรการทั้งหมดที่ควรทำแล้ว แต่ Bank จะหยุด Run ก็ต่อเมื่อ ลูกค้าหยุดตกใจ ซึ่งจะหยุดตกใจได้เมื่อไหร่นั้น ก็ยังเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก
ด้านทิศทางนโยบายการเงินนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯหรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11:0) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bp สู่กรอบ 4.75-5.0% โดยมองว่าการคงนโยบายการเงินแบบคุมเข้มยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายระยะกลางที่ 2% และยังเร็วไปที่จะสามารถคาดการณ์ผลกระทบเรื่อง Bank Run แต่ประธาน Fed คิดว่าน่าจะใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ รองรับสถานการณ์ดังกล่าวได้ โดยมองว่าสภาพคล่องที่ตึงตัวจะส่งผลต่อครัวเรือนและธุรกิจ และยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ ทั้งนี้เครื่องชี้เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตด้านอุตสาหกรรมในสหรัฐฯได้ส่งสัญญาณการชะลอลงท่ามกลางความกดดันจากการส่งออกโลกและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเครื่องชี้ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ไม่เติบโตจากปีก่อน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/3-7-2023