มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนเมษายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-8 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 9-18 bps. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 29 มีนาคม 2566 เป็นผลจากท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ส่งสัญญาณโทน Hawkish ทำให้ตลาดเพิ่มน้ำหนักโอกาสที่จะเห็นการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 2.00% โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งถัดไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 3 พ.ค. มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 5.00-5.25% ตามคาด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐอเมริกาที่กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง รวมถึงปัญหาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ที่สหรัฐฯ อาจเผชิญการผิดนัดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยเฟดยังคงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2 ในระยะยาว ทำให้สัญญาณที่ส่งออกมาไม่ชัดเจนว่า ครั้งนี้จะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายหรือไม่ ล่าสุด แพคเวสต์ แบงคอร์ป บริษัทแม่ของธนาคารแปซิฟิก เวสเทิร์น แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารประจำภูมิภาคของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ว่า ธนาคารกำลังสำรวจทางเลือกด้านกลยุทธ์ โดยได้ติดต่อผู้ที่อาจเป็นหุ้นส่วนหรือนักลงทุนเพื่อเจรจา ข่าวนี้ยิ่งสร้างความกังวลต่อระบบธนาคารของสหรัฐอเมริกามากขึ้นไปอีก
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 4 พ.ค. มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ระดับ 3.75% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 3.25% และ 4.00% ตามลำดับ โดย ECB ระบุว่า เงินเฟ้อในยูโรโซนยังคงมีแนวโน้มอยู่สูงเกินไปและนานเกินไป ทำให้คาดว่า ECB จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งมองว่ามีโอกาสที่ กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสู่ระดับ 2.00% จากท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีมุมมองห่วงปัญหาเงินเฟ้อและมองเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี คาดว่าความผันผวนจะน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา จากการที่เฟดใกล้ยุติวงจรปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนเมษายน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-8 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 9-18 bps. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 29 มีนาคม 2566 เป็นผลจากท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ส่งสัญญาณโทน Hawkish ทำให้ตลาดเพิ่มน้ำหนักโอกาสที่จะเห็นการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 2.00% โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งถัดไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 3 พ.ค. มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps สู่ระดับ 5.00-5.25% ตามคาด ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐอเมริกาที่กลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง รวมถึงปัญหาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ที่สหรัฐฯ อาจเผชิญการผิดนัดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยเฟดยังคงเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2 ในระยะยาว ทำให้สัญญาณที่ส่งออกมาไม่ชัดเจนว่า ครั้งนี้จะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายหรือไม่ ล่าสุด แพคเวสต์ แบงคอร์ป บริษัทแม่ของธนาคารแปซิฟิก เวสเทิร์น แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารประจำภูมิภาคของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ว่า ธนาคารกำลังสำรวจทางเลือกด้านกลยุทธ์ โดยได้ติดต่อผู้ที่อาจเป็นหุ้นส่วนหรือนักลงทุนเพื่อเจรจา ข่าวนี้ยิ่งสร้างความกังวลต่อระบบธนาคารของสหรัฐอเมริกามากขึ้นไปอีก
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 4 พ.ค. มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้น 25 bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ที่ระดับ 3.75% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 3.25% และ 4.00% ตามลำดับ โดย ECB ระบุว่า เงินเฟ้อในยูโรโซนยังคงมีแนวโน้มอยู่สูงเกินไปและนานเกินไป ทำให้คาดว่า ECB จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งมองว่ามีโอกาสที่ กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสู่ระดับ 2.00% จากท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีมุมมองห่วงปัญหาเงินเฟ้อและมองเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวยังมีความผันผวนตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี คาดว่าความผันผวนจะน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา จากการที่เฟดใกล้ยุติวงจรปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว