กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX)
กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF)
กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)
ตราสารหนี้
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นในแทบทุกช่วงอายุ โดยช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 19 – 25 bps. ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับเพิ่มขึ้น 1 – 16 bps. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามความคาดการณ์ของตลาดที่มองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้นสู่ระดับ 2.00% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. 2566
• เมื่อวันที่ 31 พ.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เป็น 2.00% ต่อปี ตามที่ตลาดคาด และมองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ การส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 3.6% และ 3.8% ในปี 2023 และ 2024 สำหรับเงินเฟ้อมองว่า แม้มีแนวโน้มปรับลดลงในส่วนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวอยู่ที่ 2% ในปี 2023 และ 2024 ซึ่งนับว่าสูงเมื่อเทียบกับตัวเลขในอดีต จึงเห็นว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย
• ในส่วนของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ตลาดเผชิญความผันผวนอย่างหนักตลอดทั้งเดือน จากความวิตกเกี่ยวกับปัญหาเพดานหนี้ (Debt Ceiling) อย่างไรก็ดี ความกังวลนี้คลายลงหลังสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาของสหรัฐฯ ลงมติผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ ที่ชื่อ พ.ร.บ.ความรับผิดชอบทางการคลัง (Fiscal Responsibility Act) ในวันที่ 2 มิ.ย.และในวันที่ 5 มิ.ย. ประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ลงนามบังคับใช้กฎหมายเพื่อระงับการตั้งเพดานหนี้จนถึงเดือนมกราคม 2025 และเปิดทางให้รัฐบาลเดินหน้ากู้ยืมได้เกินกว่าระดับเพดานหนี้ปัจจุบันที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ฯ เป็นระยะเวลา 19 เดือนบนเงื่อนไขที่กำหนดนอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว ตลาดยังผันผวนจากความคาดหวังของตลาดที่เปลี่ยนไปมาเกี่ยวกับการดาเนินนโยบายดอกเบี้ยของเฟด จากเดิมตลาดคาดว่า เฟดมีแนวโน้มยุติวงจรการขึ้นดอกเบี้ยจนถึงอาจลดดอกเบี้ยภายในปีนี้ เปลี่ยนเป็นเฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก 1 – 2 ครั้งภายในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตดีกว่าคาด เงินเฟ้อแม้ชะลอแต่คงตัวในระดับสูง รวมถึงตลาดแรงงานที่ชะลออย่างช้าๆ แต่แข็งแกร่งกว่าคาด สำหรับการประชุม Fed ครั้งถัดไปจะมีขึ้นในวันที่ 13 – 14 มิ.ย.
• แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป คาดว่า ปริมาณพันธบัตรเสนอขายที่ลดลงในไตรมาสสี่ จากความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนราคาพันธบัตร อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นจะปรับตัวตามดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งมองว่ามีโอกาสที่ กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปสู่ระดับ 2.25% จากท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีมุมมองห่วงปัญหาเงินเฟ้อและเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวมีแนวโน้มผันผวนตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของสหรัฐฯ
ตราสารทุน
• ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยผลตอบแทนระหว่างหุ้นเติบโตสูงกับหุ้นกลุ่มวัฏจักรค่อนข้างแตกต่างกัน โดยหุ้นเติบโตสูงซึ่งนำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นค่อนข้างมาก ด้วยการขับเคลื่อนโดยปัจจัย อาทิ ผลประกอบการที่ดีของหุ้นเทคโนโลยี โดยเฉพาะบริษัทที่ได้ผลประโยชน์จากการเพิ่มการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมทั้งหลายบริษัทในกลุ่มซอฟท์แวร์มีผลประกอบการที่ดีกว่าตลาดคาด นอกจากนี้ ยังได้แรงหนุนจากสัญญาณการใกล้หยุดขึ้นดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ใช่เทคโนโลยี ทั้งในสหรัฐฯ รวมถึงตลาดหุ้นอื่นทั่วโลก ส่วนใหญ่ดัชนีจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง ด้วยความเสี่ยงจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีสัญญาณชะลอลง โดยตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั้นมีสัญญาณที่ปะปนทั้งด้านดีและไม่ดี โดยดัชนี ISM ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ปรับตัวลดลง ขณะที่ ตัวเลขการจ้างงานยังค่อนข้างแข็งแกร่ง ส่วนทางด้านเศรษฐกิจจีนที่เคยถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ก็ฟื้นตัวไม่ได้เร็วอย่างที่หลายฝ่ายคาด โดยภาพรวมนับว่าเศรษฐกิจโลกแม้จะชะลอตัว แต่ก็ไม่ได้เป็นการชะลอรุนแรงมากนัก ซึ่งตลาดหุ้นน่าจะตอบสนองต่อแนวโน้มดังกล่าวไปพอบ้างแล้ว โดยราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ปรับตัวมาเร็วในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา อาจจะมีการย่อตัวบ้างด้วย Valuation ที่ตึงตัวมากขึ้น แต่หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่อิงกับภาวะเศรษฐกิจนั้น น่าจะไม่ปรับตัวลงไปมากนัก จากระดับปัจจุบันด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (ถ้าไม่ได้มีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำในตลาดหุ้น)
• ด้านสหรัฐฯ การบรรลุข้อตกลงการขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่ทำให้ความกังวลต่อการผิดชำระหนี้ของสหรัฐฯได้คลี่คลายออกไป ยังมีเรื่องโอกาสที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 bps จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังออกมาแข็งแกร่ง และยังคงมองว่า ปัญหาเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังไม่สิ้นสุดลง
• ตลาดหุ้นไทยดัชนี SET Index ค่อนข้างทรงตัวจากพฤษภาคม โดยมีความผันผวนช่วงหลังเลือกตั้งอยู่บ้าง อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ช้า กับการที่จานวนนักท่องเที่ยวจีนชะลอกว่าที่คาด (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผ่านช่วง High season ของการท่องเที่ยว) ทำให้มีแรงขายในหุ้นกลุ่มโรงแรม และหุ้นวัฏจักร เช่น กลุ่มปิโตรเคมี หรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งตอนนี้ตลาดน่าจะตอบสนองต่อความไม่แน่นอนต่างๆ ไปพอสมควรแล้ว และหลังจากนี้ นักลงทุนน่าจะกลับมาให้น้ำหนักกับแนวโน้มผลประกอบการของหุ้นรายตัวมากขึ้น ซึ่งหลังจากผลประกอบการไตรมาส 1/2566 หุ้นที่อิงกับการบริโภคในประเทศส่วนใหญ่ยังแสดงถึงสัญญาณการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ และคาดว่ามีโอกาสที่การฟื้นตัวจะมีความต่อเนื่องได้ในช่วงที่เหลือของปี อีกทั้งหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงมาพอสมควรก็อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้ ถ้าหากเศรษฐกิจโลกไม่ได้แย่อย่างที่หลายฝ่ายกังวลกันและสามารถกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้นในปีหน้า ซึ่งน่าจะช่วยให้การฟื้นตัวของหุ้นไทยยังมีโมเมนตัมต่อเนื่องได้หลังจากนี้
• ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 31.7% กลุ่มยานยนต์ 5.8% และกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิต 4.0% ในขณะที่ กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนติดลบมากที่สุดในช่วงเดียวกัน ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมี -8.3% กลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการ -6.5% และกลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง -6.2% โดยปริมาณการซื้อขายในเดือนพฤษภาคมนั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 3.3 หมื่นล้าน โดยเป็นการขายสี่เดือนติดต่อกัน นักลงทุนทั่วไปภายในประเทศซื้อสุทธิ 0.5 หมื่นล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ขายสุทธิ 0.2 หมื่นล้านบาท และนักลงทุนสถาบันภายในประเทศซื้อสุทธิ 3 หมื่นล้านบาท
• ปัจจัยทางการเมืองเข้ามามีผลให้ต่างชาติเทขายหุ้นไทยจากความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล โดยที่ต่างชาติขายหุ้นไทย 616 ล้านเหรียญ ทั้งเดือนพ.ค. และขาย 2.3 พันล้านเหรียญตั้งแต่ต้นปี ทำให้มองว่า ตลาดรับรู้ความเสี่ยงเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลไปแล้ว ในขณะที่ เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว ซึ่งจะดีต่อหุ้นที่เน้นการบริโภคในประเทศ ราคาหุ้นที่ปรับลงมาทำให้เราเพิ่มน้ำหนักและแนะนำสะสมหุ้นไทย
• กลยุทธ์การลงทุนและมุมมองในไตรมาส 2/2566 ยังคงมุมมองว่า พื้นฐานของเศรษฐกิจประเทศไทยนั้นยังมีโอกาสในการฟื้นตัว นาโดยภาคการท่องเที่ยว โดยคาดว่าหลังจากเห็นความชัดเจนจากการเลือกตั้งแล้ว หากประเทศไทยได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพมีการฟังความเห็นของภาคเศรษฐกิจมาปรับนโยบายให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของประเทศ ตลาดหุ้นไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นได้
พอร์ตการลงทุนไตรมาสที่ผ่านมา
• B-FLEX: กองทุนลดน้าหนักการลงทุนตราสารหนี้ ในพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปีเป็นส่วนใหญ่ และเพิ่มสัดส่วนหุ้นกู้ อายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ลดลงจากไตรมาสก่อน และกองทุนได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเป็น 20% จาก 9% ในไตรมาสก่อน โดยเพิ่มน้ำหนักหุ้นกลุ่มมีเดีย ธนาคาร อาหาร พลังงาน และวัสดุก่อสร้าง ในขณะที่ ลดน้ำหนักหุ้นกลุ่มพาณิชย์ และ เดินทางขนส่ง
• B-ACTIVE: ในไตรมาส 1 กองทุนได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเป็น 54% จาก 31% ณ สิ้นไตรมาสก่อน โดยได้เข้าลงทุนเพิ่มในหุ้นกลุ่มธนาคาร อาหาร วัสดุก่อสร้าง มีเดีย อสังหาริมทรัพย์ และบริการ ในขณะที่ลดสัดส่วนหุ้นในกลุ่ม ยานยนต์ พาณิชย์ และอิเล็กทรอนิกส์
• B25RMF: กองทุนลดน้ำหนักพันธบัตรระยะสั้น โดยเพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้และเงินฝาก โดยอายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในส่วนของหุ้น กองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้น กลุ่ม อาหาร พาณิชย์ สื่อสาร และ โรงพยาบาล โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่ม ไฟแนนซ์ อสังหาริมทรัพย์ ปิโตรเคมี และ พลังงาน
• BFLRMF: กองทุนลดน้ำหนักพันธบัตรระยะสั้น โดยเพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้และเงินฝาก โดยอายุเฉลี่ยของพอร์ต (Portfolio duration) ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน ในส่วนของหุ้น กองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้นกลุ่ม พาณิชย์ มีเดีย อสังหาริมทรัพย์ และอิเล็กทรอนิกส์ โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่ม พลังงาน ไฟแนนซ์ ขนส่ง ปิโตรเคมี และธนาคาร
Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดาเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดาเนินงานในอนาคต