มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนก.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก และไม่ค่อยเคลื่อนไหวตามตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในโหมด wait-and-see ทั้งรอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงต้นเดือนส.ค. และรอความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล
สำหรับในเดือนนี้ มีการประชุมของธนาคารกลางสำคัญๆ ที่ตลาดต่างให้ความสนใจทั้ง Fed ECB และ BoJ โดย Fed และ ECB ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ขณะที่ BoJ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่เปลี่ยนกรอบการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้
Fed มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 25bps สู่ระดับ 5.25-5.50% ภาพรวมถ้อยแถลงหลังประชุมแทบไม่แตกต่างจากการประชุมเมื่อครั้งก่อนในเดือนมิ.ย. โดยยังมองภาพการจ้างงานที่แข็งแกร่ง และอัตราการว่างงานในระดับต่ำ ขณะที่ยังมองกิจกรรมเศรษฐกิจขยายตัว ด้านเงินเฟ้อยังมองว่าเติบโตในระดับสูง สำหรับนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มเติมในระยะข้างหน้านั้น Fed ยังคงเน้นย้ำว่าขึ้นอยู่กับ 1) การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2) ความล่าช้าของระยะเวลาที่นโยบายการเงินจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และ 3) พัฒนาการเศรษฐกิจและการเงิน
ECB มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations, Marginal Lending Facility และ Deposit Facility Rates สู่ระดับ 4.25%, 4.50% และ 3.75% ตามลำดับ โดย ECB มองว่า แม้เงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงต่อเนื่อง แต่ยังคงถูกคาดการณ์ว่ายังอยู่ในระดับสูงเกินไปและยาวนานเกินไป และจะยังคงอยู่เหนือเป้าหมายในระยะเวลานาน ทั้งนี้ ECB จะยังคงยึดหลักของข้อมูลที่เข้ามา เพื่อกำหนดระดับและระยะเวลาความเข้มงวดของนโยบายที่เหมาะสม
BoJ มีมติเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.10% สำหรับเงินสำรองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ เเละมีมติด้วยคะเเนนเสียงข้างมาก (8 ต่อ 1 เสียง) ให้คงเป้าหมายอัตราผลตอบเเทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Curve Control: YCC) ไว้ที่ประมาณ 0% เเละเคลื่อนไหวในกรอบอ้างอิง +/-0.50% เเละเปลี่ยนกรอบการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ที่อัตราผลตอบเเทน 1.00% จากเดิมที่ 0.50% ภายหลังการประชุมว่าฯ BoJ ได้ออกมาระบุว่า กรรมการธนาคารกลางหลายคนเล็งเห็นถึงเเนวโน้มเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงไปทางด้านสูงมากขึ้น ในขณะที่ผ่านมา ได้ประเมินเเรงกดดันจากเงินเฟ้อตํ่าเกินไป
ในส่วนของไทยนั้น มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ได้มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps สู่ระดับ 2.25% ตามคาดการณ์ในวงกว้างของตลาด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 เนื่องจาก ธปท. ส่งสัญญาณต้องการสร้าง Policy space เพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง ในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และคาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในระยะถัดไป ในขณะที่เงินเฟ้อชะลอลงและมีแนวโน้มทรงตัว แต่ยังคงมีความเสี่ยงด้านสูง
ปัจจัยที่ควรติดตามในช่วงต่อไป ได้แก่ การประชุมประจำปี Jackson Hole Economic Symposium วันที่ 24-26 ส.ค. โดยต้องติดตามสุนทรพจน์ของประธาน Fed ว่า จะส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกหรือไม่ รวมทั้งการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงยาวนานเพียงใด นอกจากนี้ ต้องจับตาการส่งสัญญาณของธนาคารกลางหลักอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ECB, BoE และ BoJ ทั้งในแง่ของดอกเบี้ย เศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ ส่วนปัจจัยในประเทศต้องติดตามการจัดตั้งรัฐบาล และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆ เพื่อนำมาประเมินแนวโน้มทิศทางนโยบายการเงินของ กนง. ซึ่งจะจัดประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 27 ก.ย.
Fund Comment
Fund Comment กรกฎาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนก.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก และไม่ค่อยเคลื่อนไหวตามตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในโหมด wait-and-see ทั้งรอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงต้นเดือนส.ค. และรอความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล
สำหรับในเดือนนี้ มีการประชุมของธนาคารกลางสำคัญๆ ที่ตลาดต่างให้ความสนใจทั้ง Fed ECB และ BoJ โดย Fed และ ECB ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ขณะที่ BoJ คงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่เปลี่ยนกรอบการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้
Fed มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 25bps สู่ระดับ 5.25-5.50% ภาพรวมถ้อยแถลงหลังประชุมแทบไม่แตกต่างจากการประชุมเมื่อครั้งก่อนในเดือนมิ.ย. โดยยังมองภาพการจ้างงานที่แข็งแกร่ง และอัตราการว่างงานในระดับต่ำ ขณะที่ยังมองกิจกรรมเศรษฐกิจขยายตัว ด้านเงินเฟ้อยังมองว่าเติบโตในระดับสูง สำหรับนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มเติมในระยะข้างหน้านั้น Fed ยังคงเน้นย้ำว่าขึ้นอยู่กับ 1) การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2) ความล่าช้าของระยะเวลาที่นโยบายการเงินจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และ 3) พัฒนาการเศรษฐกิจและการเงิน
ECB มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations, Marginal Lending Facility และ Deposit Facility Rates สู่ระดับ 4.25%, 4.50% และ 3.75% ตามลำดับ โดย ECB มองว่า แม้เงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงต่อเนื่อง แต่ยังคงถูกคาดการณ์ว่ายังอยู่ในระดับสูงเกินไปและยาวนานเกินไป และจะยังคงอยู่เหนือเป้าหมายในระยะเวลานาน ทั้งนี้ ECB จะยังคงยึดหลักของข้อมูลที่เข้ามา เพื่อกำหนดระดับและระยะเวลาความเข้มงวดของนโยบายที่เหมาะสม
BoJ มีมติเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.10% สำหรับเงินสำรองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ เเละมีมติด้วยคะเเนนเสียงข้างมาก (8 ต่อ 1 เสียง) ให้คงเป้าหมายอัตราผลตอบเเทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Curve Control: YCC) ไว้ที่ประมาณ 0% เเละเคลื่อนไหวในกรอบอ้างอิง +/-0.50% เเละเปลี่ยนกรอบการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ที่อัตราผลตอบเเทน 1.00% จากเดิมที่ 0.50% ภายหลังการประชุมว่าฯ BoJ ได้ออกมาระบุว่า กรรมการธนาคารกลางหลายคนเล็งเห็นถึงเเนวโน้มเงินเฟ้อในระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงไปทางด้านสูงมากขึ้น ในขณะที่ผ่านมา ได้ประเมินเเรงกดดันจากเงินเฟ้อตํ่าเกินไป
ในส่วนของไทยนั้น มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ได้มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps สู่ระดับ 2.25% ตามคาดการณ์ในวงกว้างของตลาด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 เนื่องจาก ธปท. ส่งสัญญาณต้องการสร้าง Policy space เพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง ในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และคาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในระยะถัดไป ในขณะที่เงินเฟ้อชะลอลงและมีแนวโน้มทรงตัว แต่ยังคงมีความเสี่ยงด้านสูง
ปัจจัยที่ควรติดตามในช่วงต่อไป ได้แก่ การประชุมประจำปี Jackson Hole Economic Symposium วันที่ 24-26 ส.ค. โดยต้องติดตามสุนทรพจน์ของประธาน Fed ว่า จะส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกหรือไม่ รวมทั้งการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงยาวนานเพียงใด นอกจากนี้ ต้องจับตาการส่งสัญญาณของธนาคารกลางหลักอื่นๆ ด้วย ได้แก่ ECB, BoE และ BoJ ทั้งในแง่ของดอกเบี้ย เศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ ส่วนปัจจัยในประเทศต้องติดตามการจัดตั้งรัฐบาล และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆ เพื่อนำมาประเมินแนวโน้มทิศทางนโยบายการเงินของ กนง. ซึ่งจะจัดประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 27 ก.ย.