เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นทรงตัวในเดือนสิงหาคม และอยู่เหนือเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ BOJ เริ่มพิจารณายกเลิกการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultra-loose Policy)
โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด แต่รวมเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 3.1% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงกว่าการคาดการณ์เฉลี่ยของตลาดที่ระดับ 3.0% โดยดัชนี CPI พื้นฐานเดือนส.ค.ขยายตัวในระดับเดียวกับเดือนก.ค.ซึ่งอยู่ที่ 3.1%
แม้ว่าเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะกดดันค่าสาธารณูปโภค แต่ราคาอาหารและของใช้ในชีวิตประจำวันก็ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อคงที่กำลังครอบงำในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
ขณะที่ ดัชนีราคาบริการเพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนสิงหาคม หลังจากเพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งบ่งชี้ว่า ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่แรงกดดันด้านราคาในวงกว้างในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลก
ส่วนดัชนี Core-Core CPI ซึ่งไม่รวมทั้งราคาเชื้อเพลิงและราคาอาหารสด เพิ่มขึ้น 4.3% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี และเป็นการขยายตัวในอัตราเดียวกับเดือนก.ค.เช่นกัน
ที่มา: รอยเตอร์