การปรับแกนนโยบายสำคัญของธนาคารกลางสหรัฐฯ มาเป็นสายพิราบ (dovish) หรือผ่อนคลายทางการเงินในเดือน ธ.ค.ได้สนับสนุนกรณีการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ปี 2567 แม้ว่าความเข้มแข็งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจำกัดการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากทะยานสูงสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษ จากการกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 ค่าเงินของสหรัฐฯ ได้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเป็นส่วนใหญ่ในปีนี้ จากการกลับมาของการเติบโตของสหรัฐฯ ที่ยืดหยุ่นกลับคืนสู่สภาพเดิม และการให้คำมั่นของธนาคารกลางจะยังคงรักษาต้นทุนการกู้ยืมให้สูงขึ้น
การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งหนึ่งที่ไม่ได้คาดไว้ หลังจากประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ กล่าวว่า การคุมเข้มนโยบายการเงินครั้งประวัติศาสตร์ซี่งได้นำพาอัตราดอกเบี้ยไปสู่ระดับสูงสุดของเฟดในรอบหลายทศวรรษนั้น น่าที่จะจบลงแล้ว เนื่องจากการชะลอลงของอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายในขณะนี้ คาดการณ์ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.75% ในปีหน้า
อัตราดอกเบี้ยที่ร่วงลงโดยทั่วไปถูกมองว่าเป็นแรงต้านสำหรับเงินดอลลาร์ ทำให้สินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีความน่าดึงดูดน้อยลงต่อนักลงทุนที่แสวงหาอัตราผลตอบแทน ถึงแม้ว่านักกลยุทธ์ได้คาดการณ์ว่าค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงในปีหน้า ซึ่งความรวดเร็วของการหั่นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วขึ้นอาจจะเร่งให้มีการปรับตัวลดลงของเงินดอลลาร์ การเดิมพันต่อการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ยังคงเป็นการดำเนินการที่ไม่น่าปลอดภัยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และนักลงทุนบางส่วนได้ระมัดระวังการดำเนินการก่อนช่วงเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอุปสรรคต่อนักลงทุนที่มองในขาลง (bearish) ของเงินดอลลาร์
โพลของรอยเตอร์ที่สำรวจนักกลยุทธ์ 71 รายเมื่อต้นเดือน ธ.ค. แสดงให้เห็นความคาดหวังว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินในกลุ่มประเทศ G10 ในปี 2567 ด้วยการปรับลดลงของเงินดอลลาร์สหรัฐในสัดส่วนที่มากกว่า ซึ่งจะมาถึงในช่วงครึ่งหลังของปี
ด้านยูโรโซนยังเห็นการตกต่ำในกิจกรรมธุรกิจลึกมากยิ่งขึ้นในเดือน ธ.ค. จากการสำรวจที่เฝ้าจับตาอย่างใกล้ชิดซึ่งแสดงถึงเศรษฐกิจของกลุ่มยุโรปนั้นเกือบจะแน่นอนแล้วว่าอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงไม่ยอมรับในความคาดหวังของการหั่นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก ECB ยังคงมุ่งเน้นในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ เงินยูโรแข็งค่าขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในปีนี้
ธานอส บาร์ดาส (Thanos Bardas) ผู้จัดการกองทุนอาวุโสของบริษัท นิวเบอร์เกอร์ เบอร์แมน (Neuberger Berman) มีมุมมองเชิงบวกต่อเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงอีก 12 เดือนข้างหน้า โดยระบุว่า การเติบโตที่ชะลอตัวลงจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ มากกว่า และสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงใช้เวลาอีกพักหนึ่งสำหรับการเติบโตก่อนที่จะชะลอตัวลง
ที่มา: รอยเตอร์