มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนพ.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุประมาณ 0.05% – 0.40% จากเดือนก่อน เป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับลดลงกว่า 0.60% ในเดือนพ.ย.มาอยู่ที่ระดับ 4.32% โดยตลาดตราสารหนี้ได้รับปัจจัยบวกจากการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณถึงการสิ้นสุดวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาในเดือนพ.ย.ส่งสัญญาณที่ชะลอตัวลง ทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ และอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค.ที่ลดลงมาอยู่ที่ 3.2% จาก 3.7% ในเดือนก่อน ส่งผลให้ตลาดเริ่มให้น้ำหนักที่ FED อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในครึ่งปีแรกของปี 2024 ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่ตลาดมีความกังวลเรื่องปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการแจกเงินดิจิตอลของรัฐบาลได้ผ่อนคลายลง หลังมีการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขมาตรการใหม่ ทำให้จะใช้วงเงินงบประมาณลดลงเหลือ 500,000 ล้านบาท และรัฐบาลมีแผนที่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาผ่านรัฐสภา ซึ่งจะทำให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ล่าช้าออกไปจากแผนเดิม
สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยในวันที่ 29 พ.ย.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% โดยกนง.ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว แต่ภาคการส่งออกอาจจะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก พร้อมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2023 และ 2024 ลงเหลือ +2.4% และ +3.2% จากเดิม +2.8% และ +4.4% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย.ของไทยอยู่ที่ -0.44% ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 33 เดือนโดยมีสาเหตุหลักมาจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ทำให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานปรับลดลงถึง -4.74%
สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ แนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการประชุมของ FED ในช่วงกลางเดือนธ.ค.ที่จะส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วภายในครึ่งปีแรกของปี 2024 ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้หรือไม่ ซึ่งหาก FED ยังกังวลต่อทิศทางเงินเฟ้อ และยืนยันการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป อาจทำให้ตลาดปรับเปลี่ยนมุมมองทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯกลับมาผันผวนในทิศทางขาขึ้นได้ สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ตลาดยังคงต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการขาดดุลการคลังและส่งผลต่อปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้
Fund Comment
Fund Comment พฤศจิกายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้
ในเดือนพ.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุประมาณ 0.05% – 0.40% จากเดือนก่อน เป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับลดลงกว่า 0.60% ในเดือนพ.ย.มาอยู่ที่ระดับ 4.32% โดยตลาดตราสารหนี้ได้รับปัจจัยบวกจากการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณถึงการสิ้นสุดวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้ ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาในเดือนพ.ย.ส่งสัญญาณที่ชะลอตัวลง ทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ และอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค.ที่ลดลงมาอยู่ที่ 3.2% จาก 3.7% ในเดือนก่อน ส่งผลให้ตลาดเริ่มให้น้ำหนักที่ FED อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในครึ่งปีแรกของปี 2024 ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่ตลาดมีความกังวลเรื่องปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการแจกเงินดิจิตอลของรัฐบาลได้ผ่อนคลายลง หลังมีการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขมาตรการใหม่ ทำให้จะใช้วงเงินงบประมาณลดลงเหลือ 500,000 ล้านบาท และรัฐบาลมีแผนที่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาผ่านรัฐสภา ซึ่งจะทำให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ล่าช้าออกไปจากแผนเดิม
สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยในวันที่ 29 พ.ย.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% โดยกนง.ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว แต่ภาคการส่งออกอาจจะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก พร้อมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2023 และ 2024 ลงเหลือ +2.4% และ +3.2% จากเดิม +2.8% และ +4.4% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย.ของไทยอยู่ที่ -0.44% ยังคงติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 33 เดือนโดยมีสาเหตุหลักมาจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ทำให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานปรับลดลงถึง -4.74%
สำหรับปัจจัยและความเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ แนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการประชุมของ FED ในช่วงกลางเดือนธ.ค.ที่จะส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วภายในครึ่งปีแรกของปี 2024 ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้หรือไม่ ซึ่งหาก FED ยังกังวลต่อทิศทางเงินเฟ้อ และยืนยันการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป อาจทำให้ตลาดปรับเปลี่ยนมุมมองทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯกลับมาผันผวนในทิศทางขาขึ้นได้ สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ตลาดยังคงต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการขาดดุลการคลังและส่งผลต่อปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้