ตลาดหุ้นโลกในเดือนแรกของปี 2024 เปิดมาปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.6% จากเดือนที่ผ่านมา โดยในช่วงแรกของเดือนตลาดมีความคาดหวังว่า จะเห็นเฟดเริ่มประกาศลดดอกเบี้ยในเร็วนี้ ด้วยมุมมองว่า อัตราเงินเฟ้อจะทยอยปรับลดลงและเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสชะลอตัว ส่งผลทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หลังจากการประชุมของเฟดในรอบสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีมติในการคงดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด อีกทั้งเฟดยังมีมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งการจ้างงานและเงินเฟ้อที่กำลังเข้าสู่จุดสมดุล ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น ดัชนี ISM ทั้งภาคผลิตและบริการ รวมทั้งตัวเลขการจ้างงานนั้น ล้วนแสดงถึงสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ ประธานเฟดยังได้ส่งสัญญาณว่า จะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงในเดือนมีนาคมนี้ ส่งผลให้ความคาดหวังของตลาดต่อการลดดอกเบี้ยครั้งแรกได้ขยับออกไปในเดือนพฤษภาคม หรืออาจจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปีก็เป็นได้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาเหนือระดับ 4% ในส่วนตลาดหุ้นใหญ่ อย่างสหรัฐฯ ได้เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการอีกครั้ง โดยหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่หลายรายได้ประกาศผลประกอบการออกมาในทิศทางที่ดี แต่หุ้นของหลายบริษัทกลับปรับตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของตลาดอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ Valuation ของหุ้นขนาดใหญ่เริ่มมีความตึงตัว จึงเป็นความเสี่ยงที่เราอาจจะเริ่มเห็นแรงขายทำกำไรในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกิดขึ้นได้
ในฝั่งตลาดหุ้นจีนในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เผชิญกับความผันผวนอย่างมาก โดยตลาดมีความกังวลกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในจีนเพิ่มมากขึ้น หลังจากศาลสูงฮ่องกงประกาศให้บริษัท China Evergrande เข้าสู่กระบวนการล้มเลิกกิจการ และนำทรัพย์สินมาใช้คืนให้กับเจ้าหนี้ ส่งผลทำให้ตลาดหุ้นจีนที่มีความเปราะบางอยู่ก่อนหน้าแล้ว ถูกซ้ำเติมลงไปอีก ในขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ประกาศออกมาในไตรมาส 4 ขยายตัวเพียง 1% ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้านี้ที่ขยายตัว 1.5% โดยตัวเลข GDP ของจีนในปี 2566 มีการขยายตัวที่ 5.2% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายจากทางรัฐบาลที่ 5% เพียงเล็กน้อย แต่ยังคงต่ำกว่าความคาดหวังของตลาด นอกจากนี้ ราคาบ้านและการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ยังคงสร้างความผิดหวังให้กับตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในเดือนมกราคมดัชนี CSI 300 และ Hang Seng ปรับตัวลดลงถึง -6.2% และ -9.6% ตามลำดับ แม้ว่าระหว่างเดือนจะมีปัจจัยเชิงบวกเข้ามาก็ตาม อาทิ การจัดตั้งกองทุนผยุงหุ้นกว่า 2 ล้านล้านหยวน การลดสัดส่วนการสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% ทำให้มีสภาพคล่องเข้าสู่ระบบกว่า 1 ล้านล้านหยวน แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้หุ้นจีนกลับมาฟื้นตัวได้ และยังคงเผชิญแรงขายจากต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นว่า การปรับตัวขึ้นระยะสั้นของตลาดหุ้นจีนจากความคาดหวังทางมาตรการช่วยเหลือตลาดหุ้นของรัฐบาลจีนนั้น อาจจะไม่ได้หมายถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนหรือตลาดหุ้นอย่างยั่งยืน
ในส่วนตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 3.6% ในเดือนมกราคม โดยตัวเลขเศรษฐกิจไทยยังเติบโตช้า ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ติดลบไป 0.89% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 34 เดือน นอกจากนี้ GDP ไทยในปี 2566 ทางรัฐบาลคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 1.8% ทำให้เกิดความกังวลว่า GDP ในไตรมาส 4 จะชะลอตัวลง QoQ และมีโอกาสเข้าสู่ภาวะ Technical Recession ได้ อีกทั้งนโยบายจากทางภาครัฐอย่าง Digital Wallet และ Land Bridge ยังไม่สามารถความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ และการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ยังคงมีความล่าช้า อีกทั้งผลประกอบการในไตรมาส 4/2023 ของหุ้นกลุ่มธนาคารถือว่าออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด นักลงทุนต่างชาติจึงขายหุ้นไทยสุทธิตลอดเดือนมกราคม
อย่างไรก็ตาม หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในภาคการส่งออกและตัวเลขนักท่องเที่ยว ส่งผลให้เริ่มนักลงทุนต่างชาติหันกลับมาซื้อหุ้นไทยมากขึ้น ซึ่งทำให้หุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้บางส่วน โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการปรับขึ้นของหุ้นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังนั้น ยังคงต้องระมัดระวังความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและการประกาศปรับลดประมาณการลงของบริษัทจดทะเบียนในระยะถัดไป แม้ว่า ในปัจจุบัน SET Index จะอยู่ในระดับ Valuation ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรอบ 10 ปีเล็กน้อย แต่การขาดแรงขับเคลื่อนต่อเศรษฐกิจโดยภาพกว้าง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงมองว่าหุ้นไทยอาจจะยังเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ต่อไป โดยควรให้น้ำหนักการลงทุนเป็นรายอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะอุตสาหกรรม
Fund Comment
Fund Comment มกราคม 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือนแรกของปี 2024 เปิดมาปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.6% จากเดือนที่ผ่านมา โดยในช่วงแรกของเดือนตลาดมีความคาดหวังว่า จะเห็นเฟดเริ่มประกาศลดดอกเบี้ยในเร็วนี้ ด้วยมุมมองว่า อัตราเงินเฟ้อจะทยอยปรับลดลงและเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสชะลอตัว ส่งผลทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หลังจากการประชุมของเฟดในรอบสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีมติในการคงดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด อีกทั้งเฟดยังมีมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งการจ้างงานและเงินเฟ้อที่กำลังเข้าสู่จุดสมดุล ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น ดัชนี ISM ทั้งภาคผลิตและบริการ รวมทั้งตัวเลขการจ้างงานนั้น ล้วนแสดงถึงสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ ประธานเฟดยังได้ส่งสัญญาณว่า จะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงในเดือนมีนาคมนี้ ส่งผลให้ความคาดหวังของตลาดต่อการลดดอกเบี้ยครั้งแรกได้ขยับออกไปในเดือนพฤษภาคม หรืออาจจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปีก็เป็นได้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาเหนือระดับ 4% ในส่วนตลาดหุ้นใหญ่ อย่างสหรัฐฯ ได้เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการอีกครั้ง โดยหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่หลายรายได้ประกาศผลประกอบการออกมาในทิศทางที่ดี แต่หุ้นของหลายบริษัทกลับปรับตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของตลาดอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ Valuation ของหุ้นขนาดใหญ่เริ่มมีความตึงตัว จึงเป็นความเสี่ยงที่เราอาจจะเริ่มเห็นแรงขายทำกำไรในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกิดขึ้นได้
ในฝั่งตลาดหุ้นจีนในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เผชิญกับความผันผวนอย่างมาก โดยตลาดมีความกังวลกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในจีนเพิ่มมากขึ้น หลังจากศาลสูงฮ่องกงประกาศให้บริษัท China Evergrande เข้าสู่กระบวนการล้มเลิกกิจการ และนำทรัพย์สินมาใช้คืนให้กับเจ้าหนี้ ส่งผลทำให้ตลาดหุ้นจีนที่มีความเปราะบางอยู่ก่อนหน้าแล้ว ถูกซ้ำเติมลงไปอีก ในขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ประกาศออกมาในไตรมาส 4 ขยายตัวเพียง 1% ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้านี้ที่ขยายตัว 1.5% โดยตัวเลข GDP ของจีนในปี 2566 มีการขยายตัวที่ 5.2% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายจากทางรัฐบาลที่ 5% เพียงเล็กน้อย แต่ยังคงต่ำกว่าความคาดหวังของตลาด นอกจากนี้ ราคาบ้านและการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ยังคงสร้างความผิดหวังให้กับตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในเดือนมกราคมดัชนี CSI 300 และ Hang Seng ปรับตัวลดลงถึง -6.2% และ -9.6% ตามลำดับ แม้ว่าระหว่างเดือนจะมีปัจจัยเชิงบวกเข้ามาก็ตาม อาทิ การจัดตั้งกองทุนผยุงหุ้นกว่า 2 ล้านล้านหยวน การลดสัดส่วนการสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% ทำให้มีสภาพคล่องเข้าสู่ระบบกว่า 1 ล้านล้านหยวน แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้หุ้นจีนกลับมาฟื้นตัวได้ และยังคงเผชิญแรงขายจากต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นว่า การปรับตัวขึ้นระยะสั้นของตลาดหุ้นจีนจากความคาดหวังทางมาตรการช่วยเหลือตลาดหุ้นของรัฐบาลจีนนั้น อาจจะไม่ได้หมายถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนหรือตลาดหุ้นอย่างยั่งยืน
ในส่วนตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 3.6% ในเดือนมกราคม โดยตัวเลขเศรษฐกิจไทยยังเติบโตช้า ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ติดลบไป 0.89% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 34 เดือน นอกจากนี้ GDP ไทยในปี 2566 ทางรัฐบาลคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 1.8% ทำให้เกิดความกังวลว่า GDP ในไตรมาส 4 จะชะลอตัวลง QoQ และมีโอกาสเข้าสู่ภาวะ Technical Recession ได้ อีกทั้งนโยบายจากทางภาครัฐอย่าง Digital Wallet และ Land Bridge ยังไม่สามารถความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ และการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ยังคงมีความล่าช้า อีกทั้งผลประกอบการในไตรมาส 4/2023 ของหุ้นกลุ่มธนาคารถือว่าออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด นักลงทุนต่างชาติจึงขายหุ้นไทยสุทธิตลอดเดือนมกราคม
อย่างไรก็ตาม หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในภาคการส่งออกและตัวเลขนักท่องเที่ยว ส่งผลให้เริ่มนักลงทุนต่างชาติหันกลับมาซื้อหุ้นไทยมากขึ้น ซึ่งทำให้หุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้บางส่วน โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการปรับขึ้นของหุ้นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังนั้น ยังคงต้องระมัดระวังความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและการประกาศปรับลดประมาณการลงของบริษัทจดทะเบียนในระยะถัดไป แม้ว่า ในปัจจุบัน SET Index จะอยู่ในระดับ Valuation ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรอบ 10 ปีเล็กน้อย แต่การขาดแรงขับเคลื่อนต่อเศรษฐกิจโดยภาพกว้าง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงมองว่าหุ้นไทยอาจจะยังเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ต่อไป โดยควรให้น้ำหนักการลงทุนเป็นรายอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะอุตสาหกรรม