ตลาดหุ้นโลกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เผชิญแรงกดดันให้ตลาดเกิดความผันผวนค่อนข้างมาก โดยตลาดหุ้นโลกปิดปรับตัวลดลงกว่า 3.6% เทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุที่สำคัญมาจากหลากหลายปัจจัย อาทิ สงครามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอิหร่านและอิสราเอล ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะลุกลามขึ้นเป็นวงกว้าง จึงเป็นปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกปรับตัวลดลงในช่วงกลางเดือนเมษายน และได้ขยายตัวออกไปยังสินค้าโภคภัณฑ์ให้เกิดความผันผวน เช่น ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นจากความกังวลของอุปทานน้ำมันในตะวันออกกลาง ซึ่งอาจจะส่งผ่านไปยังสินค้าปลายน้ำในหมวดต่างๆ ได้เช่นกัน ส่วนสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างทองคำได้ปรับตัวขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวมีท่าทีที่ผ่อนคลายขึ้นในช่วงหลังของเดือน ส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับฟื้นตัวขึ้นมาได้
ด้านปัจจัยสัญญาณทางเศรษฐกิจ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯได้ประกาศออกมาอย่างตัวเลข GDP สร้างความผิดหวังให้กับตลาด โดยมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาก่อนหน้ามีการเร่งตัวขึ้น โดยล่าสุดผลการประชุมของ FOMC ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณออกมาว่า FED ยังมีท่าทีที่ยังไม่รีบลดดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อจะลดลงเข้าสู่ระดับ 2% ทำให้ตลาดมีการคาดการณ์ว่า FED จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยช้าลงไปจากที่คาดการณ์เดิม จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวขึ้น และทำจุดสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปีไปแตะระดับ 4.7% ในขณะเดียวกัน ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้เข้าสู่ฤดูการประกาศผลประกอบการอีกครั้ง ซึ่งหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมามีผลประกอบการที่คละกันออกไป แต่โดยภาพรวมแล้วผลประกอบการส่วนใหญ่ยังดีกว่าที่ตลาดคาด
ในส่วนของตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายนปรับตัวลดลงเล็กน้อย และมีความผันผวนตามตลาดหุ้นโลก ด้วยปัจจัยกดดัน ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงธนาคารกลางต่างๆมีท่าทีที่จะคงดอกเบี้ยนานขึ้นกว่าเดิม ในฝั่งปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญในเดือนที่ผ่านมา ทาง ธปท. ส่งสัญญาณไปในทาง Hawkish มากขึ้น และได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยไว้ที่ 2.5% ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สวนทางกับความคาดหวังของตลาด และภาวะของเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้แรงหนุนหลักมาจากการฟื้นตัวของตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นตัวประคับประคองเศรษฐกิจไว้ จากสถาณการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมามีหลากหลายสำนักได้มีการปรับลด GDP ลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด สศค.ออกมาปรับลดประมาณการ GDP ไทยลงเหลือ 2.4% จากการคาดการณ์เดิมที่ 2.8% โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการส่งออกที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการผลิตที่ชะลอตัวลง โดยเรามองว่า ในครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจไทยน่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ผ่านแรงผลักดันจากมาตรการเร่งการเบิกจ่ายของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผ่านไปยังการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เผชิญแรงกดดันให้ตลาดเกิดความผันผวนค่อนข้างมาก โดยตลาดหุ้นโลกปิดปรับตัวลดลงกว่า 3.6% เทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุที่สำคัญมาจากหลากหลายปัจจัย อาทิ สงครามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอิหร่านและอิสราเอล ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะลุกลามขึ้นเป็นวงกว้าง จึงเป็นปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกปรับตัวลดลงในช่วงกลางเดือนเมษายน และได้ขยายตัวออกไปยังสินค้าโภคภัณฑ์ให้เกิดความผันผวน เช่น ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นจากความกังวลของอุปทานน้ำมันในตะวันออกกลาง ซึ่งอาจจะส่งผ่านไปยังสินค้าปลายน้ำในหมวดต่างๆ ได้เช่นกัน ส่วนสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างทองคำได้ปรับตัวขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวมีท่าทีที่ผ่อนคลายขึ้นในช่วงหลังของเดือน ส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับฟื้นตัวขึ้นมาได้
ด้านปัจจัยสัญญาณทางเศรษฐกิจ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯได้ประกาศออกมาอย่างตัวเลข GDP สร้างความผิดหวังให้กับตลาด โดยมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาก่อนหน้ามีการเร่งตัวขึ้น โดยล่าสุดผลการประชุมของ FOMC ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณออกมาว่า FED ยังมีท่าทีที่ยังไม่รีบลดดอกเบี้ยจนกว่าเงินเฟ้อจะลดลงเข้าสู่ระดับ 2% ทำให้ตลาดมีการคาดการณ์ว่า FED จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยช้าลงไปจากที่คาดการณ์เดิม จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวขึ้น และทำจุดสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปีไปแตะระดับ 4.7% ในขณะเดียวกัน ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้เข้าสู่ฤดูการประกาศผลประกอบการอีกครั้ง ซึ่งหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมามีผลประกอบการที่คละกันออกไป แต่โดยภาพรวมแล้วผลประกอบการส่วนใหญ่ยังดีกว่าที่ตลาดคาด
ในส่วนของตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายนปรับตัวลดลงเล็กน้อย และมีความผันผวนตามตลาดหุ้นโลก ด้วยปัจจัยกดดัน ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงธนาคารกลางต่างๆมีท่าทีที่จะคงดอกเบี้ยนานขึ้นกว่าเดิม ในฝั่งปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญในเดือนที่ผ่านมา ทาง ธปท. ส่งสัญญาณไปในทาง Hawkish มากขึ้น และได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยไว้ที่ 2.5% ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สวนทางกับความคาดหวังของตลาด และภาวะของเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้แรงหนุนหลักมาจากการฟื้นตัวของตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นตัวประคับประคองเศรษฐกิจไว้ จากสถาณการณ์เศรษฐกิจที่ผ่านมามีหลากหลายสำนักได้มีการปรับลด GDP ลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด สศค.ออกมาปรับลดประมาณการ GDP ไทยลงเหลือ 2.4% จากการคาดการณ์เดิมที่ 2.8% โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการส่งออกที่ลดลง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการผลิตที่ชะลอตัวลง โดยเรามองว่า ในครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจไทยน่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ผ่านแรงผลักดันจากมาตรการเร่งการเบิกจ่ายของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผ่านไปยังการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้