ตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือนพฤษภาคมกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยในช่วงต้นเดือน ตลาดได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เช่น ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ ทำจุดต่ำสุดในรอบ 6 เดือน หรือดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) ในเดือนเมษายนที่ออกมาขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากคำแถลงการณ์ของ FED ระบุว่า ไม่มีแนวโน้มในการปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังจากนี้ ส่วนผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่ค่อนข้างดี โดยนักวิเคราะห์ในตลาดยังมีมุมมองที่ต่อดีการคาดการณ์กำไรสุทธิในไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการลงทุนด้าน AI ซึ่งผลประกอบการดีกว่าตลาดคาดมาอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาส นับเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการพลิกฟื้นของตลาดในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจบางตัวที่ประกาศหลังจากช่วงปลายเดือนเริ่มแสดงถึงการชะลอตัวมากขึ้น เช่น ตัวเลข ISM Manufacturing Index ของสหรัฐฯ (ของเดือนพฤษภาคม) หรือ ดัชนี PMI ของจีน (เดือนพฤษภาคม) ที่ออกมาต่ำกว่าคาด จึงกลับมาสร้างความกดดันให้กับตลาดบ้าง โดยเฉพาะต่อหุ้นในกลุ่มธุรกิจแบบ Old economy มากกว่ากลุ่มเทคโนโลยี
สำหรับตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลงก่อนหน้าเล็กน้อย และยังคง Underperform ตลาดโลก โดยในเดือนที่ผ่านมา มีตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่าง GDP ในไตรมาส 1 ที่ออกมาดีกว่าตลาดคาด แต่ถือว่าเป็นการเติบโตที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศใน ASEAN ทั้งนี้ แม้จากการคาดการณ์ของหลายสำนักที่มองว่า เศรษฐกิจไทยมีโอกาสจะทยอยขยายตัวได้ดีขึ้นในแต่ละไตรมาสของปีนี้ ด้วยนโยบายที่ออกมากระตุ้นการใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณจากภาครัฐ และนโยบายการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ แต่ในช่วงท้ายของเดือน ความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมืองนั้นกลับมากดดันตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ด้วยประเด็นของการยื่นการถอดถอนนายกฯ จาก 40 สว. รวมถึงประเด็นการถูกสั่งฟ้องคดีมาตรา 112 ของทางอดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งจะส่งผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายต่างๆ จากทางภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตาม เรามองว่าราคาหุ้นไทยในปัจจุบันได้สะท้อนปัจจัยกังวลต่างๆ ที่ผ่านมาไปมากพอสมควรแล้ว ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจ การฟื้นตัวของประเทศ จนนำไปสู่การปรับลดการประมาณการของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เรามองว่า ในปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมี Downside ที่ค่อนข้างจำกัด ในขณะที่ Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ จึงเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าจับตาต่อจากนี้
Fund Comment
Fund Comment พฤษภาคม 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือนพฤษภาคมกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยในช่วงต้นเดือน ตลาดได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เช่น ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ ทำจุดต่ำสุดในรอบ 6 เดือน หรือดัชนีเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) ในเดือนเมษายนที่ออกมาขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากคำแถลงการณ์ของ FED ระบุว่า ไม่มีแนวโน้มในการปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังจากนี้ ส่วนผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่ค่อนข้างดี โดยนักวิเคราะห์ในตลาดยังมีมุมมองที่ต่อดีการคาดการณ์กำไรสุทธิในไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการลงทุนด้าน AI ซึ่งผลประกอบการดีกว่าตลาดคาดมาอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาส นับเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการพลิกฟื้นของตลาดในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจบางตัวที่ประกาศหลังจากช่วงปลายเดือนเริ่มแสดงถึงการชะลอตัวมากขึ้น เช่น ตัวเลข ISM Manufacturing Index ของสหรัฐฯ (ของเดือนพฤษภาคม) หรือ ดัชนี PMI ของจีน (เดือนพฤษภาคม) ที่ออกมาต่ำกว่าคาด จึงกลับมาสร้างความกดดันให้กับตลาดบ้าง โดยเฉพาะต่อหุ้นในกลุ่มธุรกิจแบบ Old economy มากกว่ากลุ่มเทคโนโลยี
สำหรับตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลงก่อนหน้าเล็กน้อย และยังคง Underperform ตลาดโลก โดยในเดือนที่ผ่านมา มีตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่าง GDP ในไตรมาส 1 ที่ออกมาดีกว่าตลาดคาด แต่ถือว่าเป็นการเติบโตที่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศใน ASEAN ทั้งนี้ แม้จากการคาดการณ์ของหลายสำนักที่มองว่า เศรษฐกิจไทยมีโอกาสจะทยอยขยายตัวได้ดีขึ้นในแต่ละไตรมาสของปีนี้ ด้วยนโยบายที่ออกมากระตุ้นการใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณจากภาครัฐ และนโยบายการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ แต่ในช่วงท้ายของเดือน ความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมืองนั้นกลับมากดดันตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ด้วยประเด็นของการยื่นการถอดถอนนายกฯ จาก 40 สว. รวมถึงประเด็นการถูกสั่งฟ้องคดีมาตรา 112 ของทางอดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งจะส่งผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายต่างๆ จากทางภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตาม เรามองว่าราคาหุ้นไทยในปัจจุบันได้สะท้อนปัจจัยกังวลต่างๆ ที่ผ่านมาไปมากพอสมควรแล้ว ทั้งจากสภาพเศรษฐกิจ การฟื้นตัวของประเทศ จนนำไปสู่การปรับลดการประมาณการของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เรามองว่า ในปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมี Downside ที่ค่อนข้างจำกัด ในขณะที่ Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ จึงเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าจับตาต่อจากนี้