ตลาดหุ้นโลกในเดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยแรงหนุนจากหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ทยอยปรับลดลงตามความคาดหวังนโยบายการเงินที่มีความชัดเจนมากขึ้นว่า จะเห็นการเริ่มลดอัตราดอกเบี้ย โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณชะลอตัวมากขึ้น เช่น ตัวเลข ISM Manufacturing PMI ของเดือนพฤษภาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ หรือตัวเลขที่สะท้อนเงินเฟ้อที่ไม่ได้เร่งตัวมากขึ้นกว่าตลาดคาด เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ผลประกอบการในบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่ยังเติบโตได้ดีอยู่โดยเฉพาะในกลุ่ม IT และ Communication Services เป็นต้น
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปแม้จะปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจของยุโรปที่เริ่มฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับการเริ่มลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป และ Valuation ของตลาดยุโรปยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตอยู่ เป็นปัจจัยที่จะหนุนนำตลาดหุ้นโลกน่าจะยังมีโมเมนตัมในเชิงบวกได้
ในฝั่งตลาดหุ้นไทยปิดปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา สวนทางกับการปรับขึ้นของตลาดโลก โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น คดีพิจารณาคุณสมบัติของนายกฯเศรษฐา การพิจารณายุบพรรคก้าวไกล รวมถึงคดีของอดีตนายกฯ ทักษิณ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเสถียรภาพทางการเมือง ว่า การดำเนินการนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ จะมีความต่อเนื่องที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีเพียงใด ส่งผลให้เห็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน
ในขณะเดียวกัน มาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยประคองตลาดหุ้น เช่น การเตรียมออกขายกองทุน Thai ESG ที่มีความผ่อนปรนมากขึ้นเพื่อดึงดูดเงินทุน หรือ การนำเกณฑ์ Uptick Rule สำหรับธุรกรรม Short-selling ออกมาใช้ เพื่อลดความผันผวนของตลาด อาจจะช่วยให้ตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงด้านลบได้บ้าง แต่สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2 ที่กำลังจะประกาศการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนอาจจะยังไม่ได้มีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งภาพใหญ่ของตลาดหุ้นไทยที่ไม่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และได้เห็นการ Derating Valuation ในหลายอุตสาหกรรม อาจจะทำให้การฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยเป็นไปได้อย่างจำกัด
Fund Comment
Fund Comment มิถุนายน 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยแรงหนุนจากหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ทยอยปรับลดลงตามความคาดหวังนโยบายการเงินที่มีความชัดเจนมากขึ้นว่า จะเห็นการเริ่มลดอัตราดอกเบี้ย โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณชะลอตัวมากขึ้น เช่น ตัวเลข ISM Manufacturing PMI ของเดือนพฤษภาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ หรือตัวเลขที่สะท้อนเงินเฟ้อที่ไม่ได้เร่งตัวมากขึ้นกว่าตลาดคาด เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ผลประกอบการในบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่ยังเติบโตได้ดีอยู่โดยเฉพาะในกลุ่ม IT และ Communication Services เป็นต้น
ส่วนตลาดหุ้นยุโรปแม้จะปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจของยุโรปที่เริ่มฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับการเริ่มลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป และ Valuation ของตลาดยุโรปยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตอยู่ เป็นปัจจัยที่จะหนุนนำตลาดหุ้นโลกน่าจะยังมีโมเมนตัมในเชิงบวกได้
ในฝั่งตลาดหุ้นไทยปิดปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา สวนทางกับการปรับขึ้นของตลาดโลก โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น คดีพิจารณาคุณสมบัติของนายกฯเศรษฐา การพิจารณายุบพรรคก้าวไกล รวมถึงคดีของอดีตนายกฯ ทักษิณ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเสถียรภาพทางการเมือง ว่า การดำเนินการนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ จะมีความต่อเนื่องที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีเพียงใด ส่งผลให้เห็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน
ในขณะเดียวกัน มาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยประคองตลาดหุ้น เช่น การเตรียมออกขายกองทุน Thai ESG ที่มีความผ่อนปรนมากขึ้นเพื่อดึงดูดเงินทุน หรือ การนำเกณฑ์ Uptick Rule สำหรับธุรกรรม Short-selling ออกมาใช้ เพื่อลดความผันผวนของตลาด อาจจะช่วยให้ตลาดหุ้นไทยมีความเสี่ยงด้านลบได้บ้าง แต่สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2 ที่กำลังจะประกาศการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนอาจจะยังไม่ได้มีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งภาพใหญ่ของตลาดหุ้นไทยที่ไม่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และได้เห็นการ Derating Valuation ในหลายอุตสาหกรรม อาจจะทำให้การฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยเป็นไปได้อย่างจำกัด