อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 2 และ 10 ปี ปรับลดลง โดยมีประเด็นหลักจากตัวเลขสําคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวลง อาทิ อัตราการว่างงานในเดือน ก.ค. ที่ปรับสูงขึ้นไปที่ 4.3% ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี อีกทั้งปรับทบทวนตัวเลข Nonfarm Payrolls ลดลงถึง 8.18 แสนตำแหน่ง ในช่วง 1 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานไม่ได้อยู่ในภาวะแข็งแกร่งมากเท่ากับที่ Fed เคยคิดไว้และสื่อสารออกมาในตอนนั้น ส่งผลให้ตลาดกลับไปกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะ Recession ตลาดจึงให้น้ำหนักการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่ค่อนข้างแรงและต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเสริมด้วยถ้อยแถลงของคณะกรรมการ Fed ที่ส่งสัญญาณเชิงผ่อนคลายมากขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ปรับลดลงเกือบทุกช่วงอายุตามการปรับลดลงของพันธบัตรสหรัฐฯ ขณะที่ ปัจจัยในประเทศ มีทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยในส่วนของประเด็นการเมือง ในช่วงแรกตลาดก็มีความกังวลถึงสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน หลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบ ต่อมาช่วงกลางเดือนก็ได้กรณีถอดถอนนายกฯ เศรษฐา ส่งผลให้ตลาดมองว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเรือธง Digital Wallet อาจไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มผ่อนคลายขึ้น เมื่อภายหลังจากได้นายกฯ คนใหม่ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน
ขณะที่ ผลการประชุม กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ตามที่ตลาดคาด ด้วยมติ 6-1 เสียงเช่นเดียวกับการประชุมครั้งก่อน โดย ธปท. มองว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจปัจจุบัน และเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่ง ธปท. มองว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ได้ประเมินไว้จากภาคท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ ขณะที่ คาดเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ได้ในปลายปีและยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับในระยะต่อไปยังมีประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งรอบถัดไปคือ วันที่ 17-18 ก.ย. รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่จะมีศึกโต้วาทีครั้งแรกระหว่างนาย Donald Trump และนาง Kamala Harris ในฐานะคู่ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี จัดขึ้นในรัฐ Pennsylvania ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการเลือกตั้ง (Swing State) ในรอบนี้ ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศสิ่งที่ต้องติดตาม คือ ความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่น 2 และ 10 ปี ปรับลดลง โดยมีประเด็นหลักจากตัวเลขสําคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวลง อาทิ อัตราการว่างงานในเดือน ก.ค. ที่ปรับสูงขึ้นไปที่ 4.3% ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี อีกทั้งปรับทบทวนตัวเลข Nonfarm Payrolls ลดลงถึง 8.18 แสนตำแหน่ง ในช่วง 1 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่า ตลาดแรงงานไม่ได้อยู่ในภาวะแข็งแกร่งมากเท่ากับที่ Fed เคยคิดไว้และสื่อสารออกมาในตอนนั้น ส่งผลให้ตลาดกลับไปกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะ Recession ตลาดจึงให้น้ำหนักการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่ค่อนข้างแรงและต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเสริมด้วยถ้อยแถลงของคณะกรรมการ Fed ที่ส่งสัญญาณเชิงผ่อนคลายมากขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ปรับลดลงเกือบทุกช่วงอายุตามการปรับลดลงของพันธบัตรสหรัฐฯ ขณะที่ ปัจจัยในประเทศ มีทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยในส่วนของประเด็นการเมือง ในช่วงแรกตลาดก็มีความกังวลถึงสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน หลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบ ต่อมาช่วงกลางเดือนก็ได้กรณีถอดถอนนายกฯ เศรษฐา ส่งผลให้ตลาดมองว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเรือธง Digital Wallet อาจไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มผ่อนคลายขึ้น เมื่อภายหลังจากได้นายกฯ คนใหม่ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน
ขณะที่ ผลการประชุม กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ตามที่ตลาดคาด ด้วยมติ 6-1 เสียงเช่นเดียวกับการประชุมครั้งก่อน โดย ธปท. มองว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจปัจจุบัน และเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่ง ธปท. มองว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ได้ประเมินไว้จากภาคท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ ขณะที่ คาดเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ได้ในปลายปีและยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับในระยะต่อไปยังมีประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งรอบถัดไปคือ วันที่ 17-18 ก.ย. รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่จะมีศึกโต้วาทีครั้งแรกระหว่างนาย Donald Trump และนาง Kamala Harris ในฐานะคู่ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี จัดขึ้นในรัฐ Pennsylvania ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการเลือกตั้ง (Swing State) ในรอบนี้ ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศสิ่งที่ต้องติดตาม คือ ความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ